[:th]CrCF Logo[:]
หลักการควบคุมตัวตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชน

มาตราฐานสากลในเรื่องการห้ามทรมานอย่างเด็ดขาด ได้กำหนดหลักการควบคุมตัวตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชน

Share

1. สิทธิที่จะได้พบทนายที่ตนเองเลือก

  • สิทธิที่จะได้พบทนายความของตนโดยพลัน โดยการเข้าถึงทนายความต้องเกิดขึ้นอย่างทันทีภายหลังการจับกุมและภายใน 24 ชั่วโมง
  • ผู้ถูกควบคุมตัวทุกคนต้องได้รับแจ้งว่าเขามีสิทธิในการพบทนายความของเขาเอง
  • การสื่อสารกับทนายความหรือสิทธิที่จะปรึกษาหารือหรือสื่อสารนั้นควรได้รับทันทีและปราศจากการแทรกแซง เซ็นเซอร์ และการพบกับทนายความเป็นความลับได้
  • ทนายความควรเป็นอิสระจากเจ้าพนักงานของรัฐ
  • บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นทนายความหรือผู้ช่วยทนายความที่ไม่มีใบอนุญาตอย่างเป็นทางการ เช่น เจ้าหน้าที่องค์กรสิทธิมนุษยชน ควรจะได้รับอนุญาตให้พบกับผู้ถูกควบคุมตัวและได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับทนายความ

2. สิทธิที่จะได้พบญาติหรือเพื่อเพื่อให้ผู้ถูกคุมขังไม่ได้ถูกห้ามติดต่อสื่อสาร และบุคคลที่สามได้รับรู้ว่าเขาถูกคุมขังที่ใด

  • เจ้าพนักงานที่ทำการจับกุมต้องแจ้งญาติ ครอบครัวหรือเพื่อนให้รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น สามารถติดต่อกันได้ที่ไหนอย่างไร ระบุวิธีการสื่อสาร เช่น แจ้งเบอร์โทรศัพท์ บุคคลที่ต้องการพบกับผู้ถูกควบคุมตัวควรได้รับการอำนวยความสะดวกและเวลาที่เหมาะสม โดยไม่มีการข่มขู่ คุกคามทั้งต่อญาติและผู้ถูกควบคุมตัว

3. สิทธิที่จะได้พบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการตรวจร่างกายและรายงานผลการตรวจร่างกาย (และเพื่อสามารถนำมาใช้ในกระบวนการกล่าวโทษผู้กระทำการทรมาน)

  • ผู้ถูกควบคุมตัวควรได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์หรือถ้าจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาล
  • ให้ได้รับการตรวจร่างกายโดยทันทีหลังการถูกจับกุมควบคุมตัว
  • แพทย์ที่ทำการตรวจต้องร้องขอให้ตรวจร่างกายโดยพ้นสายตาของเจ้าพนักงานของรัฐ
  • ผู้ควบคุมตัวหรือทนายความควรได้รับสิทธิในการร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้มีการตรวจร่างกายครั้งที่สองได้
  • เจ้าหน้าที่นิติเวชไม่ควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานเดียวกับทหารหรือตำรวจหรือราชทัณฑ์ แต่อยู่ภายใต้หน่วยงานด้านยุติธรรมที่เป็นอิสระ
  • ผู้ถูกควบคุมตัวควรได้รับสิทธิในการพบแพทย์ที่เป็นอิสระ
  • ในกรณีที่เป็นชาวต่างชาติ สิทธิที่จะได้พบกับตัวแทนสถานทูตหรือสถานกงสุล ที่จะสามามรแทรกแซงการปฏิบัติของเจ้าพนักงานรัฐเพื่อรักษาสิทธิของผู้ถูกคุมขัง