คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย ในรายงาน
Extract from http://nhri.ohchr.org/EN/AboutUs/ICCAccreditation/Documents/SCA%20OCTOBER%202014%20FINAL%20REPORT%20-%20ENGLISH.pdf Page 32-35
3.10 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของไทย ได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการจัดลำดับ SCA ดังนี้
คณะกรรมการจัดระดับฯ ได้ให้คำแนะนำว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไทยควรลดลำดับลงมาที่ B สอดคล้องกับ art. 18.1 ในธรรมนูญ ICC ข้อเสนอแนะในการลดระดับจะไม่ส่งภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งจะเปิดโอกาสกสม.ในการจัดหาเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติตามหลักการของ Paris Principles เท่ากับว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทยยังคงระดับ A อยู่เป็นระยะเวลาหนึ่งปี
กระบวนการคัดเลือก และแต่งตั้ง
คณะกรรมการฯ ได้แสดงความเห็นอย่างจริงจังต่อกรณีการคัดเลือก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- ไม่มีการประกาศประชาสัมพันธ์การรับสมัคร
- คณะกรรมการคัดเลือกมีจำนวนผู้เข้าร่วมที่มาจากองค์กรสาธารณะจำนวนน้อย ไม่ชัดเจนถึงความเป็นผู้แทนฯ หรือการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือภาคประชาสังคม
- ไม่มีมาตราที่แสดงถึงการปรึกษาหารือหรือการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในการรับสมัครการคัดเลือกและกระบวนการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- ไม่ชัดเจนและไม่มีรายละเอียดที่ดีพอถึงคุณสมบัติของผู้รับสมัครเข้าเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรับทราบข้อกังวลที่ว่ากระบวนการคัดเลือกกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขาดซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วม และระบุว่ากำลังรณรงค์ให้ศาลฏีกาจัดการประชุมคัดเลือกและศาลปกครองสูงสุดจัดการประชุมคณะอนุญาโตตุลาการเพื่อคัดเลือกกรรมการสิทธิมนุษยชนจากภาคประชาสังคมจำนวนสองคน
คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าข้อเสนอของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในประเด็นนี้อย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาที่ทางคณะกรรมการฯ กังวลและยังไม่สามารถสร้างให้เกิดความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย
คณะกรรมการฯ ส่งเสริมให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รณรงค์ต่อไปให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอย่างเต็มที่ทั้งแก้ไขตัวบทกฎหมาย ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติ และเพื่อให้ขั้นตอนการรับสมัครคัดเลือกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ถูกต้องเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะแก้ไขประเด็นดังกล่าวข้างต้นได้
คณะกรรมการฯ อ้างถึง Paris Principle B.1 และในข้อสังเกตทั่วไป 1.8 กล่าวถึงการคัดสรรและการแต่งตั้งกรรมการสิทธิแห่งชาติที่มีอำนาจตัดสินใจในการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
- เอกสิทธิ์และความเป็นอิสระ
คณะกรรมการฯ ได้แสดงความห่วงกังวลก่อนหน้านี้แล้วว่าสมาชิกของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องมีเอกสิทธิ์จากการฟ้องร้องคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการทำงานด้วยความสุจริตตามอาณัติขององค์กร
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดหาข้อมูลให้เพื่อแนะนำว่ามีตัวบทกฎหมายใดที่ระบุถึงเอกสิทธิ์ที่จะได้รับการคุ้มครองจากการฟ้องร้องคดี เช่นกฎหมายอาญามาตรา 59 ย่อหน้า กฎหมายอาญามาตรา 329 พรบ. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา 33 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และ พรบ. ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ มาตรา 5
คณะกรรมการฯ มีความกังวลว่าความเป็นเอกสิทธิ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยังคงขึ้นอยู่กับกฎหมายหลายฉบับที่จะกำหนดความเป็นเอกสิทธิ์และความเป็นอิสระ
คณะกรรมการฯ ได้แสดงความห่วงกังวลดังกล่าวว่า องค์กรอื่นๆ ภายนอกอาจแสวงหาความมีอิทธิพลเหนือต่อความเป็นอิสระของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ โดยการริเริ่มหรือคุกคามคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วยกระบวนการทางกฎหมายต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนรายบุคคล ด้วยเหตุผลดังกล่าว และการให้ความสำคัญกับบทบาทที่เป็นเอกลักษณ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า กฎหมายพระราชบัญญติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ควรที่จะมีบทบัญญัติที่ชัดเจนถึงการคุ้มครองทางกฎหมายต่อเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปฏิบัติงานอย่างสุจริตตามหน้าที่ โดยระบุมาตราฯ ว่า
- การดำรงตำแหน่ง
- ความสามารถที่จะเข้าไปมีส่วนในการวิเคราะห์ วิพากษ์ ให้ความเห็นเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นอิสระจากการแทรกแซงใดใด
- ความเป็นอิสระจากผู้นำอาวุโส
- ความมั่นใจของสาธารณะต่อสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ
คณะกรรมการฯสนับสนุนให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเขียนบทบัญญัติให้ชัดเจนว่าบทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะได้รับเอกสิทธิ์ในการปกป้องการทำงานของเจ้าหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจากการฟ้องร้องคดีให้รับผิดตามกฎหมายในทุกๆ การกระทำที่สุจริตตามหน้าที่
คณะกรรมการฯ อ้างถึงหลักการข้อ B3 และในข้อเสนอแนะ 2.3 เรื่องกลไกการรับรองความเป็นเอกสิทธิ์
- การตอบสนองต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนให้ทันท่วงที
คณะกรรมการฯ ได้แสดงความห่วงกังวลในประเด็นที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไม่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างทันท่วงที
เหตุการณ์การประท้วงทางการเมืองและการปราบปรามประชาชนในปี 2553 ส่งผลทำให้มีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และถูกกล่าวว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐ แม้ว่าจะมีความรุนแรงของการละเมิดเกิดขึ้นแต่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติใช้เวลากว่า 3 ปีในการจัดทำรายงานและเผยแพร่รายงานการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นในปี 2553
ปลายปี 2556 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้จัดทำสรุปย่อการปฏิบัติงานต่อเหตุการณ์การปราบปรามประชาชนที่เกิดขึ้นให้กับคณะกรรมการฯ และได้แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทำงานในสถานการณ์ที่ยากลำบากและได้ทำงานอย่างเป็นลำดับเพื่อติดตามสถานการณ์ คณะกรรมการฯ ได้บันทึกไว้ว่ารายงานสถานการณ์ในครั้งนั้นจะจัดทำรายงานเผยแพร่ต่อกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2553
คณะกรรมการฯ บันทึกว่าสถานการณ์การรัฐประหารและการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะจัดให้มีการตรวจสอบเฝ้าระวังอย่างเป็นอิสระและส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตยและสร้างความเข็มแข็งในระบบนิติรัฐนิติธรรมโดยไม่ละเว้น การทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรวมถึงการตรวจสอบ การจดบันทึก การแถลงการณ์สาธารณะ และรายงานสถานการณ์สิทธิต่อกรณีการละเมิดอย่างสม่ำเสมอ ผ่านสื่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จะจัดให้มีกิจกรรมและการรณรงค์ให้ข้อเสนอแนะและข้อสังเกต ที่ค้นพบเพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนผู้ถูกละเมิดนั้นเป็นจริง กิจกรรมของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยเฉพาะการเผยแพร่รายงานต่อสาธารณะจะทำให้เกิดการห้ามและการยุติการปล่อยให้คนผิดลอยนวล
คณะกรรมการฯ อ้างถึง Paris Principles ข้อ A3และ C.c และ ในข้อเสนอแนะ ข้อ 1.6 และ 2.6 ต่อเหตุการณ์การปฏิวัติและการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
- ความเป็นอิสระและความเป็นกลาง
คณะกรรมการฯ ได้แสดงความห่วงกังวลว่าเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่แสดงออกต่อสาธารณะถึงการฝักใฝ่ทางการเมืองขณะที่ทำหน้าที่ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้แสดงให้เห็นว่าสำนักงานฯ ได้ “สนับสนุน” ให้เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำหน้าที่อย่างเป็นกลางและปฏิบัติตามข้อบังคับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการแสดงออกถึงความคิดเห็นทางการเมืองขณะที่ทำงานตามหน้าที่นั้นส่งผลกระทบต่อความเป็นอิสระทั้งที่เป็นจริงและในส่วนที่ถูกมองว่า ไม่เป็นกลาง ในห้วงเวลานี้ เหยื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจพบว่ามีความยากลำบากในการเข้ามาร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ถ้ามีความชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่มีความฝักใฝ่ทางการเมืองต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิ ดังนั้น คณะกรรมการฯ เน้นย้ำว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีความรับผิดชอบที่จะต้องทำให้แน่ใจการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความเป็นกลาง ว่า ต้องดำเนินการที่มากกว่า “สนับสนุน” ให้เจ้าหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทำงานเป็นกลาง
คณะกรรมการฯ บันทึกไว้ว่า สถานการณ์การรัฐประหารหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน นั้น มีความคาดหวังว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะทำงานด้วยความเป็นอิสระและดำเนินการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มที่
คณะกรรมการฯ อ้างถึง หลักการ Paris Principles A.3 และข้อเสนอแนะ ข้อ 2.6 ต่อเหตุการณ์การรัฐประหารและการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
- กระบวนการทางกฎหมายในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่
คณะกรรมการฯ บันทึกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ทำงานกับสภาร่างรัฐธรรมนูญและได้ส่งแผนงานในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในการแก้ไขกฎหมาย
การร่างกฎหมายที่กำลังเกิดขึ้นนี้เป็นโอกาสที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะได้รณรงค์แก้ไขให้มีการบัญญัติให้ พรบ. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความสมบูรณ์ตาม หลักการ Paris Principles และคณะกรรมการฯ ขอสนับสนุนให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแก้ไขข้อปัญหาทั้งหมดที่กล่าวถึงในเอกสารนี้ รวมไปถึงการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้สองคล้องและปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวด้วย
คณะกรรมการฯ อ้างถึง Paris Principles A.2 และข้อเสนอแนะข้อ 1.1 ในการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการฯ สนับสนุนให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอข้อแนะนำและความช่วยเหลือจาก สำนักงานข้าหลวงใหญ่ว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนและ สถาบันเอเชียแปซิฟิคว่าด้วยเรื่องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน