[:th]CrCF Logo[:]
Thai Euro

บันทึกย่อการประชุมการขอรับทุนอียูในประเทศไทย วันที่ 13 กพ. 2557 โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพ

Share

บันทึกย่อการประชุมการขอรับทุนอียูในประเทศไทย วันที่ 13 กพ. 2557 โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพ

การให้ทุนของอียูในปรเทศไทยเริ่มต้นในปี 1990 ประเทศไทยอยู่ในระดับกลางด้านการพัฒนา และไม่ได้อยู่ในฐานะผู้รับทุน ต่อมามีการพัฒนาความสัมพันธ์ในลักษณะความสนใจร่วม ไม่ใช่การพัฒนาจากยุโรปสู่ประเทศไทย เช่น การเจรจาพูดคุยกับองค์กรภาครัฐในหัวข้อที่สนใจร่วมกัน การค้าการลงทุน การศึกษา ปรับเปลี่ยนสภาพอากาศ เรื่องธรรมภิบาลและสิทธิมนุษยชน

การให้ทุนของอียู ที่ผ่านมาเป็นงบประมาณให้กับ CSOs เช่นโครงการ Environmental and Natural Resources Thematic Program (ENRTP) เคยให้งบประมาณ 4 โครงการภูมิภาค โคงการ Switch Asia `โครงการ สองโครงการ และโครงการ Aid to uprooted program (AUP)

โครงการสำหรับภาคประชาสังคมที่ไม่ใช่รัฐ NSA/ องค์การของรัฐระดับท้องถิ่น (LA) in 2007 เป็นการวางยุทธศาสตร์ใหม่ สำหรับการทำงานกับภาคประชาสังคมและหน่วยงานรัฐท้องถิ่น โดยทางอียูจะไม่ให้ทุน 100 % องค์กรที่เข้าร่วมจะต้องร่วมสมทบทุนเสมอ

หลักการสำคัญของการให้ทุนของอียูคือ

1. ต้องเกิดจากการระบุปัญหาจากคนในไทย
2. ตอบสนองความต้องการของคนชายขอบทั้งหลาย
3. มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของไทย
4. ให้มีบทบาทของภาคประชาสังคมและภาครัฐร่วมกัน

เอกสารยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรปที่สำคัญและควรศึกษาคือ

1. Agenda for Change 2011
2. Roots of Democracy and Sustainable Development: EU engagement with CSOs 2012

ปัญหาชายแดนภาคใต้ อียูสนับสนุน

เมื่อปี 2009 3 ล้าน 2009 รับงบ 1 ล้าน
เมื่อปี 2010 6 ล้าน 2010 รับงบ 2 ล้าน
ทางอียู พบว่าปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคมไม่ใช่เฉพาะจังหวัดชายแดนใต้ ขยายงานมาทั่วประทศ 2011 – 3 ล้าน และ LA `1 ล้านยูโร ต่อมาในปี 2012 จัดทำโครงการทั่วประเทศ สำหรับ NSA –4.8 ล้านยูโร

สรุป อียูให้การสนับสนุนโครงการทั้งหมด – NSA 36 โครงการที่ผ่านมา เป็น CSOs —31 โครงการ และเป็นอปท 5 โครงการ ร่วมทั้งสิ้น 19 millions ยูโร

วิเคราะห์สภาพปัญหาของสังคมไทยคือ แม้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่มีผลลบด้านอื่น เช่น

1. ความแตกต่างระหว่างชนบทและเมือง
2. ปัญหาทางภาคใต้
3. กลุ่มเสี่ยง ชนชายขอบ
4. การตัดสินทางการเมืองแบบรวมศูนย์
5. ความมั่นคงของประเทศและความเครียดของสังคม

ความแข็มแข็งของประเทศไทย มีด้วยกันหลายด้านเช่น ทรัพยากรทางสังคมของประเทศไทย มีองค์กรภาคประชาสังคมจำนวนมากมาย กฎหมายเน้นการกระจายอำนาจ องค์กรรากหญ้าจำนวนมากมายประกอบกัน ซึ่งสามารถต่อยอดการทำงานตามแนวทางที่อียูต้องการสนับสนุนได้

แต่ก็มีจุดอ่อนของภาคประชาสังคม คือการทำงานเครือข่ายที่ยังไม่เข็มแข็ง และขาดประสบการณในการบริหารโครงการทุนขนาดใหญ่

โดยทางอียูมีข้อสรุปว่า

1. จะไม่สนับสนุนการให้ทุนการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน แต่อาจจะให้กรณีการส่งเสริมการเข้าถึง
2. จะไม่ให้ทุนโครงการเช่น การสร้างถนน สร้างศูนย์อนามัย
3. จะไม่ให้ทุนโครงการไทย-ลาว ไทย-พม่า
4. จะไม่ให้ทุนกับกลุ่มผุ้ลี้ภัยจากพม่า เพระาจะมีงบแยกต่างหาก

วัตถุประสงค์ของการเปิดรับการสมัครขอรับ ทุนในครั้งนี้

1. พัฒนาศักยภาพขององค์กรชายขอบ
2. ให้การสนับสนุนกิจกรรมในการตระหนักถึงสิทธิของชนกลุ่มน้อย
3. สร้างเวทีในการเจรจาและพูดคุยระหว่าง Csos, Csos และ รัฐ
4. การมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายของชุมชน ไม่ใช่การตัดสินใจโครงการจากส่วนกลางเท่านั้น

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • โครงการจะต้องเป็นความคิดริเริ่มของคนในพื้นที่ และการมีส่วนร่วมทั้งก่อนและระหว่างการทำโครงการ รวมทั้งมีตัวชี้วัดเรื่องการมีส่วนร่วม
  • โครงการต้องเป็นการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรท้องถิ่น
  • โครงการต้องสะท้อนถึงการร่วมมือกันอย่างมีคุณภาพระหว่างCsos ด้วยกันเองและระหว่าง Csos กับรัฐ

ผู้สมัครขอรับทุน

ถ้าผู้สมัครหลักเป็นองค์กรจากยูโรป จะต้องมีความร่วมมืออย่างมีคุณภาพ (ริเร่ิมจากคนในพื้นที่ ตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ ร่วมทั้งการพัฒนาศักยภาพด้วย) ผู้สมัครเป็นองค์กรไทย จะมีองค์กรร่วมหรือไม่ก็ได้ การมีบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินสำคัญ เพราะทางอียูพิจารณาว่าอปท.ใกล้เคียงกับรัฐและใกล้กับประชาชนมากที่สุด

ระยะเวลาโครงการ- 24-48 เดือน

Demand driven program โครงการพื้นที่ทำงานในประเทศไทยเท่านั้น เน้น

1. สร้างความเข็มแข็งให้กับคนทำงานด้านศักยภาพ การบริหารจัดการ
2. สร้างความเข็มแข็งให้เครือข่ายฯ ที่มีอยู่เดิม หรือเครือข่ายใหม่
3. สร้างเวมีการเจรจาการพูดคุยเพื่อถกปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม
4. สร้างส่งเสริมความโปร่งใส่ในอปท.

ในภาคใต้ เสริมสร้างความเข้าใจผู้มีส่วนได้เสีย และร่วมกันสร้างสันติภาพ เช่น ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย สิทธิชุมชน

Visibility – ต้องจัดงบไว้ด้วย
Monitoring and Evaluation – ต้องจัดงบไว้ด้วยเช่นกัน
ประเด็นร่วม เช่น Gender ผู้สูงอายุ เด็กพิการ ก็มีความสำคัญ

โครงการที่เคยได้รับทุนไม่ใช่โครงการทำเพื่อให้เข้ากับวัตถุประสงค์
ข้อสังเกต การรับทุนอียู เจ็บปวดยุ่งยากยาวนาน เร่ิมโครงการปีหน้า เท่าเทียม โปร่งใส่ และรับผิดชอบ เพราะทางอียูก็ต้องเท่าเทียม โปร่งใส และรับผิดชอบต่อสำนักงานตรวจสอบของอียูด้วย

ลักษณะของสัญญา

การให้ทุนช่วยเหลือ ไม่ใช่การจัดทำเพื่อการหากำไร กิจกรรม เน้นการสร้างศักยภาพขององค์กรพัฒนาเอกชน ไม่เน้นจนท.รัฐ
และให้ทุนย้อนหลังไม่ได้

ใครสามารถขอทุนได้

1. Applicant – เป็นทั้ง beneficiaries + และเป็น Coordinator
2. Co-applicant – beneficiaries
3. affiliated entities –
4. Sub grantees

ความสัมพันธ์ Applicants เซ็นสัญญาและทำงานตามกรอบการทำงานตามโครงการที่ได้รับทุน จะรับผิดชอบเรื่องการเงิน การบริหารจัดการการเงิน การบริหารจัดการกิจกรรมของโครงการ และต้องจัดการความสัมพันธ์ภายในระหว่างผู้รับผลประโยชน์โครงการ ย่อยอื่นๆ จัดทำรายงานต่างๆ อียูจะสัมพันธ์กับ Applicants เท่านั้น เช่น จ่ายเงิน รับรายงานฯลฯ

Applicants ต้องเป็นองค์กรที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายในไทยหรือในประเทศยุโรปที่เป็นสมาชิกของ EU
ไม่เป็นอปท. และองค์กรที่ทำงานกับอปท. (Association of local authorities) แต่ต้องมีสำนักงานที่ถาวร อยู่ภายใต้กฎหมาย และต้องเป็นองค์กรที่ทำงานตามวาระที่ได้รับมอบหมายมากจากประชาชน
รัฐที่อยู่ภายใต้องค์กรรัฐส่วนกลาง เช่น หมู่บ้าน เทศบาล ตำบล ซึ่งจะต้อมีการจัดทำ Declaration of applicants

คุณสมบัติของ co- applicants
จดทะเบียน
ไม่แสวงหากำไร

คุณสมบัติของ Affiliated entities
มีสองประเภท
1. Consortium members รวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (ก่อนการส่ง concept note)
2. กลุ่มที่จัดตั้งภายใต้กฎหมายใดกฎหมายหนึ่ง

การได้รับการสนับสนุนในฐานะ Associate รับเงินได้เฉพาะ ค่าเดินทางและค่า perdium เท่านั้น
การได้รับการสนับสนุนในฐานะ Contractors รับเงินได้เฉพาะค่าบริการ (Service contractors ค่าอุปกรณ์ (equipment suppliers)
การได้รับการสนับสนุนในฐานะ Sub- grantees (Financial support to third party)
รับเงินได้เฉพาะบุคคลที่สาม ที่ได้ระบุไว้ในงบประมาณอย่างชัดเจน จำนวนสูงสุด 60,000 ยูโร เฉพาะคนไทย คนในประเทศไทยเท่านั้น
ทุนโครงการ ระหว่าง 300,000-500,000 ยูโร ต่อโครงการ
ต้องดูสัดส่วนของการ sub-grantees (ไม่มากจนเกินไป ดูความเสี่ยงด้วย)
หมายเหตุ ผู้มัครได้สองโครงการ

1. เป็น application หรือcoordinator
2. เป็น co- applicants
เท่ากับว่าสมัครได้มากที่สุดสองโครงการฯ แต่ถ้าสมัครมากกว่านั้นอาจถูกลงโทษโดยไม่มีการพิจารณาใบสมัคร

การกล่าวเปิดของ คุณสเตฟาน หัวหน้าฝ่ายโครงการให้ความร่วมมือของอียู รับผิดชอบประเทศไทยและลาว

เน้นการให้ความช่วยเหลือประเทศที่ยากจนที่สุด แต่ไทยเองอาจไม่ต้องการให้ได้รับทุนเพื่อการพัฒนา ไม่เหมือน พม่า ลาว กัมพูชา บังคลาเทศ แต่สำหรับไทย ประเทศอียูให้ความสำคัญ ngos, Csos เพื่อสร้างความเข็มแข้งทางการเมืองให้เกิดการพูดคุยกับเพื่อการพัฒนา การปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐและภาคประชาสังคม เราเห็นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้จะมีการชะงักงั้นกัน
เราเห็นความไม่เสมอภาค และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร บทบาทของ Csos ก็จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ
การทำงานกับ csos ทำให้คนปชช มีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้นได้แน่นอน ข้อจำกัดคือการจัดทำโครงการ และบางครั้งการพัฒนาไม่ยั่งยืน การทำงานกับ Csos อย่างต่อเนื่องก็จะส่งเสริมให้ปชช เข้ามีส่วนในการตัดสินใจในเชิงนโยบายด้วย หลักการและวัตถุประสงค์ได้จัดทำขึ้นเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวได้ และอียูจะให้การสนับสนุน Csos อย่างต่อเนื่อง

บันทึกโดย พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [155.59 KB]