ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
POLICY OPTION ON “JUSTICE FUND”:
A PROSPECT FOR PEACE AND EQUALITY IN ACCESS TO JUSTICE
“The option will be employed as a manuscript to the draft of the new model of legislation ‘the Justice Fund Act’” Justice Minister, Pracha Promnok gave a bold statement to support the future amendments of the fund as proposed by the research team.
On 14th March 2013, Thammasat Law Research and Consultancy, Konrad Adenauer Stiftung (KAS), Cross Cultural Foundation (CrCF) and Muslim Attorney Center (MAC) jointly submitted the policy option on “Justice Fund” to the government at the Ministry of Justice and the leader of the opposition party at Democrat party.
The “Justice Fund” policy option has been developed as part of the “Improvement of Access to Justice for Civilians in the Deep South Provinces of Thailand (IAJ)”, a 27-month project (January 2011-March 2013) supported by the European Union (EU) and Konrad Adenauer Stiftung (KAS). The policy option aims to promote an alternative but consistent framework to the justice fund’s current practice. The proposed amendments aim at setting future precedent for the fund’s expenditure management, exercised criteria and requirement for external support. The policy option incorporates the analysis on funding management, budgeting and outcome production and proposes the standard practice for lawyers who hold the fund’s registration. By and large, it will provide the basis for progressive enhancement of the Thai justice and legal aid system. The improvement will greatly expedite the overall process of state and non-state legal aid system aimed at enhancement of the indigent individuals in the Deep-South provinces as well as throughout Thailand.
The fund, established since 2006, is currently run by the Department of Rights and Liberties, Ministry of Justice. Due to large volume of applications and instability of budget flow, its operation is facing an inevitable set of challenges.
Six important features of the proposed policy option include:
(1) The sustainable management plan of the “Justice Fund” cannot be achieved without the provision of reliable funding sources. The state must guarantee such provisions to the funding body. This will increase the consistency of the future strategy and budget planning;
(2) The state’s bail bond requirement should not be limited only to the monetary guarantee. Detainees with minor offenses should be allowed to post bail without such guarantee. Therefore, the financial support from the “Justice Fund” can be extended to larger groups of applicants with more urgent legal needs;
(3) In order to become more efficient in dealing with specific issues, subcommittees with expertise in various fields should be established. The approach will accelerate the overall consideration process of the funding body and will enable a more efficient utilization of the monetary and human resources;
(4) The current objectives of the fund as being stipulated in the Procedure of Ministry of Justice on Justice Fund 2553 B.E. should be amended as followed;
(4.1) the fund should extend/improve its collaboration between other organizations in related fields. This includes both the governmental and non-
governmental organizations advocating for alternative crime preventive measure, basic rights awareness and community legal education, etc:
(4.2) the fund should extend the financial support to the applicants during the pre-trial process:
(4.3) the fund should extend the financial support to the legal operators in non-governmental and independent sector and provide sufficient performance assessment to the operators receiving the support from the funding body:
(4.4) in order to ensure high-quality legal service delivery, the fund should determine a practice standard for all lawyers who hold justice fund’s registration. Moreover, the fund should stipulate a standard retainer fee in alignment with the current market price and must not fail to take into consideration the type of cases, experience of lawyers, etc.
(5) Endorse effective and sufficient Public Relations campaign to the wider group of audiences about the current mission and future campaigns;
(6) Reevaluate the efficiency of the outcomes gained from the current approval criteria based on case by case basis and study about the possibility of alternative funding approach such as to provide the backstopping service as well as financial support to non-governmental and independent agencies equipped with more specific expertise.
The official presentation to the Ministry of Justice and Leader of the opposition party was carried out by legal aid experts Associate Prof. Narong Jaiharn, Associate Dean in Research Affairs (TU), Li Saengsanthitam, European Union Project Manager (KAS), Dr.Ronnakorn Boonmee (TU), Senior Researcher and Kanokwan Chartsuwan, Senior Researcher (TU). The representatives from local CSOs participated during the presentation include Pornpen Khongkachonkiet, Director of Cross Cultural Foundation and Sittipong Chantaraviroj, Chairperson of Muslim Attorney Centre. The recommendations were well-received by high-ranking members of the Justice Ministry which include Justice Minister Pracha Promnok, Deputy Justice Minister Preecha Thananan, Advisor to the Justice Minister Suchon Chaleekrua, Director General of Department of Rights and Liberties Protection Dr. Narat Sawetanan and Director of Justice Fund Nongporn Ruengpetchwong. The Minister of Justice endorses the proposal into the Ministry’s official agenda. The Department of Rights and Liberties Protection will provide follow-up to the amendments.
On the same date, the research team received an opportunity to present the policy option to the former PM Abhisit Vejjajiva and Songkla MP Sirichok Sopha at Democrat Party. The recommendations proposed by the team were well-received. The former PM gave a practical suggestion to the team “In order to expedite the impact, the amendment should be carried out in parallel with the reassessment of the implementation of 3 special laws in the Deep-South region”. The leader of the opposition party provides a strong support to the policy option stated that it could be presented as an alternative solution to push forward the reconciliation besides the peace agreement initiative.
การยื่นเสนอรายงานวิจัยข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่อง “กองทุนยุติธรรม”
นโยบายทางเลือกดับไฟใต้ และเพิ่มความเท่าเทียมกันในสังคมไทย
“ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแล่มนี้จะถูกนำไปใช้เป็นแนวทางหลักในการยกร่างพระราชบัญญัติกองทุน-ยุติธรรมภายในปลายปีนี้” คำกล่าวสนับสนุนรายงานวิจัยโดยรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ประชา พรหมนอก
ในวันที่ 14 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และศูนย์ทนายความมุสลิมได้ร่วมกันเข้ายื่นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่อง “กองทุนยุติธรรม” แก่รัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม นายประชา พรหมนอก และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
รายงานวิจัยข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เรื่อง “กองทุนยุติธรรม” ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มความเข้าถึงทางยุติธรรมแก่ประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้ (ระยะเวลาดำเนินการ มกราคม 2554-มีนาคม 2556) ที่เกิดจากความร่วมมือของ องค์กรภาคีได้แก่ สหภาพยุโรป (European Union) มูลนิธิ คอนราด อาเดนาวร์ (Konrad Adenauer Stiftung) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Cultural Foundation) และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (Muslim Attorney Center) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังกล่าวได้ครอบคลุมถึงการพัฒนาขยายกรอบการทำงานของกองทุนยุติธรรมโดยยึดถือจากรูปแบบเดิมเป็นหลัก ตลอดจนมีการนำเสนอเพื่อปรับระเบียบและวัตถุประสงค์ของกองทุนยุติธรรมเพื่อเพิ่มการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงในหมวดต่างๆ เช่น การบริหารค่าใช้จ่าย, ระเบียบเกณฑ์การพิจารณา และการกำหนดขอความร่วมมือเพิ่มเติมกับหน่วยงานอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานของกองทุนยุติธรรม นอกจากนี้เนื้อหาของงานวิจัยได้รวมไว้ซึ่งการวิเคราะห์งบประมาณ, ผลประกอบการ, หลักเกณฑ์การรับและการทำงานของทนายที่ลงทะเบียนไว้กับกองทุน ซึ่งโดยภาพรวมแล้วรายงานวิจัยข้อเสนอแนะเชิงนโยบายฉบับนี้ได้นำเสนอแนวความคิดแบบก้าวหน้าในการบริหารและขยายกองทุนยุติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มความเข้าถึงทางยุติธรรมให้กับประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้เป็นกรณีศึกษา และมุ่งหวังที่จะขยายขอบเขตดังกล่าวไปยังประชาชนกลุ่มอื่นๆในประเทศไทย
กองทุนยุติธรรมได้ถูกจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2549 โดยกระทรวงยุติธรรม ปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารงานของกรมคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพ สังกัด กระทรวงยุติธรรม เนื่องมาจากมีผู้เดือดร้อนเข้ายื่นขอความช่วยเหลือสนับสนุนจากกองทุนจำนวนมาก ประกอบกับงบประมาณที่ไม่แน่นอน จึงเลี่ยงไม่ได้ที่การบริหารงานของกองทุนยุติธรรมจะพบอุปสรรคและสิ่งท้าทายในหลายกรณี
คณะผู้วิจัยพิจารณาและเห็นว่าควรมีการปรับปรุงนโยบายการพัฒนาแนวทางการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม คณะผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะ 6 ประการ ดังนี้
1. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อให้มีแหล่งทุนสนับสนุนให้เพียงพอและต่อเนื่อง แก่ความต้องการของผู้ขอรับความช่วยเหลือซึ่งขยายขอบเขตของกองทุนยุติธรรม และการทำงานของหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ดำเนินการอยู่ให้สามารถดำเนินการต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การใช้หลักทรัพย์ในการประกันตัวควรทำความตกลงกับศาลใช้หนังสือรับรองแทนการนำหลักทรัพย์มาวางต่อศาล เพื่อขยายโอกาสให้แก่ผู้ขอรับการสนับสนุนรายอื่นๆจากกองทุนยุติธรรมได้มากยิ่งขึ้น
3. ควรกระจายอำนาจในการพิจารณาอนุมัติการให้ความช่วยเหลือไปยังอนุกรรมการในแต่ละภูมิภาค โดยให้คณะกรรมการกลางฯกองทุนกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจาณาอนุมัติสนับสนุนให้เป็นเอกภาพ เพื่อทำให้เกิดความรวดเร็ว และทั่วถึงในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
4. ควรการปรับปรุงหลักเกณฑ์กองทุนยุติธรรม ดังนี้
4.1 ขยายการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในการส่งเสริมมาตรการเชิงป้องกันได้แก่ การอบรมกฎหมายแก่ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนโดยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนตามกฎหมาย อันเป็นการช่วยลดการละเมิดสิทธิได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ขยายการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีการถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพโดยเจ้าหน้าที่รัฐในระหว่างการถูกควบคุมตัวทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นผู้ต้องหาหรือไม่
4.3 ควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานอิสระที่มีศักยภาพ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้การช่วยเหลือนั้นสามารถทำได้อย่างครอบคลุม สะดวก รวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการ และความจำเป็นของประชาชนในแต่พื้นที่ และมีการจัดการประเมินผลการให้บริการในระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
4.4 ควรมีการกำหนดมาตรฐานของทนายความที่เข้ามาลงทะเบียนกับกองทุนฯเพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างมีคุณภาพ และควรกำหนดค่าตอบแทนการว่าความของทนายความให้เป็นไปตามมาตรฐานโดยคำนึงถึงรูปแบบคดี ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ประวัติการทำงาน ฯลฯ
5.กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ควรมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกองทุนยุติธรรมในรูปแบบต่างๆเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและควรประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติกระทรวงกลาโหม ผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ล่ะจังหวัด หน่วยงานทางฝ่ายปกครอง กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานต่างๆที่มีอำนาจจับกุมหรือควบคุมตัวประชาชน เพื่อให้บุคคลากรในหน่วยงานดังกล่าวได้แจ้งสิทธิและประชาสัมพันธ์ในการให้ความเหลือของกองทุนยุติธรรม
6. ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายได้ชี้แจงถึงบทบาทของกองทุนยุติธรรมและปัญหาการซ้ำซ้อนในการให้บริการและจำนวนทนายความที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือ รัฐควรมีนโยบายว่ากองทุนยุติธรรมเป็นผู้จัดสรรทุนเพื่อให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงมหาดไทย สถาบันการศึกษา สภาทนายความ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เป็นต้น โดยกองทุนยุติธรรมมีบทบาทหน้าที่เป็นผู้กำกับและประเมินผลการทำงานของหน่วยงานที่กองทุนยุติธรรมได้สนับสนุน ดังนั้น ควรยกเลิกบทบาทในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนโดยตรง
การนำเสนออย่างเป็นทางการได้รับความร่วมมืออย่างดีจากข้าราชการเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงยุติธรรม, ผู้นำพรรคฝ่ายค้านประชาธิปัตย์ และสส.ในพื้นที่ภาคใต้ ในการเสนอนำทีมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมูลนิธิ คอนราด อาเดนาวร์ ได้แก่ รศ.ณรงค์ ใจหาญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์, ลี่ แสงสันติธรรม ผู้จัดการโครงการสหภาพยุโรป, ดร.รณกรณ์ บุญมี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ และกนกวรรณ ชาติสุวรรณ ผู้วิจัยอาวุโส นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือจากองค์กรภาคีสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ ได้แก่ ตัวแทนจากผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ และ สิทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม
ข้าราชการเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงยุติธรรมที่เข้าร่วมได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมพล.อ.ประชา พรหมนอก, ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม นายสุชน ชาลีเครือ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม นายปรีชา ธนานันท์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันท์ และนางนงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ ผู้อำนวยการกองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ โดยทางรมต.ได้กล่าวให้คำมั่นใจกับคณะผู้วิจัยว่าจะนำข้อเสนอแนะดังกล่าวเข้ารับพิจารณาเพื่อใช้เป็นแนวทางการยกร่าง พรบ.กองทุนยุติธรรม โดยได้มอบหมายให้อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นผู้ดำเนินการ
ในวันเดียวกันทางคณะผู้วิจัยได้นำรายงานวิจัยฉบับดังกล่าวเข้ายื่นเสนอต่ออดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, สส.จังหวัดสงขลา นายศิริโชค โสภา ที่พรรคประชาธิปัตย์ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีเช่นกัน โดยอดีตนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นหลายประการเน้นว่า “เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการช่วยเหลือผ่านกองทุน การปรับปรุงระเบียบดังกล่าวควรทำควบคู่ไปกับการทบทวนการพิจารณาประกาศใช้กฎหมายพิเศษ 3 ฉบับในพื้นที่ด้วย” อย่างไรก็ดีทางพรรคประชาธิปัตย์ได้ให้การสนับสนุนในข้อเสนอแนะของงานวิจัยเพื่อนำไปใช้เป็นนโยบายทางเลือกในการดับไฟใต้ ประกอบกับการเซ็นสัญญาสันติภาพที่จัดขึ้นที่ประเทศมาเลเซียที่ผ่านมา