[:th]CrCF Logo[:]
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

แถลงการณ์ด่วน กรณีการใช้การฟ้องคดีความคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

Share

แถลงการณ์ด่วนกรณีการใช้การฟ้องคดีความคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน นางสาว พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

เราเครือข่ายประชาสังคม ดังรายนามชื่อองค์กรที่แนบมานี้มีความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อการดำเนินคดีทางอาญาต่อมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และนางสาวพรเพ็ญ คงเกียรติขจรเกียรติ ในความผิดข้อหาหมิ่นประมาทและทำให้เสียชื่อเสียงแก่กองทหารพรานที่ 41 นางสาวพรเพ็ญ ผู้อำนวยการของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำเรื่องการตรวจสอบและจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการทรมาน และการกระทำอันเลวร้ายในประเทศไทย ได้รับหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม 2557

ในหนังสือหมายเรียกผู้ต้องหาซึ่งลงวันที่ 8 สิงหาคม 2557 ระบุว่า พันตรี ลิขิตกระฉอดนอก ในฐานะได้รับมอบอำนาจจากกองทหารพรานที่ 41 ได้แจ้งความกล่าวหานางสาวพรเพ็ญในข้อหาหมิ่นประมาทและการทำให้เสียชื่อเสียง ทางกองทัพได้กล่าวหาว่ามูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ทำให้กองทัพเสื่อมเสียชื่อเสียงโดยกล่าวข้อความในจดหมายเปิดผนึกเรื่องข้อร้องเรียนเรืื่องการทรมาน นอกจากนี้ในหมายเรียกยังระบุด้วยว่านางสาวพรเพ็ญจะต้องมารายงานตัวที่สถานีตำรวจยะลา ภาคใต้ของประเทศไทย ภายในวันที่ 25 สิงหาคมนี้

นางสาวพรเพ็ญเป็นหนึ่งในนักปกป้องสิทธิมนุษยชนแถวหน้าของประเทศไทย ผู้มีส่วนเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศไทย และในแถบภูมิภาค โดยได้ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนหลายด้าน รวมถึงสิทธิสตรี,การล้มเลิกโทษประหารชีวิตและการทรมาน, การเสียชีวิตในขณะที่อยู่ภายใต้การกักตัวของเจ้าหน้าที่และการฆ่าตัดตอน สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ และการบังคับให้สูญหาย งานของเธอเป็นงานที่สร้างผลประโยชน์กับสาธารณะเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีกระบวนการในการตรวจสอบความโปร่งใสในการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ และกดดันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ เคารพสิทธิมนุษยชน. ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม นางสาวเพ็ญพรได้ทำการติดตาม ตรวจสอบและจัดทำเอกสารที่เกี่ยวกับการทรมานและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้

เรามีความเห็นว่าการกระทำของกองทัพเป็นสิ่งที่ปราศจากเหตุผล, ลุถึงแก่อำนาจและยิ่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้เหยื่อของการทรมานปิดปากเงียบในคดีที่ตนถูกทรมานที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่.การใช้วิธีบีบบังคับโดยการฟ้องคดี นางสาวพรเพ็ญ นอกจากจะต้องการหยุดนางสาวพรเพ็ญจากการให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อที่ถูกทรมาน

การกระทำของกองทัพยังถูกมองว่าเป็นการสร้างสภาวะที่ทำให้เหยื่อที่ถูกทรมานไม่สามารถที่จะร้องทุกข์ได้เลย นอกจากนี้การกระทำที่น่าละอายโดยกองทัพในการฟ้องคดีนักสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นการส่งสัญญาณเตือนเพื่อให้เหยื่อคนอื่นๆที่อาจถูกทรมาน ไม่กล้าที่จะร้องเรียนเรื่องเหล่านี้ได้. แทนที่จะคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างนางสาวพรเพ็ญ ทางกองทัพควรที่จะสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับการกล่าวหาว่ามีการการทรมานในทุกคดีและพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การคุกคามโดยใช้การฟ้องคดีกับนางสาวพรเพ็ญนี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิของคนทำงานในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ดังที่ระบุในข้อที่ 1 ในปฏิญญาว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชนขององค์กรสหประชาชาติที่ระบุว่า “ทุกคนมีสิทธิทั้งโดยปัจเจกและจากการสมาคมกับบุคคลอื่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนการคุ้มครองและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ”

เราเชื่อว่าการดำเนินคดีอาญาต่อนางสาวเพ็ญพรเป็นการดำเนินการที่มีวัตถุประสงค์ในการคุกคาม เป็นผลมาจากการดำเนินกิจกรรมสิทธิมนุษยชนที่ชอบธรรม เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน, การทรมานในภาคใต้ของประเทศไทย. เราขอเรียกร้องให้ทางกองทัพ ถอนฟ้องคดีอาญาที่กล่าวหานางสาวพรเพ็ญ โดยทันทีและปราศจากเงื่อนไข เพราะการฟ้องอาญาต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ทำหน้าที่อันชอบธรรมของตนนั้น ขัดกับผลประโยชน์สาธารณะ

เราขอเรียกร้องให้รัฐบาล เคารพในสิทธิ หน้าที่ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในความรับผิดชอบของบุคคล กลุ่ม และหน่วยงานในสังคมเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยการดำเนินการเสนอและรวบรวมข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน การสร้างหลักประกันให้เกิดการคุ้มครองสำหรับผู้เสียหายจากการละเมิดสิทธิ อันเป็นหน้าที่ที่ยอมรับในระดับสากล ดังที่ระบุในปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ให้การรับรองว่าทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากการทรมานและการละเมิดสิทธิอื่นๆ จะมีสิทธิในการร้องทุกข์ สิทธิดังกล่าวต้องได้รับการเคารพและคุ้มครองทั้งระบบ รวมถึงสิทธิในการได้รับความยุติธรรม

ลงชื่อโดย
1. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
2. ศูนย์ข้อมูลชุมชน
3. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
4. สมาคมผู้หญิง นักกฎหมายและการพัฒนาแห่งเอเชียแปซิฟิก
5. Frontline Defenders
6. WOREC (Nepal)
7. National Alliance of Women Human Rights Defenders (Nepal)
8. International Service for Human Rights (ISHR)
9. Asia Forum for Human Rights and Development (Forum Asia)
10. Observatory for the Protection of Human Rights Defenders (OMCT-FIDH)
11. Protection International