[:th]CrCF Logo[:]

ภาคประชาสังคมจัดส่งรายงานการบังคับส่งกลับ การปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม กรณีชาวโรฮิงยา

Share

ใบแจ้งข่าว ภาคประชาสังคม จัดส่งรายงานการบังคับส่งกลับ และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีต่อกรณีชาวโรฮิงยา รวมทั้งสภาพปัญหาการควบคุมตัวตามกฎหมายคนเข้าเมือง ต่อผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่พักพิง และแรงงานข้ามชาติต่อองค์การสหประชาชาติ

ตามที่องค์กรเครือข่ายได้แก่ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม, กลุ่มด้วยใจ จ. สงขลา, เครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติ จชต., เครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี, มูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล และมีองค์กรที่สนับสนุนการจัดทำรายงาน และการจัดส่งรายงานต่อคณะกรรมการฯได้แก่ เครือข่ายแรงงานแม่โขง, สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน, ศูนย์พิทักษ์ และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น เชียงใหม่, สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังคนไร้รัฐ, มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา, สถาบันพัฒนานักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน, ศูนย์ปฎิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.) สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย และมูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้จัดส่งรายงานคู่ขนานต่อคณะกรรรมการต่อต้านการทรมานขององค์การสหประชาชาติไปแล้วนั้น

ในรายงานคู่ขนานฉบับที่ทางมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและองค์กรเครือข่ายได้จัดทำขึ้น นอกจากนำเสนอประเด็นเรืื่องการทรมานในสถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้แล้ว รายงานบทที่ 5 ถึงบทที่ 7 ได้นำเสนอถึงข้อบทที่เกี่ยวกับการบังคับส่งกลับบุคคล เช่นแรงงานข้ามชาติ ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย หรือผู้ลี้ภัย ไปสู่อันตรายหรือความเสี่ยงว่าจะถูกทรมาน โดยมีข้อเสนอดังนี้

1. ประเทศไทยต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนเเละต้องยึดหลักการไม่ส่งกลับบุคคลไปสู่อันตราย ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ข้อ 3 ซึ่งเป็นหลักกฎหมายมูลนิติธรรมประเพณีระหว่างประเทศ

2. ในการส่งกลับผู้ลี้ภัยหรือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง ประเทศไทยไม่ควรถือว่าคำมั่นทางการทูตเป็นการรับรองที่เพียงพอ เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงว่า รัฐบาลประเทศนั้นๆ ที่ทำให้ประชาชนของตนถูกประหัตประหารเเละจนบางคนต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยหรือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยในเบื้องเเรก

3. เจ้าหน้าที่ไทยต้องคัดกรองผู้อพยพทันทีที่ทำได้ เพื่อระบุกลุ่มผู้อพยพที่มีความเปราะบาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือ ผู้ที่มีโอกาสจะได้รับสถานะผู้ลี้ภัย เเละผู้ที่อาจถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น ผู้ถูกบังคับใช้แรงงาน เเละส่งต่อผู้อพยพไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ควรดำเนินการสัมภาษณ์ผู้อพยพโดยเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดฐานการเข้าเมืองผิดกฎหมายเข้าสู่ศาล

4. ในส่วนที่อาจมีข้อกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ มีข้อเสนอให้ดำเนินการเพื่อกวาดล้างเครือข่ายเจ้าหน้าที่ที่ทุจริต ซึ่งเกี่ยวพันกับขบวนการค้ามนุษย์ เเละกวาดล้างเครือข่าค้ามนุษย์

ในบทที่ 7 เรื่องการควบคุมตัวตามกฎหมายคนเข้าเมือง มีข้อเสนอดังนี้

5. ยุติการกักตัวผู้ลี้ภัยเเละผู้เเสวงหาที่ลี้ภัยในสถานที่กักกันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยเริ่มยุติการกักตัวเด็ก สตรี เเละผู้อ่อนแอ รวมทั้งหาทางเลือกอื่นๆ ที่เเสดงถึงการเคารพกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมาใช้แทนการกักตัว

6. ประเทศไทยต้องใช้วิธีการอื่นๆ แทนการจับกุม กักตัว เเละส่งกลับประชากรที่อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมายอย่างจริงจัง ประเทศไทยต้องปฏิรูปกระบวนการจับกุม กักตัว เเละส่งกลับ ให้เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม โปร่งใส เเละมีการตรวจสอบในระบบตุลาการที่เป็นอิสระ ซึ่งต้องนำมาใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเเละไม่สามารถหลีกเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมายได้เท่านั้น

7. เจ้าหน้าที่ควรใช้มาตรการการย้ายเด็กเเละสตรีชาวโรฮิงญาจากห้องกักสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดไปอยู่ที่บ้านพักของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พ.ศ. 2556 ต่อไป นโยบายนี้ควรใช้กับผู้ต้องกักสัญชาติอื่นๆ ที่มีครอบครัวเเละมีบุตรในวัยเยาว์ที่ถูกกักตัวในห้องกักสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่กรุงเทพฯ เเละห้องกักของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในจังหวัดอื่นๆ ด้วย

8. ในระยะยาวประเทศไทยควรพัฒนากรอบกฎหมายเเละนโยบายในประเทศ ให้คำนึงถึงสถานะเเละสิทธิของของผู้ลี้ภัยเเละผู้เเสวงหาที่ลี้ภัย ซึ่งจะทำให้สามารถยุติการกักตัวเเละการบังคับส่งกลับบุคคลที่เปราะบางเหล่านี้ไปสู่อันตราย เเละต้องยกเลิกการกักตัวโดยไม่มีกำหนดในภาษากฎหมาย เนื่องจากเป็นการให้อำนาจโดยไม่มีข้อจำกัดแก่เจ้าหน้าที่

9. ประเทศไทยควรให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสาร ค.ศ. 1967

10. ก่อนการเเสวงหามาตรการอื่นๆ เพื่อใช้แทนการกักตัว เเละสร้างกรอบกฎหมายเเละนโยบายในประเทศ ประเทศไทยต้องดำเนินการปรับปรุงสถานที่กักกันตามกฎหมายคนเข้าเมือง ดังนี้

11. ปรับปรุงสภาพห้องกักโดยรวมทั่วประเทศ ผู้ต้องกักทุกคนต้องสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่เพียงพอเเละทันท่วงที

12. สร้างกลไกเพื่อคัดกรองผู้ลี้ภัยเเละผู้แสวงหาที่ลี้ภัย เเละเเยกกลุ่มบุคคลดังกล่าวจากผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายทั่วไป เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นได้รับสิทธิอันพึงได้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ระหว่างที่ถูกกักตัวอยู่ที่สถานที่กักตัวตามกฎหมายคนเข้าเมือง

13. ให้บริการสนับสนุนด้านจิตใจเเละสังคมแก่ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยที่ต้องกัก เนื่องจากกลุ่มบุคคลเหล่านี้มีความเสี่ยงด้านความเครียดเเละความบอบช้ำทางจิตใจสูงจากประสบการณ์ที่ต้องหลบหนีการประหัตประหาร เเละมักถูกกักตัวเป็นระยะเวลานานระหว่างที่สำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยเเห่งสหประชาชาติดำเนินการพิสูจน์เเละรับรองสถานะ เเละบุคคลเหล่านี้ยังเผชิญความไม่เเน่นอนว่าจะได้รับสถานะหรือไม่

เอกสารฉบับเต็มภาษาอังกฤษ

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [213.00 B]

เอกสารฉบับเต็มภาษาไทย ฉบับย่อ

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [261.00 KB]