[:th]CrCF Logo[:]
การป้องกันการทรมาน

งานประชุมเรื่อง สิทธิมนุษยชน และหน่วยงานความมั่นคง กรุงเทพฯ 15-17 กันยายน 2557

Share

บทเรียนที่ 1: การป้องกันการทรมาน โดย Prof. Manfred Nowak (University of Vienne) คำแปลย่ออย่างไม่เป็นทางการ

ในตอนที่ทำงาน 2004-2010 ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงกว่า 20 ประเทศ พบว่าในเอเชียแปซิคฟิค ได้เดินทางมา 8 ประเทศ มีทุกประเทศที่พบว่ามีการทรมาน และการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม ทั้งในรายกรณี หรืออย่างเป็นระบบ

สถานการณ์รุนแรงมาก เรากำลังทำงานกันว่าอยากจะให้มีกฎหมายระหว่างประเทศอีกฉบับไหมที่จะพูดกันเรื่องสิทธิของคนถูกกักขัง

ตอนนี้มีคนใช้คำว่า “high value detainees” คำนี้เป็นคำผิด คนที่ผมพบ หลายคนไม่ได้อยู่ในสถานะนี้เลย ไม่ว่าจะเหตุผลใดใด เขาเป็นประชาชนทั่วไปและเป็นคนยากจนและคนที่ถูกกีดกันออกจากสังคม

พอมีอาชญกรรมเกิดขึ้น นักข่าว และสาธารณะกดดันให้ปราบปรามอาชญกรรม ตามล่าอาชญกร ตำรวจ มักมีค่าตอบแทนต่ำ ไม่มีเทคนิดการสืบสวนสอบสวนที่ดีพอ ก็เลยไปมองหาคนเก่าๆ คนที่ต้องสงสัย คนไร้บ้าน หรืออื่นๆ ตำรวจเมื่อพบแล้วก็นำมาสอบสวนแล้วก็ซ้อมจนสารภาพ แล้วนำพยานหลักฐานนั้นมาดำเนินคดี ฟ้องศาล ตัดสินลงโทษ

การทรมานไม่ใช่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศเผด็จการ แต่ใช้ในประเทศที่มีประชาธิปไตยด้วย

ทำไมจนท.ที่ทำการทรมานไม่รู้ว่าตนเองทำอะไรผิด มีการให้ความเห็นว่า Lesser evil
คือว่าเลวน้อยกว่าอาชญกรรม หรือผู้ก่อการร้าน จึงทำได้และยอมให้มีการกระทำได้ เรามีกฎหมายดีที่สุดที่ห้ามไม่ให้มีการทรมาน ในกฎหมายอาญาของเรา แต่ถ้ามีทัศนคติแบบนี้ การทรมานก็ยังคงมีอยู่ การร้องเรียนเรืื่องการทรมานก็ไม่ได้ถูกนำไปสอบสวนอย่างเป็นอิสระ เท่่ากันว่าการทรมานก็จะเป็น Lesser evil ตลอดไปแล้วยังคงอยู่กับหน่วยงานความมั่นคงต่อไป

การทรมานไม่ใช่อะไรนอกไปกว่าการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การทรมานได้อุทิศให้ความรุนแรงต่อๆไป การนำจนท. ทหาร ตำรวจ นักวิชาการ และ NGos มาคุยกันว่า เราคงไม่ทำแค่การกล่าวหาต่อกัน แต่จะแก้ไขปัญหาไปด้วยกันอย่างไร

เราต้องมองเห็นกันและกันเป็นผู้ร่วมงาน partners และในเวลาเดียวกันมีนักข่าวและนักสิทธิฯ ที่ถูกทำให้เขาเสื่อมเสียงชื่อเสียงจากการทำงานเปิดเผยเรื่องทรมานเกิดขึ้น

การป้องกันอาชญกรรม ฆาตกร นักขโมย ตำรวจต้องทำอย่างไรให้มีการคุ้มครองผู้ต้องสงสัย เป็นความชอบธรรมในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของเขา เจ้าหน้าที่ต้องมีเครื่องมือที่ดิีในการปราบปรามอาชญกรรม การควบคุมตรวจสอบ ที่ไม่ใช่แค่การตรวจสอบภายใน จนท. ต้อง สร้างให้เกิดสิ่งแรกคือไม่ทำร้าย ไม่ทำความรุนแรง และเปิดให้มีการตรวจสอบ

ในการท้าทายสิ่งนี้ ต้องสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในของหน่วยงานความมั่นคงเองทั้งในระหว่างการเกิดความขัดแย้งหรือ หลังความขัดแย้ง (Post Conflict)
สิ่งที่ทำได้เลยคือเรามีกฎหมายสำคัญคือ OPCAT ในการเปิดให้มีการตรวจสอบสถานที่ควบคุมตัวโดยอิสระ

บทเรียนที่สอง: การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและองค์กรเพื่อการป้องกันการทรมานและการใช้กำลังอาวุธ
โดย AIGP (retired) Nawaraj Dhakal (Nepal Police) – คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ งานประชุมเรื่อง สิทธิมนุษยชนและหน่วยงานความมั่นคง กรุงเทพ 16 กันยายน 2557

เราไม่ได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงรายบุคคลแต่เราต้องการบุคคลเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงองค์กร เพราะมีการพูดกันว่าเราต้องการเปลี่ยนโลกแต่ไม่มีการเปลี่ยนตนเอง การเปลี่ยนแปลงโลกเป็นไปไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงองค์กรด้านความมั่นคงต้องการการเปลี่ยนแปลงจากภายในและภายนอกไปพร้อมๆ กัน เช่นในเนปาล เรามีทัศนคติทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีกฎหมายใหม่ ๆ ความสนใจของสังคมเปลี่ยนแปลงไปและมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอื่นๆ ที่คาดการณ์ไม่ได้

ในภายในเองก็มีการริเริ่มการปฏิรูปองค์กร เปลี่ยนผู้นำ เปลี่ยนระบบคิดเกี่ยวกับการจ้าง การสมัครงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เราเองก็ยังมีความท้าทายมากมาย
การปฏิรูปหน่วยงานความมั่นคงเป็นกระบวนการ เพราะเรามีวัฒนธรรมของเรา มีกำลังพลที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่น และทุกคนมีส่วนในการสร้างปัญหาและในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน

วัฒนธรรมและผู้คนในองค์กรมีอยู่บางครั้งเปลี่ยนแปลงได้ยาก เขามักจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง คนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เขาต่อต้านทำไม why people resist change? มันเป็นมุมมองทางจิตวิทยา เขากลัวว่าจะเปลี่ยนไปทางไหน เชื่อว่าเปลี่ยนแล้วก็ไม่มีอะไรดีขึ้น กลัวว่าจะสูญเสียคุณค่าของตนถ้ามีการเปลี่ยนแปลง

กระบวนการก็อาจเป็นข้อขัดขวางการเปลี่ยนแปลงได้ หากมันเข็มงวดจนเกินไป ยากไปที่จะนำไปปฏิบัติ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์กรด้านความมั่นคงฯ ผู้นำสำคัญมาก แต่ผู้นำฯ ต้องเปลี่ยนตนเองเสียก่อนให้ประจักษ์เพื่อให้กำลังพลปฏิบัติตาม การสำรวจทัศนคติของกำลังพลก็สำคัญเพื่อให้ผู้นำฯ วิเคราะห์ได้ว่ากำลังพลกำลังคิดอะไร และพร้อมที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง สร้างทีมงานให้เข็มแข็ง และให้กำลังพลมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง

บทเรียน: การเปลี่ยนทัศนคติต่อพฤติกรรมกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด
โดย DSP Rabindra Regmi (Nepal Police) คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ

การเปลี่ยนแปลงทัศนคติใช้เวลานาน ทัศนคติทั่วไปต่อผู้ใช้ยาเสพติด อาจเป็นว่า เขาผิดศีลธรรม หลักศิลธรรมเขามีปัญหาต้องแก้ไข โดยการใช้ความรุนแรง
ในทางกฎหมายเองก็ระบุว่าเขาเป็นอาชญกร ทำผิดกฎหมาย
กฎหมายบางประเทศระบุว่าการนำเขาเข้าสู่กระบวนการบำบัดได้ก็ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลเท่านั้น

หลักการของผมคือถ้าเราเปลี่ยนทัศนคติของตำรวจได้ตำรวจจะไม่ใช้กำลังกับกลุ่มผู้ใช้ยาจนเกินสมควรและป้องกันไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้ยาฯ ระหว่างการทำงานของตำรวจ

สิ่งที่ต้องเปลี่ยนในความคิดของตำรวจคือ
“ผู้ใช้ยาไม่ใช่อาชญกร แต่เป็นผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องการบำบัด”
“ผู้ใช้ยาเป็นกลุ่มที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เหมือนกลุ่มเด็ก เยาวชน หญิง และผู้อาวุโส”

ทัศนคติของสังคมก็ต้องเปลี่ยน เช่น

“มีการบำบัดอย่างมืออาชีพที่แก้ไขปัญหาเรื่องการติดยาได้”
“การใช้ความรุนแรงต่อผู้ใช้ยาต้องถูกประนาม”
“สังคมไม่ควรยอมรับการใช้ความรุนแรงต่อผู้ใช้ยา”
“ขอให้สังคมเชื่อมั่นต่อตำรวจในการทำงานที่เกี่ยวกับผู้ใช้ยา”

เราจัดให้มีการอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ทำความเข้าใจบริบทของผู้ใช้ยา จัดทำคู่มือฯ เผยแพร่ไม่ใช่แต่กับจนท.ตำรวจ เผยแพร่ในชุมชน โรงเรียนและหน่วยราชการอื่นๆ
โดยรวมจนท.ตำรวจเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้ยามากขึ้น ชุมชนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับกลุ่มผู้ใช้ยา และบทบาทของตำรวจ สื่อมวลชนก็เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ

สรุปทัศนคติเรื่องนี้แก้ไขไม่ได้ในช่วงข้ามคืนแต่ทำได้ และไม่ได้ใช้งบประมาณมากมายอะไร ที่จะสร้างทัศนคติใหม่ในเรื่องนี้ทั้งกับจนท.ตำรวจ ชุมชนและสังคมโดยรวม รวมทั้งทำให้เกิดการยุติการแพร่หลายของการใช้ยาไปพร้อมๆ

RELATED ARTICLES