[:th]CrCF Logo[:]
AIPP

ชนเผ่าพื้นเมืองในอาเซียน โดย Ms. Joan Carling, Secretary General, AIPP

Share

ชนเผ่าพื้นเมืองในอาเซียน งานประชุมระดับภูมิภาคเรื่องสื่อและประเด็นของชนเผ่าพื้นเมืองในอาเซียน โดย Ms. Joan Carling, Secretary General, AIPP

อาเซียนพบกันสองปีครั้งเรียกว่า ASEAN submit ชนเผ่าพื้นเมืองอาจไม่ได้รับโอกาสในการเข้าไปร่วมประชุมคู่ขนานมากนัก อาเชียนเริ่มต้นด้วยกันพูดคุยเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันมากกว่า อีกสองเรื่อง คือเรื่องความมั่นคงและการเมืองและทางสังคมวัฒนธรรมด้วย

ASEAN ต้องการพัฒนาภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียวมีภาพลักษณ์คล้้ายๆ EU เช่นการไม่ต้องขอวีซ่า การเคลื่อนไหวแรงงาน และการพัฒนาถนน และท่าเรือเพื่อให้มีการขนส่ง เดินทางที่ดีขึ้นในระหว่างภูมิภาค ในระยะเวลา 10 ปี ก็อาจจะหมายถึงการร่วมกันพัฒนาการขนส่งเชื่อมโยงภูมิภาคอื่นๆ ด้วย

หลักการ ASEAN community blueprint

มีความพยายามในการสร้างให้เกิดแบบแผนการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคงและการเมืองและทางสังคมวัฒนธรรมได้จริง มีคำสำคัญหลายคำที่ได้ระบุไว้ เช่น  ประชาธิปไตย หลักนิติธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การค้าเสรีะหว่างสมาชิก การลงทุนระหว่างสมาชิก และการพัฒนาคุณภาพของชีวิตที่ส่งเสริมการพัฒนาและคุณภาพชีวิต แต่ไม่มีการระบุถึงสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ในระบบของ ASEAN เราไม่มีคำที่หมายถึงเราเลยแม้แต่คำเดียว อาจจะหมายถึง ชนกลุ่มน้อย minority แต่ไม่ใช่ชนเผ่าพื้นเมือง

ชนเผ่าพื้นเมืองในอาเซียน

ชนเผ่าพื้นเมืองมีอยู่ใน 9 ประเทศ อาจยกเว้นประเทศบูรไน ที่ไม่มีการระบุ (แต่อาจจะมี) ทุกประเทศเรียกพวกเราว่า “ชนกลุ่มน้อย” มากกว่าที่จะระบุว่าเราเป็นชนเผ่าพื้นเมือง

  • ประเทศพม่า 14 ล้านคน 30 – 40%
  • ประเทศกัมพูชา 1.2 แสนคน 0.9 – 1.4%
  • ประเทศลาว 2.4 – 4 ล้านคน 70%
  • ประเทศมาเลเซีย 3.4 ล้านคน 12%
  • ประเทศฟิลิปปินส์ 12 ล้านคน 10 – 15%
  • ประเทศไทย 900,000 คน 1.5%
  • ประเทศเวียดนาม 10 ล้านคน 13.8%

รวมแล้วน่าจะประมาณ 1/5 ของประชากรในภูมิภาคอาเชียนเป็นชนเผ่าพื้นเมือง

ประเด็นหลักๆ ของพวกเราคือ ในกรอบกฎหมายในประเทศ (ยกเว้นประเทศฟิลิปปินส์)เราไม่ได้รับการยอมรับ ในระบบกฎหมายระหว่างประเทศคือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง

ในกัมพูชา ได้มีการระบุเรื่องการยอมรับสิทธิที่ดินชุมชนของชนเผ่าฯ ได้ในระดับหนึ่ง ในมาเลเซีย ยอมรับสิทธิในที่ดินของชาวออรังอัสรี ระดับหนึ่ง

ASEAN ยังไม่ได้ยอมรับในเอกสารของ ASEAN

ในระดับภูมิภาคแม่โขง ยังคงยากลำบากที่สังคมส่วนใหญ่จะยอมรับคำว่า ชนเผ่าพื้นเมือง
ประเทศไทยก็ยังไม่ยอมรับว่าชาวเขาในประเทศไทย เป็นชนเผ่าพื้นเมือง เรารู้ว่าเขาไม่พยายามเข้าใจว่าเรามีความแตกต่างและมีความหลากหลายจากกลุ่มคนอื่น ๆ เราไม่ได้ต้องการความเหนือกว่า แต่เราต้องการความเป็นธรรม เรามีประวัติศาสตร์ของเราของชุมชนของเรา อย่ามองว่าจะมาให้สิทธิพิเศษ เราเพียงต้องการสิทธิที่เท่าเทียมต้องการอยู่มีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีแบบอย่างของพวกเรา

เราก็พยายามที่จะใส่คำพูดเหล่านี้ลงไปในเอกสารของอาเซียนและทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

ปัญหาอีกประการคือการแย่งชิงทรัพยากร และดินแดนของชนเผ่าพื้นเมือง เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจ
เช่นการสร้างถนนเชิ่อมกันระหว่างประเทศเวียดนามกับกัมพูชา อาจทำให้เกิดการแย่งชิงที่ดิน ทำลายชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ที่จะต้องตัดถนน
การปลูกต้นน้ำมันปาลม์ ในอินโดนีเซียและมาเลเซีย ที่ดินที่ใช้ปลูกต้นปาล์ม เป็นที่ดินเดิมของชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศนั้นๆ
รวมทั้งการคุกคามโดยการขับไล่ออกจากพื้นที่ป่าที่ถูกระบุว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวน อุทยานแห่งชาติอีกทั้งหลายครั้งแนวคิดเรื่องการลดการผลิตคาร์บอน์ในบางประเทศ กัมพูชา ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย ที่พยายามจะเข้าร่วมเป็นประเทศที่ลดการผลิตคาร์บอนแล้วก็ระบุว่าป่าหรือพื้นที่เหล่านั้นสงวนไว้สำหรับผลิตคาร์บอน์โดยไม่คำนึงถึงการดำรงอยู่ของชนเผ่าพื้นเมือง

การจัดสรรที่ดินให้บริษัทต่างชาติ เช่นในกัมพูชา ทำให้เกิดการอพยพเคลื่อนย้ายประชาชนจำนวนมากส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง

ในประเทศมาเลเซียในการสร้างเขื่อนก็ส่งผลกระทบต่อวิีถีชีวิตและการอยู่รอดของชนเผ่าพื้นเมือง ไม่ต่างจากการสร้างเชื่อนหลายแห่งในแม่โขงก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อชนเผ่าพื้นเมือง การสร้างเขื่อนพม่าก็เช่นกัน อ้างว่าเป็นการสร้างพลังงานที่สะอาดแต่จริงๆ แล้วเขื่อนขนาดใหญ่เช่นในแม่น้้ำสาละวิน สร้างความรุนแรงทั้งเรื่องการควบคุมน้ำ น้ำท่วม และปัญหาสิ่งแวดล้อม หลายๆ ประการได้ส่งผลกระทบแล้วต่อชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศพม่า

การทำเหมืองแร่ในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และพม่า มีการสร้างเหมืองโดยนักลงทุนชาวจีนที่มักไม่ใส่ใจเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การปลูกปาล์มในพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ มีปัญหามากในการขยายพื้นที่เพาะปลูก ใช้สารเคมี เช่นในมาเลเซียและอินโดนีเซีย

การพูดถึงสิทธิในการกำหนดชะตาของชนเผ่าพื้นเมืองในบางประเทศไม่สามารถทำได้ เช่นในลาว ในอินโดนีเซีย เป็นต้น แต่ต่อมาเมื่อไม่นานนี้ในอินโดนีเซีย มีคำสั่งศาลสูงระบุว่าดินแดนทางประเพณีของชนเผ่าพื้นเมืองไม่ใช่ที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นข่าวดี แต่ในหลายประเทศก็ยังไม่ยอมรับสิทธินี้ของชนเผ่าฯ

การปฏิเสธไม่จัดให้มีการบริการสาธารณะสำหรับชนเผ่าพื้นเมือง
ชนเผ่าพื้นเมืองมักไม่ได้สิทธิในการรักษาพยาบาลที่ดีพอ เราเป็นกลุ่มคนที่ถูกเลือกปฏิับัติ เป็นกลุ่มคนจนในคนจนของประเทศนั้น ๆ แม้ว่าความยากจนจะไม่ได้เกิดจากพวกเราเอง ความยากจนในกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองเกิดจากการขับไล่ กดขี่ และกีดกัั้นจากสังคมส่วนใหญ่
ความยากจนของเราไม่ได้เทียบกับรายได้ต่อหัวต่อปี เราอยู่และกินกับการดำรงชีวิตที่แตกต่างจากสังคมส่วนใหญ่

การอพยพและการบังคับให้ตั้งถิ่นฐานใหม่

ความขัดแย้งและการใช้กำลังทหารควบคุมชนเผ่าพื้นเมือง
การตั้งข้อหาอาญาในเรื่องการบุกรุกที่ดินของตนเองตามกฎหมายบ้านเมืองต่อชนเผ่าพื้นเมือง เช่น การทำไร่หมุนเวียนถูกระบุว่าเป็นข้อหาบุกรุกที่ดิน เป็นต้น
หรือการตั้งข้อหาในการสร้างภาวะโลกร้อนแล้วฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากชาวบ้าน ในประเทศไทยมีกรณีที่ชนเผ่าพื้นเมืองถูกตั้งข้อหานี้ ขณะนี้ได้รับการประกันตัวและกำลังต่อสู้คดีอยู่ เป็นต้น

สิ่งที่เราต้องการคือ การเรียกร้องให้สังคมรำลึกว่าเราดำรงอยู่ เราใช้ชีวิตอยู่ตามวิถีและอัตลักษณ์ของเราด้วยการร่วมกลุ่มกัน
เราต้องการได้รับการยอมรับในการจัดการศึกษาตามภาษาของเรา เราไม่ได้แปลกแยกแต่อยากให้ยอมรับว่าเรามีภาษาของเรา

เราต้องการการบริการสาธารณะสุชที่เท่าเทียม
เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ที่ดิน ผืนป่า เรามองว่าเรากำลังใช้ทรัพยากรในอนาคตและต้องการเก็บไว้ให้ลูกหลาน

ความท้าทายในอาเซียนคือ ไม่มีคนเห็นเรา invisible เราเป็นมนุษย์ เรามีศักดิ์ศรีเหมือนทุกคนๆ ในอาเซียน

RELATED ARTICLES