[:th]CrCF Logo[:]

เชิญสื่อมวลชน ร่วมทำข่าวรายงานข้อเสนอของยูเอ็น ต่อประเทศไทย กรณีการต่อต้านการทรมาน

Share

เชิญสื่อมวลชนร่วมทำข่าว รายงานฉบับแรกของไทยตาม อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (CAT)

การประชุม: สรุปข้อสังเกตคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน (23 พฤษภาคม 2557)

เนื่องด้วย ในช่วงสามวันระหว่าง 29 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2557 ตัวแทนของรัฐบาลไทยเสนอรายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานเป็นฉบับแรกต่อคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) ณ กรุงเจนีวา ซึ่งไทยให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม และมีผลบังคับใช้ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมา

ช่วงที่ไทยให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ นับเป็นความก้าวหน้าสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนของราชอาณาจักรแห่งนี้ ไทยยังคงมีชื่อเสียงในฐานะมีการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนร้ายแรงสุดสามประการ ทั้งการใช้โทษประหาร การเอาคนลงเป็นทาส และการซ้อมทรมาน

คณะกรรมการต่อต้านการทรมาน (CAT) ประกอบด้วยผู้ชำนาญการอิสระ 10 ท่าน ซึ่งคอยตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ของรัฐภาคี ซึ่งจำเป็นต้องส่งมอบรายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติตามอนุสัญญาภายในหนึ่งปี นับแต่อนุสัญญามีผลบังคับใช้ การส่งมอบรายงานครั้งแรกถือเป็นการปฏิบัติที่มีเกียรติ เป็นโอกาสให้รัฐแสดงเหตุผลว่าเหตุใดจึงปฏิเสธไม่ให้มีการซ้อมทรมานต่อหน้าคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน แต่ถือว่าไทยส่งรายงานช้าไปห้าปี

โดยในครั้งนี้มีตัวแทน 23 ท่านของรัฐบาลไทยที่เข้าเสนอรายงาน และมีการขอให้อธิบายว่าเหตุใดจึงมีความล่าช้าอย่างมากในการส่งรายงาน คณะผู้แทนของไทยประกอบด้วย พ.ต.อ.ดร. ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย นักการทูตสี่ท่าน นักวิชาการอาวุโสสองท่านและผู้ช่วยหนึ่งท่าน เจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโสสามท่าน ผู้แทนทหารหนึ่งท่านจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า และตัวแทน 11 ท่านจากกระทรวงต่างๆ ในปี 2557 หนึ่งในสองประเทศทั่วโลกยังคงมีการซ้อมทรมาน และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศเผด็จการ แต่รวมถึงประเทศที่เป็นประชาธิปไตยด้วย

การซ้อมทรมานและการป้องกันไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง แต่เป็นการปฏิบัติมิชอบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานสุดของพลเรือน เป็นสิทธิที่ไม่อาจละเมิดและละทิ้งได้ ไม่ว่าจะด้วยแรงจูงใจหรือพฤติการณ์อย่างใด

ในข้อสังเกตลงวันที่ 23 พฤษภาคม คณะกรรมการแสดงความกังวลอย่างลึกซึ้งต่อการประกาศกฎอัยการศึก และเรียกร้องให้รัฐภาคีแห่งนี้ยึดมั่นในข้อห้ามอย่างเบ็ดเสร็จต่อการซ้อมทรมาน และประกันว่าการนำกฎอัยการศึกมาใช้ จะไม่นำไปสู่การละเมิดสิทธิใด ๆ ที่มีการรับรองในอนุสัญญาฉบับนี้

หลังจากการแสดงข้อกังวลของคณะกรรมการและความรู้สึกรับผิดชอบของบรรดาผู้เข้าร่วมประชุมในการเสนอรายงานฉบับแรกของรัฐบาลไทย องค์กรภาคประชาสังคมต่อไปนี้จะได้เสนอข้อสังเกตเชิงสรุปของคณะกรรมการต่อต้านการทรมานฉบับแปลเป็นไทย เรายังได้รับแรงกดดันจากความเร่งด่วน เนื่องจากการส่งมอบรายงานฉบับแรกล่าช้าอย่างมาก ในระหว่างที่มีความล่าช้าถึงห้าปี ไม่รู้ว่ามีกี่คนที่ถูกซ้อมทรมาน?

นอกจากนั้น มีหลักฐานชี้ว่าการใช้กำลัง การจับกุมผู้บริสุทธิ์ และการซ้อมทรมานเพื่อบังคับให้รับสารภาพในจังหวัดชายแดนใต้ ส่งผลให้ความรุนแรงเพิ่มขึ้นมากมาย (“South chaos hits new low”, Bangkok Post, 30 พฤษภาคม 2557) ปัญหาเหล่านี้เป็นประเด็นหลักที่มีการนำเสนอในรายงานข้อสังเกตเชิงสรุปของคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน เราจะนำเสนอบทแปลข้อสังเกตเชิงสรุปนี้ เพื่อเป็นแนวทางชี้ให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปฏิรูป และสนับสนุนข้อเสนอแนะให้มีการกระจายอำนาจการบริหารเพื่อแก้ไขวิกฤตครั้งนี้

จึงใคร่ขอเรียนเชิญสื่อมวลทำข่าวและ ร่วมรับฟังการนำเสนอรายงานดังกล่าว ในอังคารที่ 3 มิถุนายน 2557 เวลา 14.00-15.30 น.สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน (สนค.) เชิงสะพานหัวช้าง กรุงเทพมหานคร

ผู้นำเสนอรายงาน
1. อังคณา นีละไพจิตร มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
2. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
3. คิงสลีย์ แอ๊บบอต คณะกรรมการนิติสาสตร์สากล
4. แดนทอง บรีน, สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

เอกสารประกอบ สรุปข้อสังเกตคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน (23 พฤษภาคม 2557)
ติดต่อประสานงานและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02 2754231-2 Email: uclthailand@gmail.com

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab
Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab