[:th]CrCF Logo[:]
ปกป้อง ศรีสนิท

บรรยายเรื่อง หลักการ การรื้อฟื้นคดีอาญาระดับสากล และประเทศฝรั่งเศส โดย ดร. ปกป้อง ศรีสนิท

Share

บรรยายเรื่อง หลักการ การรื้อฟื้นคดีอาญา ระดับสากล และประเทศฝรั่งเศส โดย ดร. ปกป้อง ศรีสนิท

ความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นได้ ในระบบไทยมีการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์เป็นการใช้หลักฐานเดิม ในอีกระบบหนึ่งคือการรื้อฟื้นคดีใหม่ สามารถรื้อฟื้นได้เฉพาะในคดีที่ศาลตัดสินสิ้นสุดแล้ว (ไม่อุทธรณ์ หรือศาลสูงตัดสินแล้ว) ระบบการพิจารณาคดีใหม่ (รื้อฟื้นคดีใหม่) ต้องมีหลักฐานใหม่เท่านั้น

ห้ามไม่ให้ใช้หลักฐานเดิม เพราะเราต้องยุติการให้หลักฐานเดิม ถ้าอนุญาตให้ใช้หลักฐานเดิมก็เท่ากับว่าอุทธรณ์ไปไม่สิ้นสุด

ความผิดพลาดเกิดได้ เกิดขึ้นมาแล้ว มีหลักการด้านสิทธิมนุษยชนในการแก้ไขปัญหา คือระบุไว้ใน ICCPR มีสองแนวคือมาตรา 14 รับรองให้เกิดการพิจารณาคดีใหม่ ในข้อ 14 (5) , (6) ทุกคนที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษ ต้องได้รับการพิจารณาโดยศาลที่สูงกว่า (สิทธิในการอุทธรณ์) ประเทศไทยก็เดินตามทำตาม เพราะเราเป็นประเทศสมาชิกตาม ICCPR ในบางประเทศสามารถอุทธรณ์เพียงชั้นเดียว ประเทศไทยสามารถอุทธรณ์และฎีกาได้ด้วย เท่ากับว่าสามารถอุทธรณ์ศาลสูงกว่าได้สองครั้ง เป็นการทำไปมากกว่ามาตรฐานสากล

ในมาตรา 14 (6) เขียนไว้ว่าใครก็ตามที่ถูกตัดสินโดยศาลถึงที่สุดแล้ว และภายหลังจากนั้นมีการกลับคำพิพากษาและหรือได้รับอภัยโทษ (pardon) โดยปรากฎว่าค้นพบใหม่ ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม คนคนนั้นจะได้รับการเยียวยา จะต้องเยียวยาไม่ว่าจะรื้อฟื้นคดี หรือได้รับอภัยโทษด้วยเหตุผลของ miscarriage of justice

มีอีกหลักการหนึ่งในมาตรา 14 (7) สนับสนุนความเด็ดขาดของคำพิพากษา
ไม่มีการพิจารณาคดีเป็นครั้งที่สอง หรือ สองครั้ง ในกรรมเดียว ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษในศาลก่อนฯ หรือการยกฟ้องก็ตาม แม้ว่าจะมีการใช้หลักฐานใหม่ก็ตาม ห้ามไม่ให้มีการตัดสินคดีสองครั้ง

(ดูเหมือนจะแย้งกัน) แต่ถ้ามองในมุมของผู้เดือดร้อน (จำเลย นักโทษ) ถ้าหากรัฐผิดพลาดคือไม่สามารถหาพยานหลักฐานได้ในช่วงแรกของการพิจารณาคดี รัฐผิดพลาดเองก็เลยไม่สามารถนำคดีขึ้นมาพิจารณาคดีใหม่ได้

กรณีการรื้อฟื้นคดี
มีสองรูปแบบในต่างประเทศในสหรัฐไม่ให้มีการรื้อฟื้นคดีเลย ใช้วิธีอภัยโทษเพื่อคงความศักดิ์สิทธิ์ของศาล
ระบบที่สองให้ appeal และรื้อฟื้นคดี ใช้ในระบบcivil law เช่น ไทย ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี แคนาดา เยอรมันี ออสเตรีย
การรื้อฟื้นคดีใหม่
in favorem การรื้อฟื้นคดีใหม่เพื่อแก้ไขคำพิพากษาลงโทษจำเลยได้ รัฐเจอหลักฐานใหม่เพืื่อลงโทษ อัยการจะทำคดีรื้อฟื้นเพื่อลงโทษจำเลยที่ถูกยกฟ้องไม่ได้
in defavorem การรื้อฟื้นคดีใหม่เพื่อแก้ไขคดีใหม่เพื่อแก้ไขคำพิพากษาที่ยกฟ้องจำเลย
อันนี้สอดคล้องกับ ICCPR ประเทศไทยจึงอนุญาตให้รื้อฟื้นคดีใหม่เฉพาะกรรีที่อาจเป็นคุณกับจำเลยเท่านั้น

ตัวอย่างจากประเทศฝรั่งเศส

สถิติจากประทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี 1995
1995 จำนวนคดีที่รื้อฟื้น 1
1996 จำนวนคดีที่รื้อฟื้น 5
1997 จำนวนคดีที่รื้อฟื้น 7
1998 จำนวนคดีที่รื้อฟื้น3
1999 จำนวนคดีที่รื้อฟื้น0
2000 จำนวนคดีที่รื้อฟื้น 3

บุคคลที่ยื่นได้ ฯ ขอรื้อฟื้นคดีใหม่
1 รมต.ยุติธรรม ในฐานะตัวแทนของรัฐ
2. ญาติ หรือจำเลย

เงื่อนไขในการยื่นขอพิจารณาคดีใหม่
1. หลังจากศาลพิพากษาว่าจำเลยฆ่าคนตายโดยเจตนา ปรากฎว่าผู้ตายยังมีชีวิตอยู่
2. ศาลต่างศาลพิพากษาจำเลยสองคนไม่เหมือนกันในข้อเท็จจริงเดียวกัน เป็นเหตุให้หยิบยกมาได้
3. พยานถูกพิพากษาว่าเป็นพยานเท็จหรือเป็นพยานปลอม ไม่ถูกต้องแท้จริง (สอดคล้องกับไทย)

ในประเทศฝรั่งเศสกระบวนการพิจารณาใหม่ (รื้อฟื้อคดี) ให้ศาลอุทธรณ์ยื่นไปศาลฎีกา
ศาลฎีกาของฝรั่งเศสจะดำเนินการทั้งกระบวนการ มีคณะกรรมการ 5 คนทำหน้าที่ชี้มูลว่าจะมีการรื้อฟื้นหรือไม่รื้อฟื้น แล้วส่งความเห็นไปที่ศาลฎีกา เป็นผู้มีอำนาจตัดสินว่าจะให้รื้อฟื้้นคดีหรือไม่ ยกคำร้องก็ยื่นอีกไม่ได้แล้ว
ศาลฎีกาฯตัดสินให้ยื่นคดีใหม่ ให้ยื่นกลับไปที่ศาลชั้นเดียวกันกับศาลที่ตัดสินคดีที่ผิดพลาดนั้น
โดยเน้นหลักการ impartiality โดยส่งให้ศาลใหม่หรือองค์คณะใหม่ ไม่ใช้องค์คณะเดิม ศาลที่อยู่่ห่างๆ กันไม่ให้มีอิทธิพลต่อกันแต่เป็นศาลชั้นเดียวกัน

การเยียวยา คณะกรรมการชุดเดียวกับการเยียวยาผู้ต้องหา(แพะ) ในฝรั่งเศสฟ้องคดีแล้วก็มีต่อมาศาลยกฟ้อง รืื้อฟื้นแล้วก้จะมีการประกาศว่าคำสั่งศาลใหม่ เยียวยาเป็นตัวเงินจำนวนมาก และมีการเยียวยาทางจิตใจ บังคับให้มีการโฆษณาคำพิพากษาใหม่ เพื่อให้สภาพจิตใจดีขึ้นมาได้

ปัญหาของสังคมไทย
1. ทัศนคติที่ขัดแย้งกันของสังคมไทยเป็นปัญหา ระหว่างความศักดิ์สิทธิ์ของคำพิพากษา กับความถูกต้องแท้จริงของข้อเท็จจริง (ใครทำอะไรที่ไหนอย่างไร) เช่นถ้าเขาเป็นแพะ แล้วเลือกความศักดิ์สิทธิ์โดยไม่รื้อฟืิื้นคดี
2. หลักสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์ไม่ถูกนำมาใช้เมื่อขอพิจารณาใหม่
หลักการนี้รับรองในกฎหมายอาญาไทย มาตรา 227
การยกข้อสงสัยของจำเลย ในการกล่าวอ้าง ก่อนการพิจารณาคดีของศาล ระหว่างและ หลังการพิจารณาคดีของศาลมีทัศนคติที่แตกต่างกัน

“สิ่งที่ผิดต้องแก้ไข สิ่งผิดที่แก้ได้ จะเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ของคำพิพากษายิี่งขึ้นไปอีก”