UNHR

คณะกรรมการต่อต้านการทรมานของยูเอ็น กังวลเรื่องการบังคับใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศ

Share

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ทางคณะกรรมการต่อต้านการทรมานขององค์การสหประชาชาติ ได้นำเสนอเป็นข้อเสนอแนะ (Concluding Observation) จำนวน 13 หน้า ต่อประเทศไทยเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขแนวทางทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การป้องกันการทรมานเป็นผลในประเทศไทย โดยคณะกรรมการฯ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศไทยโดยเรียกร้องให้รัฐภาคีปฏิบัติ เพื่อห้ามมิให้มีการทรมานใดๆ เกิดขึ้น และให้แน่ใจว่าการบังคับใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศไทยจะไม่ละเมิดสิทธิที่ประกันในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT) โดยเด็ดขาด

ปรากฎในย่อหน้าที่ 12 และ 13 โดยคณะกรรมการต่อต้านการทรมานโดยระบุว่าการบังคับใช้กฎอัยการศึกมาตรา 15 ทวิซึ่งบุคคลสามารถถูกควบคุมตัวได้ 7 วัน โดยไม่มีหมายหรือกำกับดูแลจากหน่วยงานกระบวนการยุติธรรมอื่นๆ ก่อนที่จะถูกนำตัวไปที่ศาล นอกจากนี้กฎอัยการศึกก็ไม่ระบุว่าต้องนำตัวผู้คุมขังถูกมาปรากฏตัวต่อศาลในการควบคุมตัวขั้นตอนใดๆ และมักไม่มีการเปิดเผยที่ตั้งของสถานที่ควบคุมตัว อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายพิเศษมักไม่มีมาตรการป้องกันการทรมานที่มีไว้ในกฎหมายและกฎระเบียบในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ถูกคุมขังมักจะได้รับการปฏิเสธสิทธิที่จะติดต่อสมาชิกครอบครัวและให้สมาชิกในครอบครัวเยี่ยมทันทีที่สูญเสียเสรีภาพ และขาดการคุ้มครองสิทธิที่จำเป็นบางอย่าง เช่น สิทธิที่จะติดต่อทนายความและได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ที่เป็นอิสระทันทีที่สูญเสียเสรีภาพ

คณะกรรมการต่อต้านการทรมานระบุถึงการไม่ต้องรับผิดของเจ้าหน้าที่ตามอำนาจกฎหมายพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎอัยการศึก มาตรา 7 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มาตรา 17 จำกัดความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยให้ความคุ้มครองมิให้เจ้าหน้าที่ถูกฟ้องร้องในกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง รวมทั้งการกระทำทรมานซึ่งเป็นการละเมิดบทบัญญัติของอนุสัญญาฯ ข้อเสนอแนะต่อประเทศไทยในขณะนี้คือ รัฐควรตรวจสอบอย่างแข็งขัน โดยมิชักช้าและพึงถือเป็นกิจการเร่งด่วนที่จะทบทวนกฎหมายพิเศษและแนวปฏิบัติที่มีอยู่ และพึงยกเลิกข้อกำหนดสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน

คณะกรรมการต่อต้านการทรมานระบุด้วยถึงการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานทางกฎหมายของผู้ถูกจับกุมทุกคนว่า คณะกรรมการวิตกกังวลว่า การคุ้มครองสิทธิพื้นฐานทางกฎหมายดังกล่าวหมายรวมถึง การบันทึกทะเบียนผู้ถูกควบคุมตัวอย่างเป็นทางการ โดยได้รับการรับร้องสิทธิพื้นฐานทางกฎหมายตั้งแต่เริ่มแรกถูกควบคุมตัว ได้แก่ สิทธิที่จะพบทนายความที่เป็นอิสระทันที สิทธิที่จะพบแพทย์ที่เป็นอิสระ สิทธิที่จะแจ้งให้ญาติ สิทธิที่จะได้รับแจ้งถึงสิทธิของตนในขณะที่ถูกควบคุมตัว รวมทั้งข้อหาที่มีต่อตน ผู้ถูกควบคุมตัวพึงได้รับการลงทะเบียน ณ สถานที่ควบคุมตัว และมีสิทธิที่จะปรากฏตัวต่อหน้าผู้พิพากษาภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รัฐควรใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อให้มีระบบการช่วยเหลือทางกฎหมายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ รัฐควรวางมาตรการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงเพื่อให้แน่ใจว่ามีการคุ้มครองพื้นฐานในทางปฏิบัติเช่นเดียวกับในทางกฎหมายและควรใช้มาตรการทางวินัยหรือมาตรการอื่นๆ ต่อเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้กระทำผิด ในกรณีที่ไม่ให้การคุ้มครองพื้นฐานแก่บุคคลที่ถูกลิดรอนเสรีภาพ

เอกสารฉบับเต็มภาษาอังกฤษสามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่
เอกสารฉบับเต็มภาษาไทยสามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading