แหล่งข้อมูล คู่มือสังเกตการณ์ การะบวนการยุติธรรม จัดพิมพ์โดย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ICJ
บทที่ 7 คดีพิเศษ
ในบทนี้ เป็นการพิจารณาหลักประกันการไต่สวนคดีอย่างเป็นธรรมเพิ่มเติมสําหรับการไต่สวนคดีที่ เกี่ยวข้องกับเด็ก (ประเภท ก.) หรือที่มีโทษประหาร (ประเภท ข.) รวมทั้งให้แนวทางเกี่ยวกับประเด็นที่ ผู้สังเกตการณ์คดีควรใส่ใจเพื่อประเมินความเป็นธรรมของกระบวนการในศาลชํานัญพิเศษ (ประเภท ค.) ศาลทหาร (ประเภท ง.) และศาลที่ทําหน้าที่ระหว่างภาวะฉุกเฉิน (ประเภท จ.)
ก. ผู้กระทําผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนและระบบยุติธรรมทางอาญา
เด็กและเยาวชนซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดทางอาญามีสิทธิได้รับหลักประกันการไต่สวนคดีอย่างเป็น ธรรมเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ 36 รวมทั้งได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษตามอายุของตน ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับการ คุ้มครองพิเศษ ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ “ผู้เยาว์” หมายถึงบุคคลใดที่มีอายุต่ํากว่า 18
ในคดีที่เด็กถูกกล่าวหาหรือถูกหาว่ากระทําความผิดทางอาญา หรือที่เรียกว่า “เด็กที่มีข้อขัดแย้งกับ กฎหมาย” กฎหมายระหว่างประเทศกําหนดให้รัฐจัดตั้งระบบยุติธรรมเด็กและเยาวชน โดยมีเขต อํานาจหรือกระบวนการเป็นพิเศษและแตกต่างจากที่ใช้กับผู้ใหญ่ 36 ระบบยุติธรรมเด็กและเยาวชนจะ ต้องมุ่งตอบสนองประโยชน์สูงสุดของเด็ก ดังที่คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็กกล่าวไว้ว่า
“เด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ด้านพัฒนาการทางกายและใจ และมีความต้องการด้านอารมณ์ และการศึกษาแตกต่างไป ความแตกต่างเช่นนี้เป็นเหตุให้เด็กมีความผิดน้อยกว่าเมื่อเกิดข้อ ขัดแย้งกับกฎหมาย ความแตกต่างเหล่านี้และอื่นๆ เป็นเหตุผลที่ต้องแยกระบบยุติธรรมเด็ก และเยาวชนออกมา และกําหนดให้การปฏิบัติต่อเด็กแตกต่างไป การคุ้มครองประโยชน์ สูงสุดของเด็ก หมายถึงการให้ความสําคัญกับวัตถุประสงค์ทั่วไปของระบบยุติธรรมทางอาญา อย่างเช่น การมุ่งปราบปราม/ตอบแทนให้สาสมน้อยกว่าการมุ่งให้เกิดการฟื้นฟูและให้เกิด