[:th]CrCF Logo[:]
บ้านเก้าบาตร โนนดินแดง

“เหตุเกิดที่โนนดินแดง” เรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในพื้นที่หัวใจ สมอง และการทำงานคือเรื่องที่เกิดขึ้นที่โนนดินแดง โดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

Share

“เหตุเกิดที่โนนดินแดง”

ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา เรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในพื้นที่หัวใจ สมองและการทำงานคือเรื่องที่เกิดขึ้นที่โนนดินแดง

ความเบื้องต้นคือมีการใช้อำนาจกฎอัยการศึกจับกุมแกนนำชาวบ้านจำนวน 10 คนในระหว่างวันที่ 28 และ 29 มิถุนายน ควบคุมตัวแกนนำชาวบ้านไว้เจ็ดวันตามอำนาจการกักตัวของกฎอัยการศึก ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกใหม่ของพื้นที่โนนดินแดง เพราะเป็นพื้นที่ที่มีชายแดนติดประเทศกัมพูชา แต่การควบคุมตัวแกนนำในกักตัวไว้กดดันให้ชาวบ้านในชุมชนทั้งสิ้น 6 ชุมชนได้แก่ชุมชนป่ามะม่วง ชุมชนดงเย็นตลาดควาย ชุมชนเสียงสวรรค์ ชุมชนบ้านเก้าบาตร ชุมชนคลองหิน และชุมชนสามสลึงทั้งสิ้นกว่า 1,000 คนทั้งหมดต้องอพยพออกนอกพื้นที่พิพาทที่มีการกล่าวอ้างว่าชาวบ้านบางส่วนมีสิทธิในการถือครองเพื่อทำกินตามคำมั่นสัญญาดั้งเดิมสมัยที่พื้นที่นี้ทางการอนุญาตให้ชาวบ้านมาทำกินเพื่อเป็นหูเป็นตาในการตรวจตราภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ ในยุคปี 2520 แต่ต่อมา

ได้มีการประกาศพื้นที่ดังกล่าวและใกล้เคียงเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ในปี 2531 ราชการมีแนวคิดว่าทางราชการไม่สามารถจะปลูกป่าได้ขาดกำลังคนกำลังทรัพย์จึงได้มีการให้สัมปทนาปลูกป่ากับนายทุนเอกชน หลายแปลงในพื้นที่ทำกินเดิมของชาวบ้านที่ทางราชการมาประกาศพื้นที่เขตป่าของรัฐทับซ้อน ทั้งนี้ที่ดินบางพื้นก็ได้มีการจัดสรรที่ดินบางส่วนให้กับครอบครัวผู้พัฒนาชาติไทยไปบ้างแล้วแต่ก็มีหลายครอบครัวที่ไม่ได้รับสิทธิฯ กลายเป็นคนโนนดินแดงที่ไร้พื้นที่ทำกิน ราชการใช้เวลานานพอสมควรจนในปี 2537 ได้อพยพชาวบ้านในพื้นที่สัมปทานปลูกป่าไปจนหมด

พอใกล้หมดสัมปทานชาวบ้านกลุ่มเดิมเริ่มเข้ามาจับจองใหม่ในปี 2549ต่อเนื่องมาเรื่อยจนปี 2552 ปีที่หมดสัมปทานและไม่มีการต่ออายุ ทั้งผู้ยึดถือว่าตนมีสิทธิ์เดิมและผู้เข้ามาจับจองใหม่ก็ปลูกบ้านปลูกมันทำมาหากินในที่ดินพิพาทนี้ตลอดมา

เมื่อกาลเป็นว่าทาง คสช. ต้องการเพิ่มพื้นที่ป่าโนนดินแดนน่าจะเป็นพื้นที่แรกที่มีการสนธิกำลังกันจากหน่วยงานราชการทุกหน่วยเพื่อกดดันให้ชาวบ้านออกนอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน. 2557สุดท้าย ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2557 ชาวบ้านเก้าบาตรที่เป็น กลุ่มสุดท้ายได้เดินทางออกจากพื้นที่พิพาทด้วยความรู้สึกที่แตกต่างกัน โกรธแค้น หมดสิ้นหนทาง บางคนได้เดินทางกลับไปหาที่พักพิงกับญาติ หรือกลับไปที่ภูมิลำเนาดั้งเดิม

มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจำนวน 60 คน ซึ่งถูกบังคับให้ออกนอกพื้นที่จากบ้านตลาดควายโดยไม่มีทางออกอื่นนอกจากอพยพไปอยู่ในวัดใหญ่โนนดินแดงตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2557 และถูกบังคับให้ย้ายออกจากวัดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ปัจจุบันพักอาศัยในพื้นที่ในหมู่บ้านโนนดินแดงเป็นเพิงสาธารณะที่ชาวบ้านให้อาศัยอยู่ มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีหลายคนที่ยังคงต้องการความช่วยเหลือ ราชการกำลังดำเนินการคัดกรองว่าใครยากจนและต้องการความช่วยเหลือ กลุ่มนี้ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือกำลังรอการตัดสินใจของราชการในเรื่องที่ทำกินใหม่ โดยขอรับบริจาคเงินและของใช้เพื่อให้ชาวบ้านกลุ่มนี้ได้รับความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมเพื่อให้เด็กได้ไปโรงเรียน ชาวบ้านผู้ใหญ่กำลังต้องหางานทำแต่ก็ไม่สามารถทำได้เคยหากหาปลาหากินได้ก็ทำไม่ได้อีกแล้ว ลำบากมากค่ะ

เบอร์บัญชี นางวิไลพันธ์ ชมบาล บัญชีเลขที่ 635-361-24-9
ธนาคารกรุงเทพ สาชาปะคำ

Pornpen Khongkachonkiet
111 Soi Sitichon
Suthisanwinichai Road
Samsennok
Huaykwang, Bangkok 10310 Thailand
Access to Justice and Legal Protection Project, Cross Cultural Foundation
Tel.66-2-6934939