ศาสตรจารย์วิทิต มันตราภรณ์ นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
สิทธิในชีวิต การฆ่านอกระบบกฎหมาย บทบาทของตุลาการ
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2557
วันนี้เราไม่มีผู้พิพากษาศาลทหาร ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญในการประชุมของเรา ทำให้เราเห็นว่ามีความจำเป็นต้องรวมทุกฝ่ายเข้าด้วยเพื่อการนำไปสู่การคุ้มครองปกป้องสิทธิฯ
เวลาเราพูดถึงสิทธิในชีวิต การเสียชีวิตที่เกิดขึ้นนอกกรอบกฎหมาย แม้ในกรอบกฎหมายในนามของการประหารชีิวิต ก็ยังมีคำถามว่าเป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตหรือไม่ เท่ากับว่าเรากำลังพูดถึง คำว่า blacklists, การตายในสถานที่ควบคุมตัวที่ต้องสงสัย การฆ่าในระหว่างความขัดแย้งทางการเมือง
สิทธิในชีวิต ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และไม่มีใครควรถูกพลากชีวิตไปโดยพลการ
ตอนนี้เราพูดถึงการประหารชีวิต ได้รับคำสั่งจากศาลว่าตัดสินโทษประหารชีวิต
ในไทยมีการประหารชีวิตตามกฎหมายตามคำสั่งศาล แต่ไทยเองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าการประหารชีวิตควรเป็นคดีที่เป็นอาชญกรรมที่ร้ายแรงที่ไม่ควรรวมการค้ายาหรือคดียาเสพติด ประเทศไทยก็ยังไม่มีการยุติโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติด แม้ว่าจะยอมรับว่าคดียาเสพติดไม่ใช้คดีร้ายแรงที่สมสัดส่วนในการลงโทษโดยการประหารชีวิต
ในกติการะหว่างประเทศมีหลักการมากมายที่รับร้องสิทธิพื้นฐานนี้ ว่าไม่ควรมีใครถูกฆ่าตายหรือพลากชีวิตไปโดยพลการ
เช่น Code of conduct ระบุว่าจนท.ใช้กำลังได้ แต่ต้องใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และใช้อย่างสมสัดส่วนและไม่เกินกว่าเหตุ แล้วก็ต้องใช้แนวทางที่ไม่ใช้อาวุธก่อนการใช้อาวุธ การยิงหรือการใช้อาวุธต้องดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอน มีการเตือนก่อนว่าจะใช้ความรุนแรง กฎการใช้กำลังต้องสั่งอย่างเป็นทางการ มีระบบการสั่งการเป็นโครงสร้างที่ชัดเจนหรือไม่ หรือให้ใช้อาวุธบางประเภทก่อน แล้วค่อยใช้อาวุธปืนหรืออาวุธรุนแรงอืื่นๆ
การรับคำสั่งการอย่างชัดเจน clear chain of command, มีการแทรกแซงของตุลาการได้หากต้องมีการหยุดหรือห้ามไม่ให้ใช้กำลังไว้ก่อนในบางกรณี เราไม่สามารถส่งให้คนกลับประเทศไปเผชิญกับภัยประหัตประหาร เราต้องมีระบบการไต่สวนการตายหรือการทำการผ่าศพที่เป็นอิสระ และเราต้องการให้มีการชดเชยเยียวยาที่เหมาะสมในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิในชีวิต
ถ้าไม่มีการเยียวยาชดเชยในประเทศก็ร้องเรียนผู้แทนพิเศษฯของยูเอ็นได้เพื่อเรียกร้องให้ยูเอ็นเรียกร้องรัฐนั้นๆ ให้ปฏิบัติตามในเรื่องการชดเชยเยียวยาการละเมิดสิทธิในชีวิต
การเรียกร้องสิทธิในการเยียวยาเกิดขึ้นได้ในประเทศโดยการนำคดีเข้าสุ่การพิจารณาในศาลได้หลายประเทศศาลพลเรือน ศาลทหาร ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ใครควรขึ้นศาลไหน คดีไหนควรขึ้นศาลไหน ทหารก็ควรขึ้นศาลพลเรือนหาเป็นการกระทำการละเมิดสิทธิในชีวิต เพราะศาลคืออำนาจและอาจเกิดความไม่เป็นธรรม ต้องมีการตรวจสอบกันได้
การสอบสวนคดีการเสียชีวิตในการควบคุมตัวเราต้องเริ่มที่การเปลี่ยนภาระการพิสูจน์ให้เป็นของรัฐ ว่าไม่ได้มีการฆ่าหรือทำให้ตาย มีหลักฐานพยานอะไรที่พิสูจน์ว่า รัฐไม่ได้ทำ
แต่ตอนนี้เรายังใช้วิธีการพิสูจน์ความผิดประเภทนี้แบบอาญาปกติ ให้ญาติพิสูจน์ว่ามีการทำให้ตายในการควบคุมตัว ซึ่งยากมากในบริบทของเรา
มีความท้าทายใหม่ๆ อีกมากมาย ด้วยเช่น การใช้ drones ทำให้เกิดการตาย ที่ไม่จำเป็นหรือไม่ (unnecessary suffering) เป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตหรือเปล่า หรือการมีหุ่นยนต์ที่ฆ่าคนได้ไม่ใช่มีแค่ในหนังแล้ว
minisota principle: protocal เรื่อง Burden of proves
ถ้ามีการคำสารภาพของทหารหรือ จนท. เราก็สามารถปรับแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนภาระการพิสูจน์
ก้าวต่อไป
1. ป้องกันเหตุ
2. ปกป้อง
3. ความรับผิดทางคดี
4. remediation ไม่ใช่แค่เงินค่าชดเชยแต่หมายถึงสิทธิในการรับรู้ความจริง การได้รับคำขอโทษ หรือการยืนยันว่าจะไม่เกิดขึ้นอีก