[:th]CrCF Logo[:]
Markus Loening

ความทรงจำของประวัติศาสตร์ความรุนแรง: ประสบการณ์ของเยอรมนี โดย Markus Loening

Share

Speech of Mr. Markus Loening, Former German Federal Government Commissioner for HR Policy and Humanitarian Aid 6 Nov 2014

วิทยากรจากเยอรมันพูดถึงการทำงานเพื่อแก้ไขความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันแบ่งออกเป็นสองประเทศ มีรัฐบาลเผด็จการมีการจับกุมฝ่ายตรงข้าม มีการสร้างกำแพงเบอร์ลินโดยเยอรมันตะวันออก เรามีคนที่ถูกทรมาน ถูกสอดแนม แล้วก็ถูกฆ่าตาย 2005 มีเคสที่ชาวอัฟริกา ตายในระหว่างการควบคุมตัว แล้วก็มีการขาดอากาศหายใจ ตำรวจที่ดูแลอยู่ไม่ได้ทำอะไรเพื่อจะช่วยเหลือประมาณแค่ 1 นาที แล้วก็มีการสืบสวนสอบสวน

การดำเนินคดีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการดำเนินคดีนูรูมเบริก์ เป็นจุดเริ่มต้นของการนำอาชญกรสงครามมาลงโทษ แต่สังคมเยอรมันไม่ได้ยอมรับว่าเป็นศาลที่ยุติธรรม คนที่ชนะสงครามมาตัดสินคดีคนที่แพ้สงครามและมีการลงโทษ

คดีในศาลเยอรมันเกิดขึ้นใน 1960 มีเวลา10-15 ปีที่ไม่มีการพูดคุยกันเลย รู้ว่าใครเป็นใคร
ผมเกิดในปี 1960 ไม่มีใครพูดเรื่องนี้ มีคดี Auswich เป็นครั้งแรกที่มีการสอบสวนคดีเกี่ยวกับการฆ่าสังหารชาวยิวในค่ายกักกัน

การเริ่มต้นเริ่มมาจากมีอัยการคนหนึ่งผลักดันให้เกิดการพิจารณาคดี จนมันสำเร็จ มีคนในกระบวนการยุติธรรมไม่ค่อยเป็นด้วย มีข้ออ้างมากมายว่าไม่ต้องทำคดี ไม่ต้องนำมาพิจารณาคดีกันหรอ แล้วก็มีพยานเป็น 100 คน มีสปาย องค์กร SS ยังมีหลายคนที่ยังปลอมตัวไม่ระบุว่าตนเป็นใครอีกมากมายในสังคมเยอรมัน แต่ศาล Auswich ก็เกิดขึ้นและมีความหมายต่อครอบครัว แล้วก็เร่ิมถามพ่อแม่ ปู่ย่าของตนเองว่า พวกท่านทำอะไรในตอนนั้นเป็นทหารหรือเปล่า ทำอะไรไปบ้าง เป็นปรากฎการณ์ใหม่ นักศึกษาก็ถามอาจารย์ ว่าสอนหนังสือเมื่อไร สอนตอนเกิดสงครามหรือมีรัฐบาลเผด็จการหรือเปล่า ถ้าทำทำไมยังมาสอนอีก

ในเยอรมันตะวันออก ก็มีการทำคดีกับพวกคอมมิวนิสต์ เราไม่มีคนมีความรู้เหลืออยุ่มากนักในเยอรมันตะวันออก ฯ ก็มีความพยายามในการนำผู้นำคอมมิวนิสต์ขึ้นศาลพิจารณาคดีได้ประมาณ 15 คน ตอนนี้พวกเขาแก่มากแล้ว เป็นกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ต่อมา 6 คนถูกปล่อยตัว เพราะแก่ชรามากและเจ็บป่วย มี 6 คนถูกตัดสิ้น 2.5 ปี ถึง 12 ปีซึ่งดูเหมือนจะเป็นลงโทษที่เบา แต่เรามีเหตุผล

มีคดีท้้งสิ้น 131 คดี มีการลงโทษตามคำสั่งศาล 50 % เช่น คดีที่ยิงคนที่หนี ทหารจะได้รับโทษ 12 ปี แต่ต่อมาก็ได้พักโทษเมื่อไม่นาน มีผู้บังคับบัญชาได้รับการลงโทษด้วยเพราะออกคำสั่งให้ยิง 4-7 ปี เป็นต้น

เราได้เรียนรู้อะไร

เราเห็นว่าเมื่อเราต้องการให้ประเทศเราเป็นประเทศที่มีหลักนิติธรรม เราต้องนำคนผิดขึ้นศาล และต้องทำให้เกิดการสื่อสาร รายงานข่าว ว่าเกิดอะไรขึ้นอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ การพิจารณาคดีก็เป็นการพิจารณาคดีสาธารณะ เรามีพยานให้การในศาล มีพยานที่พูดไม่เหมือนกันในคดีเดียวกัน เราจึงต้องนำคดีเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาล

คดีเหล่านี้ทำให้เรายืนยันว่าเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับหน้าที่ในการปฏิบัิตงานหากเกิดความผิดพลาดการละเมิดสิทธิหรือกฎหมายเขาต้องรู้ว่าเขามีโอกาสได้รับการลงโทษตามคำพิพากษาของศาล เราต้องยืนยันในเรื่องนี้ สำคัญที่ว่า เราต้องไม่ยอมให้ใครหนีความผิดในข้อหาฆาตกรรมไปได้ในสังคมเรา

พยานแก่ จำเลยแก่ ความทรงจำหายไปหมด เวลาช้านาน เราอาจไม่มีหลักฐานที่ชัดแจ้งพอที่จะลงโทษอย่างหนัก ดังนั้นแม้ว่าจะรู้ว่าเขากระทำผิด แต่ถ้าเราไม่สามารถนำเขาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ แม้ว่าต่อมาเขาจะได้รับการพักโทษหรือยกเว้นโทษก็ตาม การเห็นว่า “ผู้นำ” ประเทศเข้าสู่ห้องการพิจารณคดีในกรณีอาชญกรรมหรือคดีละเมิดสิทธิมนุษยชน ถูกใส่กุญแจมือ ให้การในศาล การที่เขาต้องเดินไปในศาลสถิตยุตธรรม ภาพเหล่านี้ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะนั้น ยืนยันว่าทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน

เราผ่านเรื่องราวเหล่านี้มาได้อย่างไร

ต้องใช้เวลากว่า 20 ปีที่เร่ิมจะมี public debate ใช้เวลานานกว่าที่บางคนที่อาจมีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์นั้น ยอมรับว่าตนมีส่วนร่วม มีส่วนในการกระทำความผิด และที่สำคัญคือเสียงของเยาวชน ที่เฝ้าถามว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงเกิดเรื่องราวรุนแรงขึ้นในประวัติศาสตร์เยอรมัน เรามีองค์กรที่จัดการเรื่องการเก็บรักษาบันทึกต่างๆ ไว้อย่างดี มีมากมายไฟล์ลับต่างๆ แต่การจะนำเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาเปิดเผย หนึ่งญาติและผู้เกี่ยวข้องไปขอรับรู้ได้ แต่ที่สำคัญโครงการต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความเข้าใจประวัติศาสตร์นี้ของเยอรมันใช้เวลานาน 2 ปี 5 ปี เพื่อนำความทรงจำที่มีความขัดแย้งกันมาเผยแพร่และให้เป็นที่ยอมรับต่อสาธารณะ เราต้องทำไปพร้อมๆ กันคือรอเวลาให้ความจริงเปิดเผยและพร้อมกันนั้นคือการทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผยต่อสาธารณะให้ได้ เราจึงก้าวผ่านประวัติศาสตร์นั้นมาได้ร่วมกัน

บทบาทของผู้พิพากษาและอัยการสำคัญมากพวกเขาทำงานหนักมาก ผลิตเอกสารต่างๆในกระบวนการยุติธรรมออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะและกลายมาเป็นวัตถุพยานหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และก็มีการนำข้อเท็จจริงเหล่านั้นมาเปิดเผยในหนังสือบทเรียนของนักเรียน หรือในนิทรรศการต่างๆ ในปัจจุบันเพื่อเป็นการเรียนรุ้ร่วมกัน

รัฐบาลเยอรมันได้มีการจัดตัั้งหน่วยงานเก็บข้อมูล เก็บเอกสาร จัดทำข้อมูล documentation ในทุกๆ กรณีการยิงคนตายระหว่างประวัติศาสตร์นั้น แล้วต่อมาก็กลายเป็นเอกสารสำคัญในการพิจารณาคดี เราเป็นคนเยอรมันเราจดบันทึกทุกอย่างรวมทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆ เราบันทึกหมดทุกอย่างแม้แต่ว่าชื่อของคนขึ้นรถไฟไปค่ายกักกัน เราก็มีบันทึกทั้งหมด เราจึงมีเอกสารมากมายในการนำมาเป็นพยานหลักฐานในศาล

RELATED ARTICLES