[:th]CrCF Logo[:]

การบังคับให้บุคคลสูญหายคืออะไร ในกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ โดย วิทิต มันตาภรณ์

Share

สรุปย่อการบังคับให้บุคคลสูญหายคืออะไร ในกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ ศ. วิทิต มันตราภรณ์ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ กรอบความคิดเรื่องการบังคับให้สูญหาย การบังคับให้สูญหายไม่ใช่การลักพาตัว หรือการกักขังหน่วงเนี่ยว โดยเจ้าหน้าที่ ปฏิเสธว่าไม่ควบคุมตัว ไม่บอกว่าควบคุมตัวที่ไหน ผู้บังคับบัญชาควรรู้ หรือน่าจะรู้ว่ามีการบังคับให้สูญหายต้องรับผิดด้วย ในกฎหมายภายในประเทศยังไม่มีองค์ประกอบที่ครบถ้วน ทั้งประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาคนหายหรือไม่

การเข้าเป็นภาคีใน Declaration เรื่อการบังคับให้คนหายต้องทำอะไบ้าง ต้องทำให้เป็นคดีอาญา การสั่งการของผู้บังคับบัญชา การบังคับให้คนหายไม่สามารถทำได้แม้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องมีการเยียวยา เข้าสู่กระบวนการไต่สวนของศาลโดยเร็ว ต้องมีการจดบันทึกการควบคุมตัวให้ทั่วถึงและทุกแห่ง

เราควรจะยื่นคำร้องที่ศาลทหาร หรือศาลพลเรือน ไม่ใช่ศาลทหารฯ บางประเทศยังใช้ศาลทหาร ไม่มีความเป็นกลางไม่โปร่งใส่

คดีเหล่านี้ไม่มีอายุความ ไม่เริ่มนับเลยถ้ายังไม่สามารถทราบชะตากรรมของบุคคลที่สูญหาย

ในคดีเยอรมันก็ยังไม่เริ่มถ้าคดีนั้นเป็นคดีการบังคับคนสูญหาย ถ้ามีคนหายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง การนำตัวเด็กไปแล้วทำให้พ่อแม่เขาหาย เขาก็ยังต้องนำเรื่องมาพิจารณาและค้นหาว่าพ่อแม่เขาถูกนำตัวหรือทำให้หายไปได้อย่างไร ไม่มีอายุความ ความผิดยังคงดำรงอยู่

ความหมายของการบังคับให้สูญหาย ที่สำคัญการถูกสั่งให้ บังคับให้บุคคลสูญหาย ไม่สามารถเป็นข้ออ้างในการยกเว้นโทษ และผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดด้วยถ้ารู้หรือควรรู้

การสืบสวนสอบสวนและการเปิดเผยความจริง

การบังคับให้สูญหายไม่ใช่ คดีการเมือง เท่ากับว่า สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้

การห้ามไม่ให้มีสถานที่ควบคุมตัวลับ หรือการควบคุมตัวในสถานที่ที่ไม่ระบุว่าที่ไหน

การเข้าถึงข้อมูลของคนหาย rights to truth

การปล่อยตัวต้องเกิดขึ้น แต่ไม่ใช่ง่ายส่วนใหญ่เสียชีวิตแล้ว
การชดเชยเยียวยา ต้องทำโดยรวดเร็ว สืบสวนสอบสวนอิสระโดยพลัน การชดเชยตัวเงิน และชดใช้ด้วยความยุติธรรมและรับรองว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก

เรามีกลไกยูเอ็นอยู่หลายส่วน มีคณะทำงานว่าด้วยบุคคลสูญหาย สามารถร้องเรียนได้โดยตรงได้ ส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นคือการส่งเอกสารไปประเทศนั้น กดดันให้คลี่คลายคดีคนหาย

มีประเด็นเรื่องในประเทศเกาหลีเหนือมีเคสเด็กหญิงถูกลักพาตัวไปจากเกาหลีใต้ ยังไม่เจอ ในประเทศไทยคดี สมชาย นีละไพจิตร มีการพิจารณาคดีในชั้นศาลแต่สุดท้ายไม่มีใครต้องรับผิด