เนื่องด้วยวันที่ 30 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of the Disappeared) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นอยู่ในหลายประเทศ และส่งผลให้มีผู้สูญหายและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในวันนี้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จึงออกแถลงการณ์เพื่อร่วมรำลึกถึงการสูญเสีย การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการก่ออาชญากรรมที่คุกคามมนุษยชาติ
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
แถลงการณ์
วันผู้สูญหายสากล: การบังคับบุคคลให้สูญหายยังคงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในทุกภูมิภาคของโลก
รัฐบาลยังคงใช้การบังคับบุคคลให้สูญหาย เป็นวิธีการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์ ทำให้เกิดความหวาดกลัวต่อกลุ่มเป้าหมาย การกระทำเหล่านี้ยังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วทุกภูมิภาคของโลก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในโอกาสที่คนทั้งโลกจัดกิจกรรมเนื่องในวันผู้สูญหายสากล 30 สิงหาคม
ในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา ทางองค์การได้ให้ความช่วยเหลือบุคคลกว่า 500 คน ซึ่งตกเป็นเหยื่อของการบังคับบุคคลให้สูญหาย และยังคงกดดันรัฐบาลให้ชี้แจงถึงชะตากรรมและที่อยู่ของบุคคลซึ่งถูกทำให้สูญหายด้วย
ซาลิล เช็ตติ (Salil Shetty) เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่ารัฐบาลในทุกภูมิภาคของโลกตั้งแต่ซีเรียถึงเม็กซิโก และศรีลังกาถึงแกมเบีย อาจเป็นผู้ควบคุมตัวบุคคลหลายร้อยคนหรือหลายพันคนในที่ลับ และในอีกหลายประเทศเหล่านี้ ทางการยังคงข่มขู่และคุกคามผู้ที่พยายามค้นหาญาติของตนเอง การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมจึงเป็นอันต้องไม่ยุติลง
“ในโอกาสจัดกิจกรรมวันผู้สูญหายสากล เราขอส่งกำลังใจให้กับเหยื่อและครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย และถูกควบคุมตัวอย่างผิดกฎหมายโดยทางการทั่วโลก รัฐบาลในหลายประเทศที่ยังมีการบังคับบุคคลให้สูญหายเกิดขึ้น ต้องถูกกดดันมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ยุติการปฏิบัติที่น่าชิงชังนี้”
การบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นการกระทำที่ได้รับการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลซึ่งกระทำการในนามของเจ้าหน้าที่ โดยปฏิเสธไม่ยอมบอก หรือปกปิดไม่ให้บุคคลทราบถึงชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลเหล่านั้น เป็นเหตุให้พวกเขาไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
การสูญหายของบุคคลมักมีรูปแบบคล้ายคลึงกัน เริ่มจากการถูกจับกุม ผู้ตกเป็นเหยื่อจะไม่มีโอกาสใช้สิทธิของตนต่อศาล และแทบจะไม่มีการบันทึกข้อมูล “อาชญากรรม” ที่เกิดขึ้นกับตนหรือการควบคุมตัวนั้นเลย เมื่อบุคคลไปพ้นจากสายตาของสาธารณะ พวกเขาย่อมตกเป็นเหยื่อการบังคับบุคคลให้สูญหาย เสี่ยงอย่างยิ่งที่จะถูกปฏิบัติอย่างโหดร้าย ถูกทรมาน หรืออาจถูกสังหาร
ในปีนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกระตุ้นให้รัฐบาลหลายสิบแห่งซึ่งใช้วิธีการบังคับบุคคลให้สูญหายเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามของตน ให้ยุติการใช้ยุทธวิธีดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง ในโอกาสวันผู้สูญหายสากล ทางองค์การอยากเสนอข้อมูลเฉพาะกรณีที่สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคของโลก
ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ – ซีเรีย
ในซีเรีย ประชาชนเกือบ 85,000 คนถูกบังคับให้สูญหายระหว่างปี 2554-2558 ทั้งนี้ตามแหล่งข้อมูลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล พลเรือนยังคงหายตัวไปในอัตราที่น่าตกใจ และจากข้อมูลที่มีการบันทึกขององค์กรซึ่งทำงานด้านนี้พบว่าบุคคลผู้สูญหายเป็นคนกลุ่มใหม่ ๆ มากขึ้น ไม่ได้มีเพียงฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง หรือนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมเท่านั้น หากยังรวมถึงครูและพลเรือนซึ่งเพียงแค่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ปกครองของรัฐบาลเพื่อไปรับเงินเดือนจากราชการเท่านั้น
Rania Alabbasi และลูกทั้งหกคนอายุตั้งแต่สามขวบถึง 15 ปี ถูกทางการซีเรียจับกุมตัวเมื่อเดือนมีนาคม 2557 จากนั้นมาไม่มีใครทราบข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวนี้อีกเลย แม้ว่าญาติจะร้องขอข้อมูลแต่ทางการซีเรียไม่ยอมให้ข้อมูลใด ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา ไม่บอกว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน หรือไม่บอกว่าทำไมต้องมีการจับกุมพวกเขา
Naila Alabbasi น้องสาวของ Rania Alabbasi กล่าวกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า
“ตอนที่ประชาชนเริ่มลุกฮือ เธอยังไม่อยากจะหนีไป เธอคิดว่าเธอและครอบครัวน่าจะปลอดภัย เพราะไม่ได้เข้าร่วมในกิจกรรมทางการเมือง และไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคฝ่ายค้านด้วย พวกเขาไม่เคยไปร่วมชุมนุมเลย เธอจึงคิดว่าไม่น่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกตน”
“ตอนนี้เราไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาเลย เราพยายามทำทุกอย่างแต่ไม่ประสบความสำเร็จ…เราต้องไม่ลืมราเนีย ครอบครัวของเธอ และผู้ต้องขังคนอื่น ๆ ซึ่งมีสภาพแบบเดียวกัน เราต้องเปล่งเสียงให้ดังมากขึ้นเพื่อให้ปล่อยตัวพวกเขา”
ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม ผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลสามารถส่ง จดหมายร้องเรียนไปยังรัฐบาลซีเรีย เพื่อให้ยุติการบังคับบุคคลให้สูญหายในทุกกรณี และเพื่อให้เจ้าหน้าที่สหประชาชาติเดินทางมาสอบสวนอย่างเป็นอิสระในซีเรีย
อเมริกา – เม็กซิโก
จากตัวเลขของทางการ มีประชาชนเกือบ 25,000 คนหายตัวไปหรือสาบสูญในเม็กซิโกตั้งแต่ปี 2550 โดยเกือบครึ่งหนึ่งหายตัวไปในยุคของรัฐบาลปัจจุบันของประธานาธิบดี Peña Nieto
ประเด็นนี้กลายเป็นข่าวพาดหัวระหว่างประเทศในเดือนกันยายน 2557 ภายหลังการหายตัวไปของนักศึกษา 43 คนจากวิทยาลัยครูในชนบทที่เมืองอาโยซินาปาในรัฐเกเรโรของเม็กซิโก
นักศึกษาเหล่านี้อยู่ระหว่างเดินทางไปประท้วงต่อต้านการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาล พวกเขาถูกตำรวจและมือปืนโจมตีที่เมืองอิกัวลา และมีนักศึกษาถูกสังหารสามคน ผู้เห็นเหตุการณ์บอกว่าตำรวจนำตัวนักศึกษาที่เหลือไป อีกหนึ่งวันต่อมามีผู้พบศพของ Julio César Mondragón นักศึกษาในสภาพที่ถูกทรมาน ส่วนครอบครัวของนักศึกษาที่เหลืออีก 42 คนต่างเศร้าโศกเสียใจต่อชะตากรรมที่เกิดขึ้นต่อบุคคลอันเป็นที่รักของตน
ในเบื้องต้น ทางการอ้างว่าไม่ทราบว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน แต่อีกหลายเดือนต่อมา ทางการให้ข้อมูลอีกอย่างซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลของครอบครัวและตัวแทนคนอื่น ๆ
แม้จะเป็นประเด็นปัญหาที่มีคนสนใจทั่วโลก แต่ทางการเม็กซิโกกลับไม่ดำเนินการสืบสวนสอบสวนอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับเบาะแสทุกประการในคดี โดยเฉพาะข้อกล่าวหาที่น่ากังวลว่ามีเจ้าหน้าที่ของกองทัพเข้าร่วมในเหตุการณ์ครั้งนี้ อย่างไรก็ดี พวกเขาพบว่ามีความร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นกับแก๊งอาชญากรรม
นักศึกษา ครอบครัวและพลเมืองชาวเม็กซิกันจากทุกชนชั้นต่างออกมาประท้วงนับแสนคน เพื่อเรียกร้องให้มีปฏิบัติการ โอมาร์ เพื่อนของนักศึกษาเหล่านี้กล่าวกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า พวกเขาจะต่อสู้ต่อไปจนกว่าจะได้รับความจริง ความยุติธรรม และการเยียวยา
“รัฐบาลไม่ได้แสดงท่าทีรับผิดชอบใด ๆ เลย มีแต่แสดงท่าทีที่ไม่เคารพและไม่ใส่ใจความรู้สึกของเรา ผมรู้สึกตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ไม่หวาดกลัว เราจะยังไม่ยุติการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม” เขากล่าว
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจัดกิจกรรมรณรงค์เขียนจดหมายเป็นภาษาสเปน กระตุ้นให้ประธานาธิบดีเม็กซิโกดำเนินการสืบสวนสอบสวนอย่างเหมาะสมต่อกรณีการสูญหายของบุคคลหลายพันคน
เอเชีย – ศรีลังกา
เชื่อว่ามีผู้สูญหายหลายหมื่นคนในช่วงสงครามระหว่างกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬกับกองทัพซึ่งยุติลงเมื่อปี 2551 รวมทั้งในช่วงปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายซ้ายในช่วงปี 2532-2533 มีการคลี่คลายคดีที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่คดี และมีรายงานการข่มขู่ครอบครัวที่กล้าออกมาตั้งคำถามเพื่อให้ได้รับข้อมูลว่าบุคคลอันเป็นที่รักของตนอยู่ที่ใด
รัฐบาลหลายชุดตั้งแต่ปี 2533 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งมีการกล่าวหาเอาผิดกับนักการเมืองชั้นนำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั้งของตำรวจและทหาร อย่างไรก็ดี ทางการแทบไม่ได้ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะเหล่านี้ และบุคคลที่ถูกกล่าวหาบางส่วนยังคงดำรงตำแหน่งเดิม ทั้ง ๆ ที่ควรถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
แม้ในช่วงที่สงบสุข การสูญหายของบุคคลยังคงเกิดขึ้นต่อไป Prageeth Egnalikoda นักเขียนการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ตกเป็นเหยื่อการสูญหายไม่นานหลังเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปี 2553
Sandya ภรรยาของเขาแจ้งกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า การต่อสู้เพื่อให้ได้ความยุติธรรมและมีการนำตัวคนผิดมาลงโทษกลายเป็นการต่อสู้ที่สำคัญในชีวิต “บุคคลซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัวเราหายตัวไป ทำให้พวกเราขัดสนด้านการเงินมาก ดิฉันยังต้องทำตัวเป็นทั้งพ่อและแม่ให้กับลูก เป็นการต่อสู้ร่วมกันของหลายครอบครัวซึ่งมีบุคคลผู้สูญหาย” เธอกล่าว
เราจัดการรณรงค์ให้ชาวศรีลังกาทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศร่วมกันแข่งขันเขียนบทกวีเพื่อรำลึกทศวรรษของการสูญหายของบุคคลที่มีชื่อว่า “เงาเงียบ” (Silenced Shadows) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาส่งอีเมล์ไปที่ info.poetry@amnesty.org
ยุโรป – บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ยังมีบุคคลที่ไม่ทราบชะตากรรมกว่า 8,000 คน ภายหลังสงครามในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในช่วงทศวรรษ 1990 แม้จะผ่านไปสองทศวรรษแล้ว ทางการทั่วประเทศยังคงสร้างความผิดหวังให้กับครอบครัวของผู้สูญหาย รัฐไม่ได้บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยผู้สูญหายอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้รัฐต้องค้นหาผู้สูญหาย และต้องจัดตั้งกองทุนที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนผู้เป็นเหยื่อและครอบครัว
“กฎหมายมีอยู่แต่ในกระดาษ ไม่มีใครเคารพกฎหมายนั้น” Zumra Sehomerovic รองประธานขบวนการแม่แห่งเซรบานิซาและเซปา (Movement of Mothers of the Srebrenica and Žepa enclaves) กล่าว
“เมื่อเราไปหาเจ้าหน้าที่ เช่นถ้าไปแจ้งว่ามีคนหายในพื้นที่เพื่อขอใบรับรอง พวกเขาจะไม่ค่อยใส่ใจกับเราสักเท่าไร”
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้ประธานของคณะรัฐมนตรีแห่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ดูแลให้ทางการค้นหาผู้ตกเป็นเหยื่อการบังคับบุคคลให้สูญหายจากสงครามทุกคน และให้การช่วยเหลือเยียวยากับญาติของพวกเขา
ผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องนี้สามารถเขียนจดหมายไปถึงประธานได้ที่นี่
แอฟริกา – แกมเบีย
ผู้สื่อข่าวในหลายประเทศในแอฟริกาต้องเผชิญกับการข่มขู่และการฟ้องคดีจากรัฐบาล รัฐบาลที่เผด็จการมากสุดแห่งหนึ่งคือรัฐบาลแกมเบีย ในเดือนเมษายน 2547 ประธานาธิบดี Yahya Jammeh เรียกร้องให้ผู้สื่อข่าวต้องปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาล “ไม่อย่างนั้นก็ไปลงนรกซะ”
ในเดือนกรกฎาคม 2549 มีรายงานว่า Ebrima Manneh ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Daily Observer ถูกเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงจับกุม ภายหลังมีการตีพิมพ์ซ้ำรายงานของบีบีซีซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีไม่นานหลังการประชุมสหภาพแอฟริกาที่กรุงบานิจูล เพื่อนร่วมงานเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ตอนจับกุม
หลังจากที่พ่อของเขาและเพื่อนนักข่าวพยายามค้นหาตัวเขาหลายครั้ง รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ปฏิเสธว่าไม่ได้จับกุมตัวเขา และไม่รู้ว่าเขาอยู่ที่ใด ในปี 2551 ศาลยุติธรรมแห่งชุมชนของประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก (Economic Community of West African States) มีคำสั่งว่า การจับกุมและควบคุมตัวเขาไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสั่งให้ทางการแกมเบียปล่อยตัวเขาโดยทันที ทั้งยังสั่งให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเป็นเงินจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
รัฐบาลแกมเบียยืนยันว่าได้ค้นหาตามเรือนจำต่าง ๆ และไม่พบร่องรอยของเขา อย่างไรก็ดี รายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ชี้ว่า เขาได้ถูกควบคุมตัวโดยไม่มีการตั้งข้อหาอยู่ที่สถานีตำรวจเฟโตโต้ในภาคตะวันออกของแกมเบีย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเห็นว่าเขาเป็นนักโทษทางความคิด และเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขาโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข แต่ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดทราบว่าเขาอยู่ที่ใด
////
AMNESTY INTERNATIONAL
PRESS RELEASE
The Day of the Disappeared: Enforced disappearances continue unabated in every region of the world
The use of enforced disappearance by governments to silence its critics and instil fear into targeted groups continues unabated in every region of the world, said Amnesty International as the world marks the International Day of the Disappeared on 30 August.
Over the past five decades the organization has worked on the cases of more than 500 individuals who have been subjected to enforced disappearance, and is continuing to pressure governments to determine the fate and whereabouts of all those who have been disappeared.
“Governments in every region of the world, from Syria to Mexico and from Sri Lanka to Gambia may be holding hundreds or even thousands in secret detention. In many countries, the authorities continue harassing and intimidating those who are looking for their relatives. The struggle for justice must not cease,” said Salil Shetty, Amnesty International’s Secretary General.
“As we mark the International Day of the Disappeared, we offer our support to all the victims and families of those forcibly disappeared and illegally detained by state authorities across the world. Governments in countries where enforced disappearances are occurring must come under greater pressure to stamp out this abhorrent practice.”
Enforced disappearances are perpetrated by state agents or people acting on their behalf with a refusal to acknowledge this or conceal the person’s fate or whereabouts, placing them outside the protection of the law.
Disappearances frequently follow a pattern: once arrested, the victims almost never appear before a court and there is almost never a record of their “crime” or their detention. Once out of the public eye, individuals subjected to enforced disappearance are at great risk of ill-treatment, torture and even death.
This year Amnesty International is urging dozens of governments who employ enforced disappearances against their opponents to stop using this tactic once and for all. On the International Day of the Disappeared the organization is highlighting cases from each of its global regions.
Middle East and North Africa – Syria
In Syria almost 85,000 people have been forcibly disappeared between 2011 and 2015 according to Amnesty International sources. Civilians continue to be disappeared at an alarming rate with those documented by the organisation now including new groups, not only political opponents, human rights defenders and activists, but people such as teachers and civilians who have merely crossed into government controlled territory to collect state salaries.
Rania Alabbasi and her six children aged between three and 15-years-old were arrested by the Syrian authorities in March 2013. None of the family has been heard from since. Despite requests from their relatives, the Syrian authorities have given no information about what has happened to them, where they are or why they were arrested.
Rania Alabbasi’s sister, Naila Alabbasi, told Amnesty International:
“When the uprising started, she did not want to leave. She thought she and her family were safe because they had not participated in any political activities or belonged to any opposition party. They did not go to any demonstrations. So she thought nothing would happen to them.”
“We do not know anything about them. All attempts to find out anything have been unsuccessful… we must not forget Rania, her family and the other prisoners in similar situations. Let us all raise our voices for their release.”
From August 30th Amnesty International supporters can petition the Syrian government to cease all enforced disappearances and allow UN officials into Syria to carry out independent investigations.
The Americas – Mexico
According to official figures, nearly 25,000 people have disappeared or gone missing in Mexico since 2007, almost half of them during the current administration of President Peña Nieto.
The issue hit international headlines in September 2014 after the disappearance of 43 students of the Ayotzinapa rural teacher-training college in Mexico’s Guerrero State
The students were en-route to protests against government education reforms, when they were attacked by police and gunmen in Iguala. Three students were killed. Eyewitnesses saw police taking other students away. A day later the tortured body of student Julio César Mondragón was found and the families of the remaining 42 students were left to agonize about the fate of their loved ones.
At first, authorities claimed no knowledge of where they were, but then months later they gave an account that has since been contested by the families and their representatives.
Despite worldwide attention on the issue, the Mexican authorities have failed to properly investigate all lines of the case, especially the worrying allegations of complicity by armed forces. However they have uncovered collusion between local officials and gangs.
Mexican students, families, and citizens from all walks of life have courageously taken to the streets in the hundreds of thousands to call for action. Omar, a friend of one of the students told Amnesty International that they will continue in their struggle for truth, justice and reparations.
“The government’s response has been nothing but disrespectful and insensitive. I’m alarmed about what happened but I’m not afraid. We will never give up our fight for justice,” he said.
Amnesty International has organised a letter campaign in Spanish urging Mexico’s president to properly investigate the thousands of disappearances:
Asia – Sri Lanka
Tens of thousands are presumed to have disappeared in the conflict between the Tamil Tigers and the military which ended in 2009, and in an earlier counter insurgency campaign by the security forces against leftists in 1989-90. Very few cases have been resolved and there has been blatant intimidation reported against families who have dared to ask questions about the whereabouts of their loved ones.
Several commissions have been appointed by successive governments since 1990 implicating leading politicians and high ranking officers in the police and security forces. However, the authorities have mostly ignored recommendations that these figures, some of whom remain in their positions, should be prosecuted.
Now, even in peacetime, the disappearances continue: newspaper cartoonist Prageeth Egnalikoda was disappeared shortly before the 2010 presidential election.
His wife Sandya told Amnesty International that seeing justice done and the perpetrators convicted has become Sandya’s main struggle in life now. “The main breadwinner of our family is absent – it puts a huge financial strain on us. Also I have to be father and mother to our children. This is a common struggle for families of the disappeared,” she said.
Sri Lankans at home and abroad are encouraged to enter a poetry competition to mark the decades of disappearances titled “Silenced Shadows.” For more information email:info.poetry@amnesty.org
Europe – Bosnia and Herzegovina
The fate of more than 8,000 people remains unknown after Bosnia and Herzegovina’s conflict in the 1990s. Even after two decades authorities across the country continue to fail the families of those who disappeared. The state has failed to fully implement the Law on Missing Persons which requires the authorities to search for all those missing and properly establish a fund to support victims and families.
“The law only exists on paper. Nobody respects it,” Zumra Sehomerovic, the vice-president of the Movement of Mothers of the Srebrenica and Žepa enclaves said.
“When we go to the authorities, for instance to register a missing person at the municipality to obtain a certificate, we are treated dismissively.”
Amnesty International is calling on the Chairman of the Council of Ministers of Bosnia and Herzegovina to ensure the authorities search for all victims of enforced disappearances from the war and to provide their relatives with reparations.
Supporters of this call to action can write a letter to the chairman here:
Africa – Gambia
Journalists in many African states face government intimidation and prosecution. One of the most restrictive regimes is Gambia. In April 2004, President Yahya Jammeh called on journalists to obey his government “or go to hell”.
In July 2006, journalist Ebrima Manneh of The Daily Observer was reportedly arrested by state security after attempting to republish a BBC report criticizing President Jammeh shortly before an African Union meeting in Banjul. His arrest was witnessed by co-workers.
After repeated attempts by his father and fellow journalists to find him, the Government issued an official statement in February 2007 denying his arrest or any knowledge of his whereabouts. In 2008 the community court of justice of the Economic Community of West African States ruled that his arrest and detention was illegal and ordered the Gambian authorities to immediately release him. It also ordered that US $100,000 in damages be paid to him. The judgement has yet to be enforced.
The Gambian government insists it has searched all prisons and can find no trace of him. However, recent reports suggest that he is being held without charge at Fatoto Police Station in Eastern Gambia. Amnesty International considers him to be a prisoner of conscience and calls for his immediate and unconditional release. His whereabouts remain unknown.