ป่าชุมชน เเละป่าใช้สอยสำหรับชาวบ้าน
“เเม่สามเเลบมีป่าชุมชนที่ใช้สอยได้ไม่มาก อีกอย่างเป็นของอุทยานทั้งหมด คนจึงไม่กล้าเข้าไปปลูก กลัวโดนจับ เพราะไม่มีบัตรเลยไม่อยากสร้างปัญหาเเละกลัวโดนถอนสัญชาติ ข้าวสารหรือพริกต่างๆก็ซื้อกิน เป็นอย่างนี้มาตั้งเเต่รุ่นพ่อเเม่ ส่วนคนที่เข้าไปทำไร่ทำสวนจะเป็นคนที่อยู่บนดอยสูงๆ เพราะถ้าเขาไม่ทำ เขาก็จะไม่มีอะไรกิน หรือคนที่เป็นเจ้าของดั้งเดิมเลย”
ถึงเเม้อุทยานเเห่งชาติสาละวินจะเป็นเขตป่าสงวน ที่ตามกฎหมายห้ามให้ทุกคนเข้าไปยุ่งเกี่ยว เเต่บางพื้นที่ต้องมีการเเบ่งเขตเป็นป่าชุมชน เพื่อการใช้สอยของคนในพื้นที่ซึ่งถือเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมที่เริ่มสร้างพื้นที่ให้สมบูรณ์เเละก่อเกิดประเพณีวัฒนธรรมที่สวยงามตามมา จึงขอน้อมนับพระราชดำริของพ่อหลวงของเเผ่นดินที่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้นับไปใช้ในงานของตน เพื่อไม่ให้ริดลอนสิทธิของผู้อื่น “…ในป่าสงวนซึ่งทางราชการได้ขีดเส้นไว้ว่าเป็นป่าสงวนหรือป่าจำเเนก เเต่เมื่อเราขีดเส้นไว้ประชาชนก็อยู่ในนั้นเเล้ว เขาจะเอากฎหมายป่าสงวนไปบังคับคนที่ยังอยู่ในป่าที่พึ่งสงวนทีหลังโดยขีดเส้นบนเเผ่นกระดาษก้ดูชอบกลอยู่ เเต่มีปัญหาเกิดขึ้นคือเมื่อขีดเส้นเเล้ว ประชาชนที่อยุ่ในนั้นก็กลายเป็นฝ่าฝืนกฎหมายไป ถ้าดูในทางกฎหมาย เขาก็ฝ่าฝืน เพราะตราเป็นกฎหมายอันชอบธรรม เเต่ถ้าดูตามธรรมชาติ ใครเป็นผู้ทำผิดกฎหมาย ก็ผู้ที่ขีดเส้นนั้นเอง เพราะว่าบุคคลผู้อยู่ในป่านั้นเขาอยู่ก่อน เขามีสิทธิ์ในความเป็นมนุษย์ หมายความว่าทางราชการบุกรุกบุคคลไม่ใช่บุคคลบุกรุกบ้านเมือง”
บางตอนจากพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเเก่คณะกรรมการจัดงานวันรพี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2516“… ที่พูดถึงเรื่องนี้ก็เพราะนึกถึงปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินว่า กฎเกณฑ์ใดจะทำให้ผู้ใดจะมีกรรมสิทธิ์เเล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน เเล้วกฎหมายจะเข้าไปตัดสินอย่างไรว่าใครมีสิทธิ์ก็ตามหลักนั้นว่า ผู้ที่มีใบสำคัญจึงจะเป็นเจ้าของที่ดินได้ เเต่ตามความจริงเดี๋ยวนี้คนที่ทำงานในที่ดินเป็นเวลาสิบๆปีได้ทำให้ที่ดินนั้นเป็นประโยชน์ขึ้นมาโดยไม่เบียดเบียนคนอื่น เป็นคนไม่มีกรรมสิทธิ์ ถ้าไม่มีใบอะไรอย่างหนึ่งที่เเสดงกรรมสิทธิ์ ส่วนผู้ที่ไปอำเภอเเล้วไปขอใบสำคัญในเรื่องที่ดินเเล้วนายอำเภอบอกว่าที่ดินว่างเปล่า จองได้ เป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ หรือถ้ายังจองไม่ได้เพราะว่าเป็นป่าสงวน เมื่อป่าสงวนยกเลิกไปผู้นั้นมีสิทธิ์ก่อน ไม่ได้นึกถึงคนที่อยู่ข้างในเพราะไม่เคยเห็น อย่างนี้ใครจะเป็นคนที่คุ้มครองประชาชนที่ทำงานที่เชื่อได้ว่าเป็นคนที่มีความสุจริตที่ไปบุกเบิกที่โดยไม่ทราบว่าเป็นป่าสงวน หรือไปบุกเบิกก่อนที่ป่านั้นถูกสงวนไว้ตามกฎหมาย…”จากประมวลพระราชดำรัสพระบรมราโชวาท 2530:36
เเละในรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในส่วนที่ 2 ได้พูดถึงความเสมอภาค ในส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน มาตรา 66 ว่าด้วยบุคคลที่อยู่รวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นเเละของชาติ เเละมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา เเละการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งเเวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลเเละยั่งยืน แม้ว่าปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะถูกยกเลิกไม่มีผลบังคับใช้แล้วก็ตามหลังการปฏิวัตเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
ด้านนายเลาฟั้ง ทนายความอิสระ เล่าว่าตามหลักการจัดตั้งอุทยานทุกที่นั้น ต้องถามความคิดเห็นของชาวบ้าน เเละตลอดกระบวนการขอประกาศพื้นที่อุทยานนั้นต้องไม่มีการคัดค้านของชาวบ้าน ถ้าชาวบ้านท้วงติงขึ้นมาว่าที่ดินนั้นเป็นของตนมาก่อนอย่างถูกต้อง ก็จะประกาศเขตอุทยานฯไม่ได้ เเต่กรณีนี้อุทยานฯได้รับการอนุมัติจากกรมป่าไม้ทั้งที่ยังอยู่ในขั้นตอนของการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ซึ่งถ้าย้อนไปเมื่อปี 2556 กรมอุทยานฯ ได้สำรวจพื้นที่ ชาวบ้านก็ไม่ยอมเเละเรียกร้องไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เจ้าหน้าที่อุทยานจึงออกมาชี้เเจงเเล้วเรื่องก็เงียบไป เเต่เมื่อมาปี2557นี้ หัวหน้าอุทยานฯ ได้บอกผ่านตนมาว่า การประกาศพื้นที่อุทยานเพิ่มนั้นได้รับการอนุมัติเเล้ว
ทนายความอิสระเห็นว่า การจะประกาศพื้นที่อุทยานเพิ่ม จากเดิมเป็นที่ดินทำกินของชาวบ้านนั้น ควรมีการรังวัดพื้นที่ประกอบกับภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อดูว่าพื้นที่ตรงไหนที่ชาวบ้านได้รุกล้ำเพิ่มจากที่ดินของตนเองที่มีอยู่เดิม ก็ให้เอาพื้นที่ตรงนั้นคืนไป ซึ่งจะเป็นวิธีที่ดีสุดในการเเก้ปัญหาเรื่องนี้ เพราะจะยุติธรรมทั้งสองฝ่ายโดยชาวบ้านยังมีที่ดินที่กินอยู่เเละอุทยานฯได้พื้นที่ ที่เป็นของอุทยานคืนไป
โครงการเขื่อนกับเเม่สามเเลบ
เเม่น้ำสาละวิน ถือเป็นเเม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ 26 ของโลก ด้วยระยะทางทั้งหมด 2,800 กิโลเมตร โดยถือเป็นเเม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีต้นกำเนิดมาจากการละลายของหิมะบริเวณที่ราบสูงทิเบตเหนือเทือกเขาหิมาลัย ก่อนไหลลงสู่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน จากนั้นก็ไหลต่อเข้าสู่ประเทศพม่า ผ่านรัฐฉานรัฐคะยาก่อนที่จะกลายมาเป็นเเม่น้ำกั้นพรมเเดนระหว่างไทยกับพม่าที่จังหวัดเเม่ฮ่องสอน ที่บ้านสบเมย ก่อนที่จะไหลวกกลับเข้าพม่าเเละไหลสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ ในรัฐมอญ
สาละวินจึงถือเป็นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์กว่า 14 กลุ่มทั้งในจีน พม่าเเละไทย จากรายงานวิจัยปกากญอเผยว่า เป็นเเหล่งรวมพรรณพืชพันธุ์ไม้เเละสมุนไพรกว่า 100 ชนิด ที่สำคัญอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของผู่คนเเถบนั้น อีกทั้งรายงานโครงการสาละวินศึกษาว่าป่าผืนนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้สักเเละพันธุ์สัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เเต่เเม่น้ำสาละวินกลับกลายเป็นเป้าหมายของโครงการสร้างเขื่อนในหลายพื้นที่ ตั้งเเต่เขื่อนชุด 13 เเห่งในเขตจีน เขื่อนท่าซางในรัฐฉาน เเละเขื่อนสาละวินบนพรมเเดนไทย – พม่า ใน “โครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำสาละวิน”
เเละเเน่นอนชาวบ้านเเม่สามเเลบ ซึ่งอยู่ในอำเภอสบเมย ก็จะได้รับผลกระทบในการสร้างเขื่อนดังกล่าว
“เรารู้ว่าจะมีการสร้างเขื่อน เพราะมีหน่วยงานของการไฟฟ้าเข้ามาสอบถามความรู้สึกถึงการสร้างเขื่อน ซึ่งเราเองก็ไม่อยากจะให้สร้าง เพราะเราก็อยู่ของเราดีเเล้ว ถ้าสร้างเเล้วมันมีผลกระทบ คุณจะรับผิดชอบไหม เเต่เขาก็บอกว่ามันไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรขนาดนั้น”นายพาดาตุก ไม่มีนามสกุล ชาวบ้านหมู่บ้านเเม่สามเเลบเเละเป็นกลุ่มทำงานพัฒนาลุ่มเเม่น้ำสาละวิน เล่า
พาดาตุก เล่าให้ฟังว่าการไฟฟ้าเข้ามาทำประชาคม ฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน เเต่ชาวบ้านก็ไม่เห็นด้วยถึงการสร้างเขื่อน จึงได้บอกกับการไฟฟ้าไปตรงๆ ไม่นิ่งเฉย เเละมีการรวมตัวกันเพื่อประท้วงไม่ให้สร้างเขื่อน โดยจะมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นเเกนนำเพื่อไปต่อรอง เเต่ก็ไม่ได้ข้อสรุปเเละตอนนี้ชาวบ้านก็ไม่ทราบความคืบหน้า
“ถ้าสร้างเเล้วจะไม่มีผลกระทบอะไร ชาวบ้านก็ตกลง เเต่เมื่อสร้างเขื่อน คน 2 ฝั่งจะไปมาสะดวกขึ้น ชาวบ้านก็จะกังวลมากขึ้น เพราะอย่างอาชีพประมง คนก็จะเข้ามาหารายได้มากขึ้น คนก็อาจจะเข้ามาเเย่งที่อยู่ จากเดิมที่เราไม่มีอยู่เเล้ว เเละอีกอย่างเมื่อมีเขื่อน น้ำก็จะมีเยอะ กลัวน้ำจะท่วมเเล้วเราไม่มีที่อยู่อีก ก็ต้องไปหาที่ใหม่ เเต่ก็ไม่รู้จะไปอยู่ไหน”พาดาตุกเล่า
นายเลาฟั้ง ทนายความอิสระคิดเห็นเรื่องนี้ว่า ผลกระทบที่ตามมาจากการสร้างเขื่อนนั้นมี 3 ด้านด้วยกัน ด้านเเรกคือผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ เพราะเเม่น้ำสาละวินมีระบบนิเวศน์เป็นระบบน้ำไหลเเละน้ำขึ้นน้ำลง ถ้าสร้างเขื่อนก็จะเป็นอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นระบบน้ำนิ่ง ส่งผลให้ปลาบางชนิดสูญพันธุ์ ปลาบางชนิดขยายพันธุ์จนควบคุมไม่ได้ ซึ่งเป็นการทำลายห่วงโซ่อาหารที่สมบูรณ์ ป่าไม้เองก็เช่นกัน ต้นไม้บางชนิดตาย ต้นไม้บางชนิดเพิ่มขึ้น สภาพอากาศก็จะต้องเปลี่ยนเเปลง เเละในเเง่ของการลอบตัดไม้สาละวิน ที่ชาวบ้านกังวัลที่สุด เมื่อก่อนการลอบตัดไม้เเละการขนเข้ามาเเปรรูปนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะน้ำตื้นเเละอาจจะไปติดกับดินโคลน เเต่เมื่อสร้างเขื่อนน้ำสูงขึ้นท่อนไม้สักจะลอยน้ำมาได้ง่าย เเละส่งมาถึงที่เเปรรูปได้สะดกขึ้น
ด้านที่สองคือ 3 หมู่บ้านในฝั่งไทยที่จะได้รับผลกระทบนั้นคือหมู่บ้านสบเมย หมู่บ้านเเม่สามเเลบ เเละหมู่บ้านท่าตาฝั่ง ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่เหนือเขื่อน ถ้าได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมสูงนั้น ที่อยู่อาศัยเเละที่ดินทำกินก็จะโดนทั้งหมด เเต่ชาวบ้านต่างไม่มีสัญชาติเเละเอกสารสิทธิใดๆ ทำให้การต่อรองถึงค่าชดเชยก็จะได้น้อยกว่าคนที่มีสัญชาติหรือเอกสารสิทธิ
“เมื่อพูดถึงที่อยู่อาศัยเเล้วนั้น ที่ดินทำกินก็เช่นกัน บริเวญชายหาดที่เหมาะในการทำการเกษตร ในฤดูฝนก็จะทำให้น้ำท่วมบวกกับระบบน้ำนิ่ง ที่ทำให้หน้าดินถูกชะล้าง ทำให้ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังส่งผลต่อถึงอาชีพหาปลา เพราะปลาก็จะน้อยลงตามการพัดพาตะกอนที่เป็นเเหล่งอาหารให้กับปลาในระบบน้ำไหล”ทนายความอิสระเล่า
เเละด้านที่สามคือผลกระทบทางสังคม เมื่อมีเขื่อนเข้ามา ทหารพม่าก็ต้องเข้ามาจัดการพื้นที่ ทำให้เกิดปัญหาระหว่างกองกำลังเคเอ็นยูเเละกองกำลังดีเคพีเอที่ตอนนี้การเจรจากำลังเป็นไปด้วยดี ซึ่งเกรงว่าถ้ามีทหารพม่าเข้ามา จะทำให้เกิดการสู้รบอีกครั้ง ทำให้คนพม่าจะอพยพเข้ามาในไทยมากขึ้น ก็จะเกิดความขาดเเคลนของพื้นที่ที่อยู่อาศัย ซึ่งเดิมก็ไม่ค่อยมีอยู่เเล้ว
“คนของการไฟฟ้าที่เข้ามาทำวิจัยนั้น จะย้ำทุกครั้งที่ชาวบ้านถามถึงผลกระทบว่า ชาวบ้านจะไม่ได้ผลกระทบใดๆเเน่นอน เเละค่าชดเชยต่างๆก็จะได้เท่ากัน ซึ่งตรงนี้ก็ไม่มีใครมาการันตีได้ว่า เขาพูดจริง”ทนายความอิสระกล่าวทิ้งท้าย
บทสรุป
หมู่บ้านนี้ เป็นส่วนเติมเติมที่มาเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต ประเพณีเเละวัฒนธรรมอันสวยงามที่ถ่ายทอดไปยังลูกหลาน หรือการรักษาดูเเลผืนป่าที่เป็นเเนวรั้วของประเทศชาติให้อุดมสมบูรณ์ขึ้น
รัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้มีหน้าที่ในการดูเเลประชาชนอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะละเลยเเละละเมิดสิทธิของประชาชนทุกคนไม่ได้ การตั้งกฎหรือการควบคุมดูเเลต้องตั้งอยู่บนหลักของสิทธิมนุษยชน ที่จะสร้างความเป็นธรรมให้ทุกทั้งฝ่าย
เพียงเเค่อย่าเเกล้งลืมว่าเขาคือประชาชนคนหนึ่งในประเทศ เพียงเเค่อย่าลืมว่าเขาคือคนเหมือนกับเรา เพียงเท่านี้ปัญหาต่างๆก็จะถูกเเก้ไขไปด้วยความเข้าใจซึ่งกันเเละกัน เเละนั่นคือหนทางเเห่งความสงบสุข