[:th]CrCF Logo[:]

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวนักศึกษา

Share

แถลงการณ์สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวนักศึกษา

กรุงเทพมหานคร (30 มิถุนายน 2558) – สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (OHCHR) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการดำเนินคดีอาญาต่อนักศึกษาซึ่ง
ถูกจับกุมเนื่องจากการชุมนุมโดยสงบในที่สาธารณะในกรุงเทพฯ และปล่อยตัวพวกเขาจากสถานที่ควบคุม
โดยทันที สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนการใช้กฎหมายที่จำกัดเสรีภาพใน
การแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุมให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยภายใต้กฎหมายสิทธิ
มนุษยชนระหว่างประเทศ

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารจับกุมนักศึกษา 14 คน ในกรุงเทพฯ ตามหมายจับที่
ออกโดยศาลทหารในข้อกล่าวหาว่าร่วมกันกระทำเพื่อก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร ตามมาตรา
116 ของประมวลกฎหมายอาญา ข้อกล่าวหานี้ถูกเชื่อมโยงกับการชุมนุมที่นักศึกษาจัดขึ้นที่อนุสาวรีย์
ประชาธิปไตย ในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน มาตรา 116 มีระวางโทษสูงสุด จำคุกไม่เกินเจ็ดปี

นักศึกษาได้ถูกออกหมายจับมาก่อนแล้วจากการจัดการชุมนุมโดยสงบทั้งในกรุงเทพฯ และในจังหวัดขอน
แก่น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมาในโอกาสครบรอบหนึ่งปีรัฐประหาร การชุมนุมดังกล่าวถูกกล่าวหา
ว่าฝ่าฝืนคำสั่งฉบับที่ 3/2558 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งระบุห้ามการชุมนุมทาง
การเมืองที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป และมีระวางโทษสูงสุด จำคุกไม่เกินหกเดือน

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน นักศึกษาอีกสองคนถูกดำเนินคดีในศาลทหารกรุงเทพฯ ในข้อหาฝ่าฝืนคำ
สั่งคสช.และเข้าร่วมการชุมนุมเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม นักศึกษาคนหนึ่งเข้ารายงานตัวกับตำรวจเมื่อวันที่
22 มิถุนายนและได้รับการประกันตัว ในขณะที่ นักศึกษาอีกคนหนึ่งถูกจับกุมจากหมายจับดังกล่าวระหว่าง
กำลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ประเทศไทยในฐานะที่เป็นภาคีสมาชิกของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง
การเมือง มีพันธกรณีที่จะต้องรับรองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก (ข้อ 19) และ สิทธิที่จะมีเสรี
ภาพในการชุมนุมโดยสงบ (ข้อ 21) แม้ว่าสิทธิทั้งสองตามกติการะหว่างประเทศนี้จะสามารถถูกจำกัด
ได้ แต่การจำกัดสิทธิดังกล่าวต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และคำนึงถึงความจำเป็นว่าเป็นไปเพื่อ
วัตถุประสงค์ที่มีความชอบธรรมหรือไม่ และได้สัดส่วนกับความจำเป็นหรือไม่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ มี
ความกังวลว่าการดำเนินคดีอาญาที่มีระวางโทษจำคุกยาวนานต่อการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและ
การแสดงออก ถือว่าไม่มีความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 หนึ่งวันหลังจากที่มีการรัฐประหาร ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่ง
สหประชาชาติแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อการจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยคสช. โดยให้ความเห็นว่าเสรี
ภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขประเด็นปัญหาทาง
การเมืองที่ยุ่งยากโดยผ่านการพูดคุยหารือและการอภิปราย ขณะนี้ นับเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปีแล้ว แม้
รัฐบาลจะให้คำมั่นว่าจะนำหลักนิติธรรมกลับคืนมา แต่การจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานยังคงมีอยู่ต่อไป
จบ

25580630-123204.jpg

TAG

RELATED ARTICLES