ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติแสดงความผิดหวัง และเสียใจต่อถ้อยคําคุกคามเสรีภาพสื่อของผู้นํารัฐบาลไทย
กรุงเจนีวา (1 เมษายน 2558) นายเดวิด ไคย์ ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติด้านเสรีภาพความคิดเห็นเรียกร้อง ให้รัฐบาลไทยแสดงตัวออกห่างอย่างชัดเจนต่อถ้อยคําคุกคามเสรีภาพสื่อของผู้นํารัฐบาลไทย และดําเนิน มาตรการโดยพลันเพื่ออนุญาตให้มีพื้นที่อภิปรายถกเถียงและเสรีภาพในการความคิดเห็น
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหารที่ยึดอํานาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และเข้าดํารง ตําแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 2557 กล่าวถึงนักข่าวที่วิพากวิจารณ์ตน หรือ “สร้างความแตกแยก” ว่าอาจถูก ลงโทษประหารชีวิตและกล่าวว่าตน “มีอํานาจในการปิดสื่อทุกสื่อ จับ และยิงเป้า”
ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการ แสดงออกกล่าวย้ําว่า “ผมขอประณามถ้อยคําดังกล่าวของพลเอกประยุทธ์อย่างไม่มีเงื่อนไข ในรอบปีที่ผ่านมามีการสังหารและใช้ความรุนแรงต่อนักข่าวทั่วโลก การกล่าวถ้อยคําลักษณะเช่นนี้เป็นการกระทําที่ยอมรับไม่ได้” ผู้รายงานพิเศษฯ ระบุว่า เราได้รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเกี่ยวกับการโจมตี สังหาร และจําคุกนักข่าวจํานวน มาก “การกระทําเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อปิดการวิพากษ์วิจารณ์และปฏิเสธมิให้พลเมืองเข้าถึงสิทธิในข้อมูลข่าวสาร”
นายเดวิดกล่าวว่า “นักข่าวทุกๆ ประเภททําหน้าที่สําคัญที่เป็นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย” นั่นคือ “ฉาย ภาพให้เห็นว่ารัฐบาลได้ปฏิบัติงานสอดคล้องกับหลักนิติธรรม หรือมีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน และละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ การข่มขู่คุกคามนักข่าวจึงเป็นการโจมตีสิทธิของสาธารณะที่จะได้รับรู้ข้อมูล”
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า “ไม่มีข้อมูลใดที่บ่งบอกว่าพลเอกประยุทธ์กล่าวถ้อยคําดังกล่าวอย่าง เป็นเรื่องตลก แม้ว่าพลเอกประยุทธ์จะกล่าวในลักษณะนั้น การที่ความคิดในการสังหารนักข่าวหรือการปิดสื่อ เพียงเพราะการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลสามารถนํามาทําเป็นเรื่องตลกได้นั้นเป็นสิ่งที่น่าประณาม”
ผู้รายงานพิเศษฯ ระบุว่าประเทศไทยควรดําเนินมาตรการเพื่อยกเลิกการบังคับใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันก็แสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อความเป็นไปได้จะนํามาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) มาบังคับใช้ ซึ่งมาตรานี้จะให้อํานาจอย่างไม่มีขอบเขตกับพลเอกประยุทธ์ในการสั่งการ ใดๆ ซึ่งมีผลบังคับทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร และทางตุลาการ
นายเดวิดกล่าวย้ําว่า “เสรีภาพในการแสดงออกและความเป็นอิสระของสื่อมวลชนที่จะสามารถรายงานข่าวได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกตอบโต้แก้แค้น ช่วยส่งเสริมการอภิปรายถกเถียงสาธารณะ และเป็นสิ่งที่จําเป็นต่อ การสร้างสังคมที่มีความบูรณาการและเป็นประชาธิปไตยซึ่งเสรีภาพดังกล่าวรวมถึงสิทธิที่ทุกคนจะแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่รัฐได้”
“รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐไม่เพียงต้องเคารพบทบาทหน้าที่ของนักข่าวเท่านั้น แต่ควรจะต้องประณามอย่าง เปิดเผยต่อการข่มขู่คุกคาม การโจมตีนักข่าวในทุกๆ รูปแบบโดยผู้มีตําแหน่งทางการเมืองระดับสูงสุด และ รับประกันไม่ให้ใครสามารถถูกข่มขู่คุกคามได้” ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวย้ำ
ผู้รายงานพิเศษฯ ยังแสดงความกังวลต่อการจับกุมคุมขังประชาชนตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น และเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการ ดําเนินคดีอาญาต่อผู้ที่มีความเห็นต่าง ผู้รายงานพิเศษฯ กล่าวสรุปว่า “สิ่งเหล่านี้สําคัญมากในช่วงเวลาที่มีการ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งจะกําหนดทิศทางของประเทศในอนาคต”
-จบ-
นายเดวิด ไคย์ (สหรัฐอเมริกา) ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครอง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก เมื่อเดือนสิงหาคม 2557 โดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ohchr.org/EN/Issues/FreedomOpinion/Pages/OpinionIndex.aspx
ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติเป็นส่วนหนึ่งของกลไกพิเศษ (Special Procedures) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติ กลไกพิเศษซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิมนุษยชนจํานวนมากเป็นชื่อของกลไกการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงและการติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่ในการติดตามสถานการณ์ในประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรือต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนประเด็นหนึ่งทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญของกลไก พิเศษดําเนินงานในฐานะอาสาสมัคร เขาไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติและไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากการทํางาน พวก เขาเป็นอิสระจากรัฐบาลหรือองค์กรใดๆ และทํางานภายใต้ศักยภาพส่วนบุคคล
สิทธิมนุษยชนในสหประชาชาติ – ประเทศไทย http://www.ohchr.org/EN/Countries/AsiaRegion/Pages/THIndex.aspx