สรุปความเป็นมา
ร่าง พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ….
ที่มา: กลุ่มงานกฎหมาย กองกฎหมาย สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ วันที่ 8 ตุลาคม 2557
๑. ตามคำสั่ง ตร. ที่ ๕๙๖ /๒๕๔๓ ลง ๓๐ ส.ค.๔๓ เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณายกร่างกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวกับการชุมนุมเรียกร้องของประชาชน ซึ่งมี พล.ต.ต. วิโรจน์ จันทรังษี ผู้ช่วย ผบช.น. เป็นหัวหน้าคณะทำงานได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการชุมนุม พ.ศ. …. (มี ๑๘ มาตรา) ให้ ตร. พิจารณา
๒. ต่อมาร่างดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น ร่าง พ.ร.บ. การชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ. …. โดยได้เสนอร่างดังกล่าวให้ สลค. ดำเนินการต่อไป
๓. สลค. ได้ขอให้ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับ
ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้ส่งความเห็น และข้อสังเกตมายัง สลค.
๔. สลค. มีหนังสือที่ นร ๐๕๐๓/๑๘๑๗ ลง ๕ ก.พ. ๕๐ แจ้งความคืบหน้าว่านายกรัฐมนตรี (พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์) ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้ว มีคำสั่งเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล) เสนอ โดยสั่งการให้ชะลอร่าง พ.ร.บ. นี้ไว้ก่อน หรือเสนอภายหลังที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ในขณะเดียวกัน พล.ต.อ. อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รอง ผบ.ตร. ซึ่งเป็นสมาชิก สนช. ในขณะนั้นได้เสนอร่าง พ.ร.บ. ซึ่งมีเนื้อหาเดียวกันต่อ สนช. แต่สมาชิก สนช. ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับหลักการจึงได้มีการถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกจากที่ประชุม สนช. ในการประชุม สนช. เมื่อวันที่ ๑๕ ส.ค. ๒๕๕๐
๕. ต่อมา ตร. มีคำสั่งที่ ๕๔๒/๒๕๕๑ ลง ๑๕ ส.ค. ๒๕๕๑ แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณายกร่างกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ มี พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ได้นำร่างกฎหมายที่ ตร. เคยพิจารณายกร่างไว้เดิม รวมทั้งแนวคิดและหลักการของกฎหมายต่างประเทศมาประกอบการพิจารณายกร่างเพื่อนำเสนอรัฐบาลต่อไป
๖. ครม. มีมติ วันที่ ๑๗ เม.ย. ๒๕๕๒ เห็นสมควรให้มีกฎหมายเพื่อให้การใช้เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะเป็นไปตามหลักการสากล และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงมอบให้ ตร. พิจารณาดำเนินการยกร่างกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ แล้วนำเสนอ ครม. โดยเร็ว
๗. คณะทำงานยกร่างกฎหมายการชุมนุมสาธารณะของ ตร. ตาม ๒. ยกร่างกฎหมาย ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ เรียบร้อยแล้ว (มีสาระสำคัญคือกำหนดให้ผู้ประสงค์จะจัดการชุมนุมสาธารณะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้ง โดยไม่ต้องขออนุญาต) และ ผบ.ตร. ได้สั่งการให้นำร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ ตร. ตามคำสั่ง สนร. ที่ ๖๖/๒๕๕๒ ลง ๓ มี.ค. ๒๕๕๒ ซึ่งคณะกรรมการคณะดังกล่าวได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๑๗ มิ.ย. ๒๕๕๒ และครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๓ ก.ย. ๒๕๕๒ ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ….
๘. ตร. มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ตช ๐๐๑๑.๑๔/๐๖๐ ลง ๒๘ ก.ย. ๒๕๕๒ เสนอร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. (๑๒ มาตรา) ไปยัง สลค. และ ครม. มีมติเมื่อวันที่ ๖ ต.ค. ๒๕๕๒ ให้ สคก. รับร่างกฎหมายดังกล่าวไปพิจารณา โดยให้รับความเห็นของ สมช., และ กห. ไปพิจารณาด้วย
๙. สคก. ตรวจพิจารณาเสร็จ (๓๙ มาตรา) ส่งร่างกฎหมายไปยัง สลค. เมื่อ ๒๙ มี.ค. ๒๕๕๓
๑๐. ครม. มีมติเห็นชอบตามเสนอของวิปรัฐบาลให้เสนอร่างกฎหมายไปยังสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ ๑ ก.พ. ๒๕๕๔
๑๑. สภาผู้แทนราษฎรลงมติรับหลักการและตั้ง กมธ. วิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย เมื่อ ๑๐ มี.ค. ๒๕๕๔ โดย กมธ. วิสามัญฯ พิจารณาเสร็จเมื่อวันที่ ๒๕ มี.ค. ๒๕๕๔
๑๒. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๒๗ เม.ย. ๒๕๕๔ ที่ประชุมให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่ง กมธ. วิสามัญฯ ได้ขอแก้ไขมาตรา ๘ (ประเด็นสถานที่ห้ามการชุมนุม) ตามที่ ส.ส. พรรคเพื่อไทยได้อภิปราย (สรุปเป็นร่าง พ.ร.บ. มี ๔๐ มาตรา) และได้ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป
๑๓. วุฒิสภาเห็นชอบในหลักการของร่างที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรใน วาระที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒ พ.ค. ๒๕๕๔ และได้ตั้ง กมธ. วิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวคณะหนึ่ง จำนวน ๒๕ ท่าน
๑๔. วันที่ ๑๐ พ.ค. ๒๕๕๔ มีการประกาศใช้ พ.ร.ฎ.ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๔ และกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ ๓ ก.ค. ๒๕๕๔ เป็นผลให้ร่าง พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. ค้างการพิจารณาในชั้นวุฒิสภา ตามมาตรา ๑๕๓ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ หาก ครม. ชุดใหม่ต้องการให้วุฒิสภาพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวต่อไปจะต้องร้องขอให้รัฐสภาพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวต่อไป ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก (เนื่องจากได้มีการประชุมรัฐสภาครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒ ส.ค. ๒๕๕๔ จึง ครม. จึงต้องร้องขอภายในวันที่ ๒๙ ก.ย. ๒๕๕๔)
๑๕. ขณะนี้ ครม. ชุดใหม่แถลงนโยบายและบริหารราชการแผ่นดินแล้วตั้งแต่วันที่ ๒๔ ส.ค. ๒๕๕๔ และมีมติเมื่อวันที่ ๖ ก.ย. ๒๕๕๔ กรณีร่าง พ.ร.บ. ของส่วนราชการต่างๆ ที่ค้างการพิจารณาของรัฐสภา มอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณา และให้แจ้งผลการพิจารณามายัง สลค. ภายในวันที่ ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๔ เพื่อรวบรวมเสนอ ครม. ในวันอังคารที่ ๒๐ ก.ย. ๒๕๕๔
๑๖. พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รรท.ผบ.ตร. ได้รับอนุมัติจาก รอง นรม. (ร.ต.อ. เฉลิมอยู่บำรุง) เมื่อวันที่ ๑๒ ก.ย. ๒๕๕๔ ให้แจ้งยืนยันการเสนอร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. ที่ค้างการพิจารณาในชั้นวุฒิสภา ไปยังรัฐบาลให้มีการร้องขอให้รัฐสภาพิจารณา ต่อไป
๑๗. เมื่อวันที่ ๑๓ ก.ย. ๒๕๕๔ ตร. มีหนังสือแจ้งยืนยันร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. ไปยัง สลค.
๑๘. สลค. มีหนังสือ ที่ นร ๐๕๐๓/ว (ล) ๒๑๑๖๐ ลง ๕ ต.ค. ๒๕๕๔ แจ้งมติ ครม. เมื่อ ๒๗ ก.ย. ๒๕๕๔ และรายชื่อร่าง พ.ร.บ. ที่ ครม. มีมติเห็นชอบให้มีการร้องขอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาต่อไป ซึ่งในการนี้ ครม. มิได้ร้องขอต่อรัฐสภาให้มีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. เป็นผลให้ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวตกไป
๑๙. สลค. มีหนังสือที่ นร ๐๔๐๔/๑๗๐๕๙ ลง ๒๔ ธ.ค.๒๕๕๕ เรื่อง การดำเนินการตามข้อหารือของสมาชิกรัฐสภา ในคราวประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อวันอังคารที่ ๒ ต.ค.๒๕๕๕ กรณี พล.ร.อ. สุรศักดิ์ ศรีอรุณ สว.สรรหา ขอหารือ กรณีคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้กราบเรียนประธานรัฐสภาแจ้งเหตุไม่สามารถนำร่าง พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. กลับมาพิจารณาได้อีกครั้ง เนื่องจากขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และยังจำกัดสิทธิของผู้ชุมนุม และขอให้รัฐบาลนำร่าง พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. กลับมาพิจารณาอีกครั้ง
๒๐. ต่อมา ก.ตร. ได้ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๖ เมื่อ ๒๗ ก.พ.๒๕๕๖ ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องในวาระที่ ๕ เรื่องที่ ๒ เรื่อง การพิจารณาศึกษากำหนดแนวทางการดำเนินการตามมาตรา ๖(๔) และมาตรา ๑๑(๔) แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ โดยที่ประชุมเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของ อ.ก.ตร. กฎหมายและผลการพิจารณาของคณะทำงานย่อย ที่เห็นควรให้ ตร. พิจารณาศึกษาเพื่อวางระเบียบหรือทำคำสั่งเพื่อใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยกรณีที่มีการชุมนุมในที่สาธารณะ โดยกรรมการ ก.ตร. บางท่านมีข้อสังเกตว่าการวางระเบียบหรือทำคำสั่งในเรื่องดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการก่อให้เกิดอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจขึ้นมาใหม่นอกเหนือจากอำนาจเดิม แต่ต้องเป็นไปในลักษณะนำอำนาจที่มีอยู่เดิมมาบูรณาการ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์
๒๑. ตร. จึงมีคำสั่ง ที่ ๒๙๖/๒๕๕๖ ลง ๘ พ.ค.๒๕๕๖ เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานยกร่างกฎหมาย กฎระเบียบ คำสั่ง หรือประกาศเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย ในการชุมนุมสาธารณะ โดยมีอำนาจหน้าที่พิจารณาดำเนินการ ยกร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่งหรือประกาศแล้วแต่กรณี เพื่อใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมสาธารณะ
๒๒. พล.ต.อ. เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร.(กม) สั่งการ ตร. ลง ๑๕ พ.ค. ๒๕๕๖ ท้ายหนังสือ กม. ที่ ๐๐๑๑.๑๔/๑๙๕๒ ลง ๓๐ เม.ย.๒๕๕๖ ให้ดำเนินการตามเสนอ
ผบช.กมค. โดยเห็นควรมอบหมายให้คณะทำงานยกร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่งหรือประกาศ เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมสาธารณะ ตามคำสั่ง ตร. ที่ ๒๙๖/๒๕๕๖ ลง ๘ พ.ค. ๒๕๕๖ พิจารณาดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และปรับปรุงร่างกฎหมายการชุมนุมสาธารณะให้เหมาะสมก่อนเสนอพิจารณาตามขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป
๒๓. คณะทำงานฯ ตามคำสั่ง ตร. ที่ ๒๙๖/๒๕๕๖ ได้มีการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๒ พ.ค.๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. มีมติเห็นชอบให้มีการกำหนดแนวทางในการชุมนุมและเห็นควรเสนอร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะเพื่อเสนอตามขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ ดำเนินการยกร่าง ดังนี้
๑) ร่างประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องแนวทางปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ
๒) ร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. ๒๔. พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร.(กม) เห็นชอบลง ๓๐ ก.ย. ๒๕๕๖ ท้ายหนังสือ กม. ด่วนที่สุด ที่ ๐๐๑๑.๑๔/๔๗๐๑ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๕๖ ให้ดำเนินการตามเสนอ พล.ต.อ. เจตน์ มงคงหัตถี ที่ปรึกษา (กม ๒) โดยให้นำร่าง พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. และร่างประกาศ ตร. เรื่อง แนวทางการปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ ตร. ตามคำสั่ง
สนร.ที่ ๑๖๗/๒๕๕๔ ลง ๒๑ ก.ย.๒๕๕๔ ต่อไป
๒๕. คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สว(กมธ ๒)๐๐๑๐/๕๑๖๒ ลง ๒๕ ก.ย.๕๖ แจ้ง ตร. เข้าร่วมประชุมแนวทางและกระบวนการควบคุมดูแลการชุมนุมในที่สาธารณะ ในวันที่ ๑ ต.ค.๕๖ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบและสนับสนุนที่จะต้องมีการประกาศใช้กฎหมายการชุมนุมสาธารณะ เพื่อกำหนดบรรทัดฐานในการปฏิบัติหน้าที่ และการชุมนุมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
๒๖. คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ ตร. ตามคำสั่ง สนร.ที่ ๑๖๗/๒๕๕๔ ลง ๒๑ ก.ย. ๒๕๕๔ การประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ วันพุธที่ ๓๐ ต.ค.๕๖ เวลา ๑๓.๓๐
น. ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เสนอ ผบ.ตร. พิจารณาลงนามร่างประกาศฯ และเสนอร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. ไปยัง สลค.ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
๒๗. ผบ.ตร. สั่งการลง ๑๘ ธ.ค.๕๖ ท้ายหนังสือ กม. ที่ ๐๐๑๑.๑๔/๖๑๑๘ ลง ๒๑ พ.ย. ๕๖ ให้ กม. พิจารณาทบทวนร่างประกาศฯ และชะลอการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.
ดังกล่าวไว้ก่อน และ กม. มีหนังสือ ๐๐๑๑.๑๔/๖๐ ลง ๙ ม.ค.๕๗ พิจารณาทบทวนร่างประกาศฯ เรียบร้อยแล้ว นำเรียน ผบ.ตร. เพื่อโปรดพิจารณาอีกครั้ง
๒๘. คสช. ประกาศ ยึดอำนาจการปกครองในวันที่ ๒๒ พ.ค. ๕๗ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมใน บก.ทบ. มีหนังสือ ที่ คสช.(กย.)/๒๒๑ ลง ๓ ก.ค.๕๗ แจ้ง ตร.
เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย โดยที่ประชุมมีมติ เห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ โดยมีข้อสังเกตให้ ตร. พิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าวให้เหมาะสม เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
๒๙. รรท. ผบ. ตร. ประธานการประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ พ.ค.๕๗ เวลา ๑๗.๐๐ น. มอบหมายให้นายปกรณ์ นิลประพันธ์ ผู้แทนคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาปรับปรุงแก้ไข ร่าง พ.ร.บ. เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
๓๐. ผู้นำเครือข่าย “ประชาธิปไตยไม่ละเมิด” โดยมีนายชาย ศรีวิกรม์ และผู้แทนฯ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจย่านราชประสงค์ ปทุมวัน ประตูน้ำ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ยื่นหนังสือนำเรียน หน.คสช. ลง ๔ ก.ค.๕๗ ขอให้ตรากฎหมาย พ.ร.บ. การชุมนุมในที่สาธารณะ เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนในเรื่องการชุมนุมที่กระทบสิทธิเสรีภาพบุคคลอื่น
๓๑. ตร. มีคำสั่ง ที่ ๓๗๐/๒๕๕๗ ลง ๒๓ ก.ค. ๕๗ แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่งหรือประกาศ เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมสาธารณะ โดยมี พล.ต.ท.อำนาจ อันอาตม์งาม ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นประธาน ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะทำงาน และได้ดำเนินการประชุมพิจารณาจำนวน ๕ ครั้ง เมื่อวันที่ ๒๘ ก.ค. ๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. และ ๑๖.๐๐ น. วันที่ ๑ ส.ค.๕๗ ณ ห้องประชุม ๓ ชั้น ๒ อาคาร ๑ ตร. เวลา ๑๐.๐๐ น. วันที่ ๑๔ ส.ค.๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๒ ชั้น ๒ อาคาร ๑ ตร. วันที่ ๑๕ ส.ค.๕๗ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๓ ชั้น ๒ อาคาร ๑ ตร. และวันที่ ๑๘ ส.ค.๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๓ ชั้น ๒ อาคาร ๑ ตร.
๓๒. สัมมนาเชิงวิชาการ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ สมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ ๒๐๐ คน เมื่อวันที่ ๑๗ ก.ย. ๕๗ ณ ห้องประชุมศรียานนท์ ชั้น ๒ อาคาร ๑ ตร. ที่มาของ ร่าง พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. เนื่องจากร่างกฎหมายฉบับนี้ ได้เคยผ่านความเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว และอยู่ในชั้นการพิจารณาของวุฒิสภาซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ ก็มีการยุบสภาฯ เสียก่อน และรัฐบาลชุดใหม่ไม่ได้ยืนยันในร่างกฎหมายดังกล่าว ทำให้ร่างกฎหมายต้องตกไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การชุมนุมในปัจจุบันและเพื่อให้มีประสิทธิภาพ สามารถบังคับใช้ได้
ประกอบกับให้ศึกษาคำพิพากษาศาลปกครองหรือศาลแพ่งในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมสาธารณะที่ผ่าน รวมถึงหลักสากลและรัฐธรรมนูญ ประกอบกัน โดยก่อนที่จะนำเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวต่อ ครม. ควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของการเสนอร่างกฎหมายตั้งแต่เริ่มแรกให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน โดยให้เริ่มกระบวนการในการทำประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นของประชาชน แล้วเสนอไปยังรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ที่มาของร่างประกาศ ตร. เรื่องแนวทางปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ โดยคณะทำงานฯ ตามคำสั่ง ตร. ที่ ๒๙๖/๒๕๕๖ ได้มีการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๒๒ พ.ค.๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. มีมติให้ฝ่ายเลขาฯ ยกร่างประกาศแนวทางการปฏิบัติ ที่เกี่ยวกับการชุมนุมในที่สาธารณะ โดยนำข้อสังเกตคำพิพากษาศาลปกครองกรณี ศาลปกครองสงขลา กรณีท่อแก๊สไทยมาเลเซีย กรณีการสลายการชุมนุมหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ และกรณีอื่นๆ
รวมถึงกรณีที่พันธมิตรได้เรียกร้องค่าเสียหายจาก ตร. มาพิจารณา ประกอบกับแผนกรกฎ ๕๒ ที่กำลังมีการแก้ไข โดยอาจนำภาคผนวก ฉ. ของแผนดังกล่าว รวมถึงหลักสากลเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการตามกฎหมายปกครองที่เกี่ยวข้องหลักประสิทธิภาพ หลักความจำเป็น และหลักสัดส่วนมาใช้เป็นแนวทางพิจารณา สำหรับประกาศดังกล่าวจะต้องไม่มีส่วนรายละเอียดของแผนยุทธการที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องทราบแต่จะประกาศเฉพาะเรื่องที่จำเป็นเกี่ยวกับขั้นตอนการใช้กำลังในการควบคุมการชุมนุมสาธารณะ ตลอดจนหลักการป้องกันตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์รวมถึงนำข้อสังเกตของคณะทำงานไปประกอบการพิจารณายกร่างด้วย ทั้งนี้ เมื่อฝ่ายเลขาฯ ได้ยกร่างประกาศแล้ว ให้นำไปหารือกับประธานคณะทำงานเพื่อให้ข้อแนะนำและเห็นชอบก่อนจะนำเสนอในการประชุม ครั้งต่อไป สาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ. ….
๑. เมื่อ ๓๐ ต.ค.๔๙ ตร. ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. การชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ. …. ไปยัง สลค. เพื่อเสนอ ครม. พิจารณา สาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
๑.๑ กำหนดการชุมนุมที่ผู้จัดให้มีการชุมนุมต้องยื่นคำขออนุญาตชุมนุมสาธารณะ
๑.๒ กำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตชุมนุมในที่สาธารณะทั้งในเขต กทม. และจังหวัดอื่น เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคำขออนุญาตชุมนุมในที่สาธารณะ
๑.๓ กำหนดมาตรการการสั่งยุติการชุมนุม ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาตหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรืออาจ ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
๑.๔ กำหนดมาตรการสลายการชุมนุมซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งยัติการชุมนุม
๑.๕ กำหนดมาตรการคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ทำการผู้สลายการชุมนุม โดยไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง อาญา หากเป็นการกระทำที่สุจริตไม่เกินความจำเป็น
๑.๖ กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้จัดให้มีการชุมนุมในที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต
๒. นรม. มีคำสั่งให้ชะลอร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะ พ.ศ. …. ไว้ก่อนและส่งคืนร่าง พ.ร.บ. พร้อมข้อคิดเห็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยสรุป
ดังนี้
๒.๑ การยกเว้นให้การชุมนุมที่จัดขึ้นโดยทางราชการไม่อยู่ในบังคับของร่าง พ.ร.บ. อาจไม่เหมาะสม เพราะในบางกรณีอาจส่งผลกระทบต่อประชาชน
๒.๒ กรณีให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตชุมนุมใน ที่สาธารณะ เป็นที่สุด ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ยื่นคำขอจัดการชุมนุมใช้สิทธิโต้แย้งน่าจะไม่เหมาะสม
๒.๓ องค์ประกอบคณะกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตชุมนุมในที่สาธารณะควรประกอบด้วยหลายสาขาอาชีพ เพื่อให้การพิจารณาเกิดความรอบคอบและควรกำหนดเงื่อนไขและระยะเวลาการพิจารณาคำขออนุญาตให้ชัดเจน
๒.๔ ควรกำหนดลักษณะ “การชุมนุม” ซึ่งอยู่ในบังคับของร่าง พ.ร.บ. ให้มีความชัดเจน
๒.๕ ไม่ควรกำหนดมาตรการยุติการชุมนุมและสลายการชุมนุม เพราะสามารถดำเนินการกับการชุมนุมซึ่งฝ่าฝืนกฎหมาย โดยมาตรการทางอาญาได้อยู่แล้ว เช่น ตาม ป.อาญา มาตรา ๒๑๕ และ มาตรา ๒๑๖
๒.๖ ไม่ควรบัญญัติการยกเว้นความรับผิดทางแพ่ง และ อาญา ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามร่าง พ.ร.บ. นี้ เพราะอาจเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามอำเภอใจ