ทำไมการซ้อมทรมานเพื่อบังคับให้สารภาพปัจจุบันจึงไม่มีบาดแผล โดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
1. การทรมานมักเกิดขึ้นก่อนการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่มีหลักการว่าต้องมีทนายร่วมรับฟังการสอบสวน
การทรมานมักเกิดขึ้นในบริบทใหม่ที่ จนท. อ้างว่า “ซักถาม” เช่น เรียกผู้ต้องสงสัยมาถาม เรียกมาให้ข้อมูล โดยไม่มีการตั้งข้อหา ในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่มีพยานเป็นบุคคลภายนอก นอกจาก จนท. กับผู้ต้องสงสัย สถานที่เกิดเหตุไม่ใช่สถานที่ราชการ มักเป็นห้องพักโรงแรม ในรถตู้ หรือบนรถ ระหว่างการเดินทาง จึงไม่มีหลักฐานว่าผู้ต้องสงสัยอยู่ในการควบคุมตัวของ จนท. เป็นการควบคุมตัวนอกกฎหมาย
2. รูปแบบการทรมานที่ไม่ปรากฎบาดแผลตามเนื้อตัวร่างกายถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง เช่น
การขู่ให้กลัว ขู่จะฆ่า การสร้างสถานการณ์ใกล้เคียงกับความตาย เช่น ขู่ว่าจะถ่วงน้ำ โยนลงจากฮอลิคับเตอร์ การยิงปืนใส่ข้างหู การขู่ว่าจะใช้ไฟฟ้าซ๊อด (โดยมีอุปกรณ์อยู่ข้างๆ )
การใช้ถุงพลาสติกคลุมหัวเพื่อให้ขาดอากาศหายใจ (บางกรณีมีการกัดให้ขาดได้ แต่ก็กระทำหลายๆ ครั้ง หรือใส่ถุงพลาสติกหลายชั้น) การใช้ผ้าปิดหน้าแล้วนำน้ำมารดให้เหมือนจมน้ำ (water boarding) การปิดตาตลอดระยะเวลาการ “ซักถาม” ก่อนนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หรือ “การสอบสวน” การบังคับให้ออกกำลังกายหลายร้อยครั้งเช่น ยืนนั่ง วิดพื้น เดินขึ้นลง และอื่นๆ
รูปแบบการทรมานทางร่างกายมักเกิดขึ้นในล่มผ้า ด้วยอุปกรณ์ที่ปกปิดเพื่อไม่ให้เกิดร่องรอย เช่น ไม้พันด้วยผ้า ตีหรือทุบบริเวณช่องท้องหรือหน้าอกจะไม่ปรากฎบาดแผลด้านนอกแต่เกิดด้านใน การใช้หมวกกั้นน๊อคของนักมวย และใช้นวมชกมวยเป็นอุปกรณ์ในการทำร้าย เป็นต้น
บาดแผลช้ำภายในไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่าแม้จะยังมีอาการเจ็บอยู่ ต้องตรวจรักษาและบันทึกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลิึกถึงประสบการณ์การทรมานและลักษณะการจับกุมควบคุมตัวบุคคล การxray บาทแผลลักษณะเช่นนี้ในเวลาหลังเกิดเหตุการณ์ 5, 10, 20 วันให้ผลที่แตกต่างกันมาก การxray อาจไม่ให้ผลการถ่ายภาพกล้้ามเนื้อที่อักเสบได้เมื่อเวลาผ่านไปแล้วเนินนาน ยกเว้นกรณีมีกระดูกหัก เป็นต้น
3.การตรวจเยี่ยมและการตรวจรักษาโดยบุคคลกรทางการแพทย์ที่เป็นอิสระต่อเหยื่อเป็นไปได้โดยยาก
การร้องเรียนการทรมานของเหยื่อเป็นไปโดยยาก ไม่สามารถร้องเรียนได้ กลัว ไม่มีผู้ไว้วางใจ ตำรวจไม่รับแจ้งความ เป็นต้น
การร้องเรียนต่อหน่วยงานอิสระ หรือหน่วยที่เหนือขึ้นไปแม้เกิดขึ้น แต่การดำเนินการเพื่อเข้าถึงและการตรวจเย่ี่ยมและการตรวจรักษาโดยบุคคลกรทางการแพทย์ที่เป็นอิสระต่อเหยื่อเป็นไปได้โดยยาก
โดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ