[:th]CrCF Logo[:]

แถลงการณ์ร่วม รัฐบาลไทยต้องสืบสวนการหายตัวไปของบิลลี่ อย่างเร่งด่วน

Share

แถลงการณ์ร่วม คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF) และสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนษยชน (HRLA) เผยแพร่วันที่ 28 เมษายน 2557 รัฐบาลไทยต้องสืบสวนการหายตัวไปของบิลลี่อย่างเร่งด่วน

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CRCF) และ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนษยชน (HRLA) เรียกร้องให้รัฐบาลไทย ดำเนินการสืบสวนอย่างละเอียดและเป็นกลางของการ หายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ซึ่งถูกพบเห็นครั้งสุดท้าย ภายใต้การควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557

การเรียกร้องครั้งนี้เกิดขึ้นจากการลงพื้นที่ร่วมกันที่จังหวัดเพชรบุรีซึ่งอยู่ทำตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงเทพฯ เพื่อที่จะยืนยันข้อเท็จ จริงที่อยู่แวดล้อมการหายตัวไปของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557 ICJ CRCF HRLA ได้เดินทางไปที่อำเภอแก่งกระจาน โดยเข้าไปตรวจสอบด่านตรวจที่บิลลี่ถูกพบเห็นเป็นครั้งสุดท้าย ได้สังเกตการณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่ ตำรวจในพื้นที่และ สัมภาษณ์พยานหลัก ซึ่งรวมถึงภรรยาของบิลลี่และนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าสำนักงานอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557 นางสาวพิณนภา พฤษาพรรณ ภรรยาของนายบิลลี่ได้ยื่นคำร้อง ต่อศาลจังหวัด เพชรบุรีขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกให้ส่งตัวผู้ถูกคุมขังมาศาล ภายหลังการไต่สวนของศาล ศาลได้ออกหมายเรียกนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร และเจ้าหน้าที่หนึ่งคนให้มาที่ศาลจังหวัดเพชรบุรีในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557 เพื่อตอบคำถาม เรื่องที่อยู่ของนายบิลลี่

“การได้ลงไปพื้นที่จังหวัดนั้นได้ยืนยันข้อกังวลว่าบิลลี่อาจถูกบังคับให้หายตัวไป” นายแซม​ ซาริฟี่ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกกล่าว “หากเป็นกรณีดังกล่าวจริง กรณีนี้ถือเป็นอาชญกรรมที่ร้ายแรงอย่างยิ่งภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และรัฐบาลต้องแสดงให้เห็นถึงพันธสัญญา ในการระบุตัวผู้ต้องสงสัยและดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมต่อผู้กระทำ ความผิดดังกล่าว”

ทางคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนแนะนำให้รัฐบาลไทย

  • ดำเนินการค้นพื้นที่ที่บิลลี่ถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายอย่างละเอียดรอบคอบ
  • ยึดหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งรวมถึงภาพจากกล้องทีวีวงจรปิดในพื้นที่
  • เก็บหลักฐานซึ่งเป็นบันทึกการใช้โทรศัพท์ของบิลลี่ เพื่อนของเขา และเพื่อนร่วมงาน รวมถึงของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะระบุการใช้โทรศัพท์โทรออกในช่วงเวลาวันเวลาที่เกี่ยวข้องและเพื่อระบุการเคลื่อนไหวของเขา

ทางคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ยังเรียกร้อง ให้ทางฝ่ายกระบวนการยุติธรรมไทยว่าก่อนวันที่ 30 เมษายน ที่จะมีการไต่สวนเจ้าหน้าที่ ทางพยานและญาติ ของบิลลี่จะได้รับการคุ้มครองและ มีการเก็บหลักฐานทั้งหมดรวมถึงภาพจากกล้องวงจรปิด และบันทึกการใช้โทรศัพท์มือถือ อยูในสภาพที่ปลอดภัย

ภายหลังจากการพูดคุยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทางคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนสามารถ สรุปได้ว่า

เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.​2557 บิลลี่ได้ออกจากหมู่บ้านป่าเด็ง ที่เขาอยู่กับภรรยาและลูกทั้งห้าคน และเดินทางโดยรถจักรยานยนต์ฮอนด้าสีเหลืองไปที่หมู่บ้านบางกลอยซึ่งเป็นที่อยู่ของแม่เขาทั้งสองหมุ่บ้านที่กล่าวมานั้นอยู่ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. ​2557 คู่สามีภรรยาเห็นบิลลี่นั่งอยู่ภายนอกของด่านตรวจเขามะเร็ว กับรถจักรยานยนต์ของเขา บันทึกของด่านตรวจแสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเวลา 1617 ในตอนบ่าย ด่านตรวจดังกล่าวตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติ อยู่บนถนนเพียงสายเดียวที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านบางกลอย กับอำเภอ แก่งกระจาน ทั้งคู่สามีภรรยาได้คุยกับบิลลี่ อย่างสั้นๆ บิลลี่บอกทั้งสองว่าเขาเพิ่งกลับลงมาจากหมู่บ้านบางกลอย

นายชัยวัฒน์ ลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บอกกับ ICJ CRCF และ HRLA ว่าได้ทราบว่ามีคนครอบครองน้ำผึ้งป่า และนายชัยวัฒน์ได้เดินทางมายังด่านตรวจมะเร็ว ที่ที่เขาได้พบบิลลี่ เวลาประมาณ 17.00 น. บิลลี่ถูกควบคุมตัวเนื่องจากครอบครองน้ำผึ้งป่าห้าขวด พยานได้บอกกับ ICJ CRCF และ HRLA ว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติ เนื่องจากสถานการณ์แบบนี้เจ้าหน้าที่มักจะยึดน้ำผึ้งโดยไม่ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย

นายชัยวัฒน์ ลิขิตอักษร ซึ่งกล่าวว่าเขาไม่เคยรู้จักบิลลี่ ณ ขณะนั้น เขาตัดสินใจพาบิลลี่ไปที่ศูนย์ประสานงาน หน่วยลาดตระเวนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเพื่อไปสอบปากคำ เขาได้สั่งให้้ยกจักรยานยนต์ของบิลลี่ขึ้นหลัง รถกระบะ เขาได้ขับรถพาบิลลี่ในเส้นทางของศูนย์ประสานงานพร้อมกับ เจ้าหน้าที่ทั้งสามนาย บิลลี่ได้นั่งภายในแคปของ รถกระบะ ภายหลังการสอบถาม ในยานพาหนะเขาตัดสินใจ ที่จะปล่อยตัวบิลลี่ เนื่องจากเขาครอบครองน้ำผึ้ง ในปริมาณไม่มาก เขากล่าวว่าประมาณเวลา 17.30 น. เขาได้หยุดรถระหว่างทางก่อนแยกบ้านมะค่า สั่งให้ยกรถจักรยานยนต์ของบิลลี่ลงและทิ้งบิลลี่ไว้ข้างถนน ในขณะที่ฝนตกหนัก นี่เป็นเวลาครั้งสุดท้ายที่มีคนกล่าวอ้างว่าได้เห็นบิลลี่

แม้ว่าจะมีการพยายามติดต่อบิลลี่อย่างมาก เพื่อนและครอบครัวของบิลลี่ไม่มีใครได้ข่าวจากเขา ภายหลังที่มีคน เจอตัวเขา ณ เวลา 16.17 น. วันที่ 17 เมษายน ที่ด่านตรวจ ผู้ใหญ่บ้านบางกลอย ซึ่งได้นัดกับบิลลี่ที่บ้านของตน ในอำเภอแก่งกระจานในเย็นวันนั้นได้กล่าวว่าเขาได้รับโทรศัพท์เวลาประมาณ 18.00น. จากเจ้าหน้าที่ว่าบิลลี่ถูกจับ เนื่องจากครอบครองน้ำผึ้ง ทั้งนี้เจ้าหน้าที่คนนั้นยังได้แนะนำผู้ใหญ่บ้านให้ไปที่สถานีตำรวจแก่งกระจานเพื่อ ประกันตัวบิลลี่ อย่างไรก็ดีเนื่องจาก ณ ขณะนั้นเป็นเวลาค่ำแล้วผู้ใหญ่บ้านจึงไม่ได้ไปที่สถานีตำรวจ

เช้าวันรุ่งขึ้น ผู้ใหญ่บ้านได้โทรไปที่สถานีตำรวจแก่งกระจานเพื่อที่จะถามเรื่องบิลลี่ แต่ทางสถานีตำรวจได้บอกว่าบิลลี่ ไม่ได้อยู่ที่นั่นในตอนบ่ายผู้ใหญ่บ้านได้เดินทางไปที่สถานีตำรวจซึ่งทางตำรวจได้ปฏิเสธว่าบิลลี่ไดู้กจับไปอยู่ที่นั่น เวลาประมาณ 21.00น. ผู้ใหญ่บ้านได้เดินทางกลับไปยังสถานีตำรวจดังกล่าวเพื่อแจ้งความบุคคลหาย

​ภรรยาของบิลลี่ได้กล่าวว่าบิลลี่ไม่เคยไปไหนเป็นเวลานานและทั้งคู่ไม่เคยมีเรื่องทะเลาะกัน

ก่อนการหายตัวไปอย่างปรากฎชัดของบิลลี่ บิลลี่ได้เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแม่เพรียง เขาทำงานกับชาวบ้าน กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและนักเคลื่อนไหวในการดำเนินการทางกฎหมาย ชาวบ้านยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน

ชาวบ้านกล่าวหาว่าในปี พ.ศ. 2554 เจ้าหน้าที่รัฐได้เผาและทำลายทรัพย์สินและบ้านเรือยของชาวบ้านจำนวนว 20 ครอบครัว ที่อาศัยในอุทยานแห่งชาติ บิลลี่เป็นผู้ประสานงานที่ทำงานกับผู้ร้องทุกข์และเป็นล่ามในกระบวนการ เขาได้วางแผนที่จะยื่น ฎีการ้องทุกข์ต่อในหลวง

มีแหล่งข่าวที่สามารถเชื่อได้ว่าบิลลี่ได้มีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวในขณะที่ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว

“ข้อเท็จจริงที่ว่าบิลลี่นั่นมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อพิพาททางกฎหมายกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นคนควบคุมตัวเขานั้นทำให้นึกถึงสิ่งที่น่ากังวลเหมือนกันกับการหายตัวไปที่สำคัญของ นายสมชาย นีละไพจิต” แซมกล่าวเพิ่มเติม ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547 นายสมชาย นีละไพจิต ทนายความมุสลิมด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญในประเทศไทย ถูกบังคับให้หายตัวไปในกรุมเทพฯ ได้ไม่นานหลังจากที่ได้เริ่มการดำเนินการทางกฎหมายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งถูกกล่าวหาว่าได้ทรมานลูกความของเขา

การหายตัวไปอย่างชัดเจนของบิลลี่ภายหลังการลอบสังหารนาย ทัศน์กมล โอบอ้อม นักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำงานร่วมกับบิลลี่ เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าสำนักงานอุทยานแห่งชาติ แก่งกระจานได้ถูกกล่าวหาว่าได้จ้างวานฆ่า นายทัศน์กมล และคดีนี้ได้อยู่ที่ศาลจังหวัดเพชรบุรี แม้ว่าจะมีข้อกล่าวหา ดังกล่าวแต่นายชัยวัฒน์หาได้ถูกย้ายจากตำแหน่งไม่

ระหว่างการสืบสวนการหายตัวไปอย่างชัดเจนของนายบิลลี่ นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ควรถูกพักงานจากตำแหน่งหน้าที่ มาตรา 16 ของอนุสัญญาป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ ระบุว่าบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการ บังคับบุคคลให้หายสาบสูญความถูกพักงานจากตำแหน่งหน้าที่ในระหว่างการสืบสวน

ประเทศไทยตามพันธกรณีระหว่างประเทศทางกฎหมายที่ไทยได้เป็นภาคอยู่ทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน ต้องสืบสวน ฟ้อง ลงโทษ และเยียวยาชดเชยสำหรับ อาชญกรรม การบังคับ ให้หายสาบสูญ

ในฐานะที่ไทยได้ไปลงนามอนุสัญญาป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 รัฐบาลไทยได้ส่งสัญญาณในการยอมรับความร้ายแรงของอาชญกรรมการบังคับให้หายสาบสูญและการผูกมัดในการต่อสู้กับ
ความผิดดังกล่าว

อนุสัญญาป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับได้รับรองว่าเป็นสิทธิเด็ดขาดว่าจะไม่ถูกบังคับให้หายตัวไป และวางพันธกรณีว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะกำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญา และกำหนดโทษที่เหมาะสม โดยพิจารณาถึงความร้ายแรงอย่างยิ่ง

อนุสัญญานิยามการถูกบังคับให้หายสาบสูญว่า “การจับกุม การคุมขัง การลักพาตัว หรือการกระทำรูปแบบ อื่นๆ ที่เป็นการทำให้เสียไปซึ่งเสรีภาพ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือโดยบุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลที่กระทำการโดยได้รับอนุญาติ การสนับสนุน หรือการยินยอมจากรัฐ โดยตามมาซึ่งการปฏิเสธที่จะยอมรับการทำให้เสียไปซึ่งเสรีภาพ หรือการปกปิดชะตากรรมหรือที่อยู่ของบุคคลที่หายตัวไป โดยการให้บุคคลนั้นอยู่ภายนอกการคุ้มครองของกฎหมาย”