บันทึกย่อจากเวทีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ในประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา
Side Event at Human Rights Council 24th, 11 Sep 2013, Geneva, 14:00- 15:45
นักกิจกรรมจากประเทศไทย สุกัญญา พฤษาเกษมสุข กล่าวว่า “หลายคนอาจได้ยินเรื่องราวของประเทศไทยในส่วนที่สวยงาม แต่เรามีเรื่องราวมากมายเช่น การประท้วงการเมือง แบ่งแยกความคิด เรื่องความขัดแย้งภาคใต้ที่มีคนเสียชีวิตไปหลายพันคน เรามีเรื่องเกี่ยวกับการแสดงออกทางความคิดเห็น เรามีเรื่องราวเกี่ยวกับมาตรา 112 มาตราเกี่ยวกับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปี 2550 มีกฎหมายใหม่คือกฎหมายควบคุมอาชญกรรมคอมพิวเตอร์
เรามีหนังไทย เรื่องเกี่ยวกับเช็คสเปียร์ never die แต่รัฐบาลก็ห้ามฉายหนังเรื่องนี้ เพราะมีภาพที่เกี่ยวกับการฆ่ากันทางการเมืองปี 2519 ทำให้ประเทศไม่ปลอดภัย เป็นเหตุผลที่ทางรัฐบาลบอกกับประชาชน เราก็พยายามที่จะรณรงค์เรื่องหนัง การแสดงออกทางความคิดเห็น มีหนังสั้นส่งประกวด 3 เรื่องที่ถูกสั่งห้ามเพราะเกี่ยวกับการหมิ่นพระมหากษัตริย์ เรืื่องการจำกัดสิทธิฯ เหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศไทย
หรือเรื่องเกี่ยวกับผู้ต้องขังคดีเหล่านี้ คดีที่เกี่ยวกับมาตรา 112 และกฎหมายควบคุม อาชญกรรมคอมพิวเตอร์ เพิ่มจาก 3 คดีต่อปี เป็นร้อยกว่าคดีต่อปี ตั้งแต่ปี2549
คุณสมยศ สามีของฉัน ถูกจับตั้งข้อหาคดีนี้ด้วยโดยดีเอสไอ อ่านนิตยสารของเขาแล้วก็คิดว่ามันมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แล้วก็ถูกจับกุมควบคุมตัวภายหลังการตั้งข้อหาก่อนการตัดสิน ระหว่างการพิจารณาคดี เราขอประกันตัว 15 ครั้ง ทางศาลบอกว่าเป็นข้อหาหนักเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ คนไทยมีความรู้สึกมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงดุลพินิจไม่มีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราว เราไม่เคยได้รับความสำเร็จในการขอประกันตัว แต่ไม่ใช่แต่สามีของฉัน แต่หลายคนเกือบทุกคนไม่เคยได้รับคำสั่งศาลให้ปล่อยตัวชั่วคราวในคดี 112
มีคดีเกี่ยวกับชายชราคนหนึ่ง ส่ง SMS สี่ครั้ง ไปที่ผู้รับ แล้วทางการอ้างว่า SMS ส่งจากเครื่องโทรศัพท์ของเขาที่หมิ่นราชีนีของไทย ถูกจับกุมควบคุมตัว พิจารณาคดีกัน 2 ปี แล้วก็ไม่ได้การประกันตัว ได้รับการตัดสินจากศาลจำคุก 20 ปี สุดท้ายชายชราคนนี้เสียชีวิตในเรือนจำ
เราเลยต้องมาควบคุมตัวเอง ควรเขียนอะไร ควรพูดอะไร เรามีตัวอย่างหลายคนที่เป็นนักเขียน นักวิชาการ นักข่าว และอื่นๆ ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 ทำให้สังคมกลายเป็นสังคมที่เงียบนิ่ง กลัวว่าจะถูกจับกุมควบคุมตัว ฉันเองพูดเรื่องนี้ฉันจะกลับบ้านได้ไหม”
นักกิจกรรมจากประเทศกัมพูชา กล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศกัมพูชามีคนใช้สมาทร์โฟน เยอะมาก ใช้ สื่ออินเตอร์เนตกันมาก ทำให้เรารู้สึกว่าเรามีอำนาจ empower ใช้กันมาด้วยในการรณรงค์การเลือกตั้ง พรรคฝ่ายตรงข้ามก็ใช้สื่ออินเตอร์เนทในการรณรงค์ รวมกลุ่มพรรคการเมืองตรงข้ามรัฐ ใช้ social media ในการรวบรวมเสียงประชาชน ทีวีกลายเป็นสื่อที่รัฐไม่สามารถสื่อกับประชาชนได้มากเหมือนเดิม
เมื่อนายสม รังสี ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลกัมพูชากลับมากัมพูชา มีคนเป็นหมื่นคนมารับ แต่ไม่มีในข่าว TV ประชาชนก็รับรู้ว่าสื่อกัมพูชาไม่ได้รายงานข่าวที่เป็นกลาง การถ่ายภาพ แลกเปลี่ยนความเห็นกันทาง social media แม้แต่พระกัมพูชา ก็ใช้ social media ถ่ายรูป ถ่ายทอดภาพเสียงเรืื่องการบังคับอพยพ สิทธิมนุษยชนอื่นๆ สื่อสารกับประชาชน
เรายังได้รับสื่อ เรื่องราวต่างๆ จาก social media ดูเหมือนว่าเราจะมีเสรีภาพมากกว่าเวียดนามและไทย แต่ก็มีนักข่าวบางคนถูกจับกุมตั้งข้อหา หรือถูกฆ่าตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้บางคนก็กลัว โดยเฉพาะเวป blog ที่ใช้สื่อในการสื่อสารเรื่องการบังคับเคลื่อนย้าย force eviction
นักกิจกรรมจากเวียดนาม ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศว่าเวียดนามเปิดประเทศ 1996 แต่กลับมาควบคุมการใช้อินเตอร์เนท สนใจแต่การพัฒนาประเทศ กับบริษัทต่างประเทศ แต่ไม่สนใจประชาชนในประเทศเรามีคนใช้อินเตอร์เนท user 30 ล้านคน
ในฮานอย 95% วัยรุ่นใช้อินเตอร์เนทและโทรศัพท์สมาทร์โฟน การใช้อินเตอร์เนทสำคัญ เช่น การสร้าง blog ส่งต่อข้อมูล แสดงให้เห็นว่ามีการใช้สิทธิเสรีภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องการทำร้ายพรรคคอมมิวนิสต์แต่อย่างไร การใช้อินเตอร์เนท์ ก็ทำให้มีการส่งต่อข้อมูล รวมกลุ่มกันที่ทำความเดือดร้อนให้กับประชาชน มีการพูดคุยกันเรื่องเกาะแห่งหนึ่งในทะเลจีนใต้ เช่นการประท้วงต่อต้านจีนในการยึดเกาะในทะเลจีนได้ โดยการรวมกลุ่มที่เกิดขึ้นจาก social media
รัฐบาลเวียดนามไม่ชอบการประท้วง ไม่ชอบให้ ปชช. ใช้อินเตอร์เนท เจ้าหน้าที่ได้เผยแพร่แถลงการณ์บอกว่า การใช้อินเตอร์เนทกลายเป็นการคุกคามพรรคฯ หรือรัฐบาล มีการคุกคามคนเขียนใน Blog การใช้ความรุนแรงในการจับกุม การควบคุมตัวโดยพลการ
48 bloggers ถูกจับกุม มีการตรวจจับ โดยตำรวจ อ้างว่าเป็นการส่งข้อมูลที่ผิดกฎหมาย เผยแพร่ข้อมูลผิดกฎหมาย
รัฐบาลมักใช้วิธีนี้ในการควบคุมฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง เขาจะให้ทุกคนลงชื่อ หรือลงทะเบียนการใช้อินเตอร์เนท มีกฎหมายในประเทศที่ระบุว่า ม.79 มีบทลงโทษจำคุกตลอดชีวิต เรื่องการควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลที่กระทบความมั่นคง
ม.88 มีบทลงโทษ 3-20 years, คนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ถูกตัดสินจำคุก 12 ปี
ม.228 มีบทลงโทษถึง 7 ปี มีอีกหลายมาตราที่ทำให้ห้ามการใช้เสรีภาพ สิทธิการเผยแพร่ข้อมูลถูกทำให้ผิดกฎหมาย
มีกฎหมายเพิ่มเติมเรื่องการขออนุญาตเปิดเผยข้อมูล การพูดคุยเรืื่องการต่างประเทศก็ถูกห้าม แม้แต่ข้อมูลส่วนตัวก็อาจจะถูก
15 ปีที่ผ่านมา มีการควบคุม blog ว่าต้องไม่หมายถึงการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพรรคคอมฯ ตอนคนเวียดนามต้องขออนุญาตเพื่อเปิด blog รัฐบาลบอกว่าต้องป้องกัน สิทธิลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ตอนนี้ใครมี blog ส่วนตัวได้แต่ใครก็ตามสื่อสารเรื่องต่างประเทศ ก็ถูกจับกุมได้ ถูกควบคุมต้ว ทำให้เกิด self censership ระหว่างประชาชนในประเทศ
มีนักเขียนหลายคนถูกจับกุมถูกจับ 2012 เพราะเขียนเรื่องตำรวจคอรัปชั่น นักเขียน นักประชาธิปไตยก็ถูกมองว่าเป็นศัตรู เขาไม่ได้ต้องการต่อต้านรํัฐหรือพรรคคอมฯ เขาต้องการทำให้ประเทศเปลี่ยนแปลง วิจารณ์สังคมเวียดนามมากกว่า พวกเขาต้องการสานเสวนา เปิดเผยความต้องการเพื่อเปลี่ยนแปลง มีคนต้องการการเปลี่ยนแปลง เราต้องการอนาคตที่สดใส รัฐบาลเวียดนามไม่ปกป้องประชาชนตามกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐบาลต้องการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เป็นการกดขี่ประชาชน การที่จะเป็นประเทศสมาชิกของ HRC ได้อย่างไร เพราะเขาไม่ต้องการให้ประชาชนพูดอะไรเลย