Matt Pollard, ICJ กล่าวถึงบทบาทของตุลาการในกรณีพิจารณาคดีการบังคับให้บุคคลสูญหาย เพราะคำสั่งศาลมีสิ่งที่เรียกว่า ความมีประสิทธิภาพของคำสั่งศาล มีอำนาจในการสั่งองค์กรอื่นๆในการนำคำสั่งไปปฏิบัติ ในกลไกระหว่างประเทศเรา มีปฏิญญาว่าด้วยเรื่องป้องกันคนหาย ได้ยอมรับแบบเอกฉันท์จากประเทศสมาชิกของยูเอ็น และได้มีการระบุไว้ว่าตุลาการมีบทบาทในการทำงานเพื่อยุติสิ่งนี้ ดังนั้นศาลจึงมีหน้าที่ในการชดเชยเยียวยาด้วยความยุติธรรม ที่จะไต่สวนให้ได้ความว่ามีการควบคุมตัวแล้วนำตัวไปไหนอย่างไร แม้ว่าหลายประเทศจะไม่ได้ลงนามเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคน รวมทั้งระบุว่าการพิจารณาคดีต้องเกิดขึ้นในศาลปกติที่ได้มาตฐาน ดังนั้นจึงไม่ควรมีการพิจารณาคดีคนหายในศาลพิเศษใดใด เพราะมันจะทำให้มองได้ว่าศาลปกติไม่เป็นอิสระในการพิจารณาแล้วศาลพิเศษก็อาจเป็นลักษณะเดียวกันได้ การพิจารณาคดีคนหายเกิดขึ้นในศาลที่มีประสิทธิภาพ competent
ตุลาการทำอะไรได้บ้างในการพิจารณาคดีด้านสิทธิมนุษยชน
- หากฎหมายที่ใช้ได้ในการตีความนำมาใช้ในการพิจารณาเรื่องการหายตัวไป
- สั่งหรือมีคำสั่งให้ จนท. ที่เกี่ยวข้องทุกกรณีเก็บหลักฐานการจับกุมและควบคุมตัวอย่างเข้มงวด
- ให้ผู้ถูกควบคุมตัวถูกนำตัวบุคคลที่ถูกจับมาศาลให้เร็วที่สุด
- ให้ศาลยืนยันกับ จนท. ที่เกี่ยวข้องในการให้สิทธิผู้ที่ถูกจับผู้ถูกควบคุมตัวสิทธิในการพบทนายความที่เลือกในทันที
- ให้มีการรับคำร้องกรณีไต่สวนการควบคุมตัวไม่ชอบ (มาตรา 90 ในกฎหมายไทย) อย่างสม่ำเสมอ
- การรับฟังพยานหลักฐานในคดีบังคับให้สูญหาย มักจะไม่มีพยานหลักฐาน ศาลมักจะรับรองคำให้การของ จนท. อย่างง่าย ไม่มีการซักค้านพยานเหล่านี้ เช่น เมื่อเห็นว่าคนนั้นอยู่กับ จนท. ในวาระสุดท้้าย ศาลต้องเข้าใจว่า จนท. เท่านั้นที่จะรู้หรือมีหลักฐานยืนยันว่ายังอยู่ในการควบคุม ญาติไม่มีหลักฐานชิ้นนั้นแน่นอน ดังนั้นภาระการพิสูจน์ จึงต้องอยู่ที่ จนท. ที่มีอำนาจในการควบคุมตัว แทนที่จะเป็นภาระของญาติ
- กรณีไม่มีหลักฐาน ไม่พบ “ศพ” ไม่สามารถตั้งข้อหาได้เป็นปัญหาใหญ่ คดีจะมาที่ศาลได้อย่างไรหากไม่มีการตั้งข้อหาอาญา
- ตุลาการต้องทำหน้าที่ในการแสวงหาพยานหลักฐาน เพราะในฝั่ง จนท. มักจะไม่ต้องการนำเสนอพยานหลักฐานทั้งหมด หรืออาจมีส่วนร่วมในการปกปิดหลักฐานเสียเอง หรืออัยการหรือตำรวจอาจไม่สามารถหาพยานหลักฐานได้เลยจากหน่วยงานอื่นๆ เช่นในหน่วยงานทหารฯ การรับฟังพยานหลักฐานเพ่ิมเติม เช่น รับฟังจากผู้ถูกควบคุมตัวด้วยกัน รับฟังพยานหลักฐานจากญาติ จัดให้มีหน่วยงานสืบสวนสอบสวนทำงานเพิ่มเติม หรือไปเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวแห่งนั้นด้วยตนเองหรือที่เรียกว่า เผชิญสืบ เป็นต้น
- ถ้ามีเรื่องเข้ามาที่ศาลแล้วมีข้อมูลเชื่อว่ามีการกระทำความผิดอาญาการบังคับให้สูญหายจริง การสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมได้นับเป็นการเยียวยาด้านความยุติธรรม
- การพิจารณาคดีต้องเป็นธรรมแม้ผู้ต้องหาเป็นจนท. ถูกกล่าวหาว่าบังคับให้บุคคลสูญหาย
- การนับอายุความ เริ่มนับเมื่อทราบชะตากรรมของบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย
- สั่งให้มีการคุ้มครองพยาน คุ้มครองญาติ
- ทำให้แน่ใจว่าการตัดสินลงโทษให้เหมาะสม เพราะการบังคับให้สูญหายเป็นอาชญกรรมที่ร้ายแรงการลงโทษก็ต้องร้ายแรงตามสัดส่วนที่เหมาะสม