วัตถุประสงค์ของการจัดการสานเสวนา
1. เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้เรื่องกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. แลกเปลี่ยนจากประสบการณ์ตรงของผู้พิพากษาในภูมิภาคฯ
3. ให้ผู้เข้าร่วมแสวงหาแนวทางในการรับประกันสิทธิและในการตัดสินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนดวยความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ
Saman Zia-Zarifi, Regional Director of ICJ, International Commission of Justice: Judicial Dialogue on Deciding HR violation cases in ASEAN: Sam Zia-Zarifi, ICJ ‘s speech
Asean มีความก้าวหน้าหลายประการในหลายด้านทางเศรษฐกิจและทางการเมืองด้วย ในแต่ละประเทศเร่ิ่มเข้ามามีบทบาทในการสร้างสรรค์ด้านการทำงานทางการเมืองพร้อมทั้งการทำงานประสานกันทั้งกับคนในประเทศตนเองและกับองค์กรระหว่างประเทศ และระหว่างรัฐต่อรัฐด้วยกันเอง
รวมทั้งมีความพยายามในการนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนสากลมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้วย เราในนาม ICJ คิดว่าบทบาทของผู้พิพากษาสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมหลักนิติรัฐนิติธรรม เรายืนยันว่าการทำงานเรื่องนิติรัฐและกฎหมายที่เป็นธรรมเป็นการสร้างให้เกิดความปลอดภัยสำหรับทุกคนในสังคม และเป็นการยืนกรานที่ชัดเจนว่าสังคมเราปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ทุกคน
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายรูปแบบ การบังคับให้สูญหาย การฆ่านอกระบบกฎหมายก็เป็นปัญหาหนัก
เราแปลกใจเป็นอย่างมากว่าไม่มีตัวอย่างที่ดีเท่าไรนักในภุมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเรื่องการตัดสินคดีเหล่านี้ในศาล เราหวังว่าเราจะได้คุยกันแลกเปลี่ยนกันและเกิดการพัฒนาแนวทางที่ดีขึ้น
ขอโทษหาก 23 nov 2009 มีการฆ่าสังหาร 58 คนที่ถูกลักพาตัวไปแล้วฆ่าสังหาร ฝังไว้ในพื้นทีที่เรียกว่า Kadapawan มีการนำตัวนักข่าว 32 คนอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย นำตัวเขาออกไปพร้อมกับแล้วก็สังหารอย่างโหดเหี้ยม เป็นการฆ่าสังหารสื่อมวลชนที่ใหญ่ที่สุด
มีการสืบสวนสอบสวนคดีดังกล่าว ผมได้ลงไปสอบสวนคดีดังกล่าวในฐานะนักสิทธิมนุษยชน ผมย้อนกลับไปดูสมุดโน๊ตของผม ตอนนั้นบันทึกไว้ว่าน่าจะใช้เวลาการนำคนผิดมาลงโทษในเวลา 5 ปี
วันนี้ครบรอบ 5 ปีของเหตุการณ์การละเมิดสิทธิที่ร้ายแรงครั้งนั้นแล้ว เราน่าจะมาดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในบริบทของบทบาทตุลาการ
มันเป็นการย้ำว่ามีคดีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นกรณีการสังหาร munir ที่เกิดขึ้นในเครื่องบินเพราะการใส่ยาพิษในอาหารในกรณีประเทศอินโดนีเซีย กรณีการหายตัวไปของทนายความสมชาย นีละไพจิตร ทนายความที่ทำคดีช่วยเหลือผู้ต้องหาคดีการก่อความไม่สงบ คดีไม่คืบหน้า การหายตัวไปของนักกิจกรรมชาวกระเหรี่ยงชื่อบิลลี่ การหายตัวไปของนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม กรณีนายสมบัต สมพอน
ตัวอย่างคดีเหล่านี้เป็นคดีการเมือง และเป็นคดีที่ถูกทำให้เป็นการเมืองจนเกินไป และเราเองก็ยังมีคดีของประชาชนทั่วไปที่ไม่มีเสียงเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับพวกเขา เช่น อาชญกรธรรมดา แรงงานข้ามชาติ ผู้เสพยา หรือค้ายา เป็นต้น เรามักไม่ได้ยินเรื่องราวของเขาในบริบทของประเทศ ระหว่างประเทศและในระบบของยูเอ็น
ICJ เห็นว่าบทบาทของตุลาการมีความสำคัญในการทำให้พวกเขาผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ส่งเสียงเรียกร้องความเป็นธรรมได้มากในระบบกฎหมายของแต่ละประเทศ
อาเซียนมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีการใช้ภาษาที่แตกต่างกัน มีความท้าทายที่แตกต่างกันแต่ก็ความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันในการสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ มี ASEAN human rights declaration แม้ว่าจะไม่มีฐานะเป็นกฎหมายบังคับใช้แต่ก็มีแนวโน้มว่าเราจะต้องก้าวต่อไปเพื่อให้ได้มาตรฐานสากลด้้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในเวลาต่อไป หลายประเทศก็ได้ลงนามในกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนในหลายๆ ฉบับ เราเองก็ต้องเข้าใจว่าเราไม่ได้ทำไปเพื่อให้มีมาตรฐานต่ำลงแต่เรายืนยันว่าเราจะก้าวไปในบริบทของมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน ลองคิดว่าถ้าเรา ASEAN บอกว่าเราอยากได้โทรศัพท์รุ่น 5 ปีที่แล้ว หรือเราอยากได้ระบบธนาคารด้วยเทคโนลียี 5 ปีที่แล้ว คงไม่มีใครอยากได้ เหมือนกันกับงานด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชนเราต้องกล่าวไปข้างหน้า
“ผู้พิพากษาเป็นบุคคลสำคัญกระบวนการยุติธรรมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชน”
Matt Pollord, ICJ เพ่ิมเติมโดยให้มุมมองในประวัติศาสตร์โลกว่าความพยายามในการจัดการเรื่องอาชญกรรมสงครามในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองในกรณีการนำอาชญกรสงครามเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมดูเหมือนจะเป็นการแสดงถึงบทบาทของตุลาการในการตัดสินคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุคแรกของประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของโลก
ต่อมาก็พัฒนาเป็นกลไกกฎหมายระหว่างประเทศ ศาลระหว่างประเทศ การไต่สวนคดีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบังคับให้สูญหาย การทรมาน การฆ่าสังหาร อาชญกรรมสงครมมในระบบยูเอ็นและในระดับภูมิภาคต่างๆ ยุโรง อเมริกา อัฟริกา รวมทั้งอาหรับซึ่งกำลังจะมีการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชน
ในเรื่องการบังคับให้บุคคลสูญหาย ก็พัฒนาขึ้นเด่นชัดในภูมิภาคอเมริกา (ลาตินอเมริกา) รวมทั้งในอัฟริกา จัดให้มีระบบการร้องเรียน การตัดสินคดี และผู้แทนพิเศษเรื่องการบังคับให้สูญหาย ในยุโรปเองก็มีการพัฒนากลไกคุ้มครองสิทธิสองประการเรื่องการบังคับให้สูญหายและการฆ่านอกระบบกฎหมาย เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิสองด้านนี้ มีคดีเข้าสู่การพิจารณาเช่น ในประเทศรัสซีย ประเทศเบรารุส ที่มีคดีเข้าสู่การพิจารณาในช่วงหลังเหตุการณ์ 9/11 ในศาลของประเทศเขาเองในกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งนับว่าเป็นความก้าวหน้าเพราะการนำคดีเข้าสู่ศาลเกิดขึ้นได้
สำหรับการพัฒนากลไกสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคเราก็ไม่ได้แตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆ มีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนเหมือนกัน แต่ในภูมิภาคอื่นๆได้ใช้กลไกกฎหมายในประเทศ ในภูมิภาคไปได้อย่างมีประสิทธิภาพได้แตกต่างออกไป อาเซียนก็ย่อมทำได้ด้วยเช่นกัน
[:]