คณะกรรมการต่อต้านการทรมานของยูเอ็น กังวลเรื่องการหายตัวไปของบิลลี่และบุคคลสูญหายอื่นในประเทศไทย

Share

คณะกรรมการต่อต้านการทรมานยูเอ็นฯ กังวลเรื่องการบังคับให้บุคคลสูญหาย กรณีบิลลี่ และกรณีอื่นๆ ทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ทางคณะกรรมการต่อต้านการทรมานขององค์การสหประชาชาติ ได้นำเสนอเป็นข้อเสนอแนะ (Concluding Observation) จำนวน 13 หน้า ต่อประเทศไทยเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขแนวทางทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้การป้องกันการทรมานเป็นผลในประเทศไทย ปรากฎในย่อหน้า 14 เกี่ยวกับการหายตัวไปของบิลลี่และการบังคับให้บุคคลสูญหายดังนี้

การบังคับให้บุคคลสูญหาย

ย่อหน้าที่ 14. คณะกรรมการฯยินดีที่รัฐภาคีลงนามในอนุสัญญาเพื่อคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้สูญหาย และยินดีที่คณะผู้แทนได้ให้ถ้อยแถลงว่าจะให้สัตยาบันในอนาคต ทว่าคณะกรรมการฯยังคงวิตกอย่างยิ่งว่า (ข้อ 2, 4, 12, 14 และข้อ16)

(ก) ยังไม่มีนิยามและฐานความผิดการบังคับสูญหายในกฎหมายภายในประเทศ

(ข) ยังมีกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการบังคับให้หายตัวต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ด้านต่อต้านการทุจริตและด้านสิ่งแวดล้อม และผู้ที่เป็นพยานการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น ในกรณีล่าสุด ที่นายพอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมนุษย์ชาวปกากะญอ ที่เป็นที่รู้จักในนาม บิลลี่

มีรายงานว่า การบังคับให้สูญหายเป็นวิธีการคุกคามและการปราบปรามนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน โดยเจ้าหน้าที่ความมันคงและกองกำลังทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทที่มีปฏิบัติการทางทหารเพื่อต่อต้านการแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ของประเทศไทยอย่างเข้มข้น

(ค) ความล้มเหลวในการแก้ปัญหาการบังคับให้บุคคลสูญหายส่วนใหญ่คือการเยียวยาให้ญาติของบุคคลที่สูญหาย และการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ดังที่ปรากฏในหลายกรณี รวมทั้งการหายตัวไปของ นายสมชาย นีละไพจิตร นายจะวะ จาโล (Jahwa Jalo) และนายมะยาเต็ง มะรานอ คณะกรรมการฯตั้งข้อสังเกตด้วยความกังวลว่า คำกล่าวอ้างของคณะทำงานด้านการบังคับให้สูญหายกล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วกรณีที่มีการบังคับให้สูญหายไม่ได้นำไปสู่การฟ้องร้องหรือการตัดสินว่าผู้กระทำมีความผิด รวมทั้งไม่มีการชดเชยเยียวยา เช่นค่าชดเชยที่มีอย่างจำกัดมากในประเทศไทย (A/ HRC / 22/45, ย่อหน้า 457-466)

รัฐภาคีควรใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อป้องกันการบังคับให้สูญหาย และเพื่อการต่อสู้กับการลอยนวลพ้นผิดเนื่องจากความผิดฐานบังคับให้สูญหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง:

(ก) ใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อให้แน่ใจว่า การบังคับให้สูญหายเป็นความผิดทางอาญา ที่ระบุในกฎหมายภายในประเทศไทย ร่วมกับการลงโทษในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำความผิด

(ข) ให้ความมั่นใจว่ากรณีการบังคับให้สูญหายได้รับการสอบสวนอย่างละเอียด ทันที และมีประสิทธิภาพ ผู้ต้องสงสัยจะถูกดำเนินคดี และในกรณีที่พบว่ามีความผิด พึงลงโทษตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของอาชญากรรมของผู้กระทำผิด แม้เมื่อไม่พบตัวหรือไม่พบชิ้นส่วนศพมนุษย์ คณะกรรมการฯขอเตือนรัฐว่า หากมีเหตุอันควรเชื่อว่า มีบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการตรวจสอบ แม้ยังไม่มีการร้องเรียนอย่างเป็นทางการ

(ค) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบุคคลใดที่ได้รับอันตรายอันเป็นผลโดยตรงจากการการบังคับให้สูญหายสามารถมีเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับชะตากรรมของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ รวมทั้ง ได้รับการสนับสนุนทางจิตใจ ทางสังคม และทางการเงินที่จำเป็น คณะกรรมการฯขอเตือนรัฐภาคีว่า สำหรับสมาชิกครอบครัวของผู้ถูกบังคับให้สูญหาย การบังคับให้บุคคลใดสูญหายอาจก่อให้เกิดการละเมิดอนุสัญญาต่อต้านการทรมานด้วย;

(ง) ยอบรับมาตรการเพื่อชี้แจงกรณีผู้ถูกบังคับให้สูญหายที่ยังคงค้างอยู่ และอำนวยความสะดวกต่อคำร้องขอเยือนประเทศไทยของคณะทำงานด้านการบังคับให้บุคคลสูญหาย (A/HRC/22/45, ย่อหน้า 471)

(จ) เร่งรัดกระบวนการของรัฐเพื่อดำเนินการภาคยานุวัติอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย

เอกสารฉบับเต็มภาษาอังกฤษสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://tbinternet.ohchr.org/Treaties/CAT/Shared%20Documents/THA/CAT_C_THI_CO_1_17277_E.doc

เอกสารฉบับเต็มภาษาไทยสามารถดาวน์โหลดได้ที่
https://crcfthailand.org/2014/06/03/ebook-3437

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading

Discover more from มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading