ข้อสังเกตเชิงสรุปต่อไทย ของคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน ขององค์การสหประชาชาติ

ข้อสังเกตเชิงสรุปต่อไทย ของคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน ขององค์การสหประชาชาติ (Concluding Observations)

Share

หลังจากเกิดการรัฐประหาร 2557วันที่ 22 พฤษภาคมในประเทศไทยเพียงวันเดียว วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ทางคณะกรรมการต่อต้านการทรมานขององค์การสหประชาชาติ ได้นำเสนอเป็นข้อสังเกตเชิงสรุป (Concluding Observation) จำนวน 13 หน้า ต่อประเทศไทยเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขแนวทางทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การป้องกันการทรมานเป็นผลในประเทศไทย  

โดยคณะกรรมการฯ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศไทยโดยเรียกร้องให้รัฐภาคีปฏิบัติ เพื่อห้ามมิให้มีการทรมานใดๆ เกิดขึ้น และให้แน่ใจว่าการบังคับใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศไทยจะไม่ละเมิดสิทธิที่ประกันในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT) โดยเด็ดขาด

ปรากฎในย่อหน้าที่ 12 และ 13 โดยคณะกรรมการต่อต้านการทรมานโดยระบุว่าการบังคับใช้กฎอัยการศึกมาตรา 15 ทวิซึ่งบุคคลสามารถถูกควบคุมตัวได้ 7 วัน โดยไม่มีหมายหรือกำกับดูแลจากหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมอื่นๆ ก่อนที่จะถูกนำตัวไปที่ศาล  นอกจากนี้กฎอัยการศึกก็ไม่ระบุว่าต้องนำตัวผู้คุมขังถูกมาปรากฏตัวต่อศาลในการควบคุมตัวขั้นตอนใดๆ และมักไม่มีการเปิดเผยที่ตั้งของสถานที่ควบคุมตัว

อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายพิเศษมักไม่มีมาตรการป้องกันการทรมานที่มีไว้ในกฎหมายและกฎระเบียบในทางปฏิบัติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ถูกคุมขังมักจะได้รับการปฏิเสธสิทธิที่จะติดต่อสมาชิกครอบครัวและให้สมาชิกในครอบครัวเยี่ยมทันทีที่สูญเสียเสรีภาพ และขาดการคุ้มครองสิทธิที่จำเป็นบางอย่าง เช่น สิทธิที่จะติดต่อทนายความและได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ที่เป็นอิสระทันทีที่สูญเสียเสรีภาพ  ซึ่งใช้เป็นมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกจำกัดเสรีภาพในสถานการณ์ไม่ปกติได้เป็นอย่างดีในบริบทการบังคับใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ  แม้ว่าในการพิจารณารายงานรัฐและรายงานคู่ขนานที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการต่อต้านการทรมานนั้นจะเป็นการพิจารณาถึงบริบทในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการบังคับใช้กฎอัยการศึกมาเป็นระยะเวลา 10 ปี

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ร่วมกับเครือข่ายองค์การพัฒนาเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้จัดทำรายงานคู่ขนานเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการต่อต้านการทรมานเพื่อใช้ประกอบในการพิจารณารายงาน โดยกระบวนการพิจารณาเริ่มจากที่คณะกรรมการฯ ได้นัดภาคประชาสังคมชี้แจงวันที่ 29 เมษายนและเริ่มขั้นตอนการพิจารณารายงานของรัฐในเรื่องความก้าวหน้าของการนำอนุสัญญาต่อต้านการทรมานมาปฏิบัติในประเทศไทยในวันพุธที่ 30 เมษายนในเวลา 10.00 น. (วันเวลาณ นครเจนีวา)

โดยจะมีการกล่าวเปิดการประชุม โดยหัวหน้าคณะที่นำเจ้าหน้าที่ของไทยไปร่วมรายงานเป็นเวลา 15-20 นาที โดยจะมีการเผยแพร่คำกล่าวในเวปไซด์ของ OHCHR หนึ่งวันก่อนล่วงหน้า เน้นให้หัวหน้าคณะกล่าวถึงเนื้อหาสำคัญที่ใหม่และยังไม่ได้ครอบคลุมในรายงานที่จัดส่งไปแล้ว ต่อมาทางคณะกรรรมการต่อต้านการทรมานขององค์การสหประชาชาติซึ่งจัดให้มีตัวแทนกรรมการสองท่านคือ Ms. Felice Gaer (รองประธานคณะกรรมการฯ) และ Mr. Alessio Bruni (ในวันนั้น Mr. Alessio Bruni ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้)

โดย Ms. Felice Gareเป็นผู้แทนเพียงคนเดียวที่นำเสนอการรายงานข้อค้นพบเกี่ยวกับสถานการณ์การทรมานในประเทศไทย ตามข้อบท 1-16 ในอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้มีการถามคำถามจากคณะกรรมการท่านอื่นๆ ได้อีกรวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ก่อนปิดการประชุมจะมีการหัวหน้าคณะตัวแทนรัฐบาลกล่าวปิดอีกครั้ง

โดยต่อมาวันพฤหัสที่ 1 พฤษภาคม เวลา 15.00 น. (วันเวลา ณ นครเจนีวา) ทางคณะกรรมการจะให้เวลาผู้แทนไทยตอบคำถามต่างๆ ที่ได้ระบุไว้ในการประชุมวันที่ 30 เมษายน เป็นเวลา 60 นาที และจะมีการถามคำถามเพิ่มเติมจากคณะกรรมการทั้งคณะอีก 60 นาที ต่อจากนั้น ตัวแทนของรัฐบาลไทยจะมีเวลาตอบคำถามอีก 60 นาที รวมทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง ผลสรุปของการพิจารณารายงาน ทั้งนี้การพิจารณารายงานของประเทศไทยดังกล่าวจะมีการถ่ายทอดสดตามวันเวลาณ นครเจนีวาทาง Webcast ที่ http://www.treatybodywebcast.org/category/webcast-archives/cat/

ทางคณะกรรมการฯ จะและจัดทำเป็นข้อสังเกตต่อรัฐบาลไทยฉบับที่ตีพิพม์นี้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเห็นว่าบทบาทของภาคประชาสังคมนอกจากจะจัดส่งรายงานคู่ขนานต่อคณะกรรรมการต่อต้านการทรมานขององค์การสหประชาชาติภายในวันที่ 11 เมษายน 2557  เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการพิจารณารายงานที่กรุงเจนีวา แล้วนั้น การจัดพิมพ์เผยแพร่คำแปลของ ข้อสังเกตเชิงสรุปสำหรับรายงานฉบับแรกของประเทศไทย (Concluding Observation) ของคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน (UNCAT Committee) มีความสำคัญ

โดยคำแปลฉบับนี้จัดทำโดยสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) จึงขอแสดงความขอบคุณมา ณ โอกาส นี้ ที่อนุญาตให้มูลนิธิผสานวัฒนธรรมจัดพิมพ์เป็นครั้งที่สอง เพื่อให้ทั้งหน่วยงานราชการ  ประชาชน นำสรุปข้อสังเกตฉบับนี้นำไปใช้เพื่อปรับปรุงแก้ไขแนวทางทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การป้องกันการทรมานเป็นผลในประเทศไทยต่อไปทั้งในสถานการณ์ปกติและไม่ปกติ

คณะผู้จัดทำ: มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (26 มิถุนายน 2557 – วันสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบจากการทรมานสากล)

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading