๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๖
ผมเขียนบทความนี้ขึ้นมา ด้วยความตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมในฐานะหุ้นส่วนทางสังคม
ผมเคยได้รับรู้ ว่ามีชาวบ้านจำนวนมากที่ต้องพลังเผลอ และต้องเป็นเหยื่อของกระบวนการยุติธรรม เมื่อ วานนี้ (๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖) ช่วงเวลาประมาณ ๑๒.๐๐ น. เศษ ผมได้รับทราบข่าวว่า นายดี แม่หนูริม ชาวบ้านพรสวรรค์ ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เสียชีวิตลง
นายดี เป็นหนึ่งในจำนวน ๓๔ คน ของชาวบ้านพรสวรรณ์ ที่ถูกป่าไม้ฟ้องขับไล่ในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า มีคดีอยู่ในศาล (รอฟังคำสั่งศาลฎีกา) ซึ่งในศาลชั้นต้นนายดี และเพื่อนบ้านอีก ๓๓ คน ได้รับสารภาพ และในช่วงเวลาเดียวกันผมก็ได้อยู่ในเหตุการณ์ที่ชาวบ้านกำลังถูกรุกไล่ในยอม ซึ่งต่างกันแค่ว่าชาวบ้านปากมูนเป็นโจทก์เท่านั้น แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ การล่าแต้ม
ที่ศาลจังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวานนี้ ( ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖) ผมได้ไปร่วมฟังการพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดศรีสะเกษ เป็นคดีหมิ่นประมาท ระหว่างชาวบ้านปากมูน (โจทก์) กับนายอิสสระ สมชัย (อดีต รมต. กระทรวงพัฒนาสังคม ฯ) ซึ่งเป็นนัดสืบพยานโจทก์ ชาวบ้านปากมูน และทนาย ร่วมทั้งพยานฝ่ายโจทก์ ไปศาล ส่วนฝ่ายจำเลยมีเพียงทนายความโดยจำเลยขออ้างเอกสิทธิ์ ความเป็น สส. คุ้มครอง พร้อมกับร้องต่อศาลให้จำหน่ายคดีชั่วคราว กระบวนการพิจารณาคดีจึงเปลี่ยนมาเป็นการไกล่เกลี่ยคดี โดยมีผู้พิพากษาขึ้นนั่งบัลลังค์ ๓ ท่าน (ชุดใหญ่) กระบวนการไกล่เกลี่ยนี้ ศาลเรียกว่า “การสมานฉันท์” ซึ่งผมรู้สึกว่าคู่ความได้ประโยชน์น้อย ขณะที่ศาลกลับเป็นผู้ได้ประโยชน์จากกระบวนการนี้เต็ม ๆ ผมขอนำเอาบางส่วนบางตอนที่เกิดขึ้นในศาล ซึ่งไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้น แต่ก็เกิดขึ้นแล้วดังนี้
ศาลเริ่มต้นด้วยการพูดจาหว่านล้อมให้โจทก์ ยอมยุติคดี และถอนฟ้อง (กล่อมเป็นชั่วโมง) จนชาวบ้านทนไม่ไหวและพูดว่า “ท่านครับ ทำไมท่านมาถามแต่ฝ่ายโจทก์ให้ยอม ทำไมไม่ถามฝ่ายจำเลยบ้างครับว่า จำเลยจะรับผิดชอบต่อโจทก์ อย่างไรบ้าง” หลังจากนั้นศาลก็หว่านล้อมเป็นชั่วโมง และศาลก็พูดขึ้นว่า “พวกท่านทะเลาะกัน ขัดแย้งกัน ไม่เกี่ยวกับศาล ศาลเป็นคนอื่นแต่ต้องมาทำคดีนี้ พวกท่านน่ะมาทำให้ศาล ต้องมาสร้างภาระให้ศาล ศาลเลยไม่ต้องทำงานเลย แต่มาเสียเวลากันพวกท่าน”
จากนั้นก็หันมาถามโจทก์ร่วมชั่วโมง และพูดต่ออีกว่า “พวกท่านรู้ใหม ปากกาอยู่ที่มือศาลน่ะ ศาลจะเขียนอย่างไงก็ได้ พวกท่านจะสืบอย่างไงก็แล้วแต่ แต่สุดท้ายก็จบที่ปากกา พวกท่านเข้าใจใช่ไหม” จากนั้นศาลก็กล่อมอยู่นานจน ๑๑ โมงเศษ ก็ยังไม่ยุติ ศาลจึงพูดขึ้นอีกว่า “ใกล้เที่ยงแล้ว ให้พวกท่านไปหาทางจบน่ะ แล้วกลับมาเจอกันอีกครั้งบ่ายโมงครึ่ง พวกท่านคงรู้น่ะว่าจะจบอย่างไง ศาลทำคดีแบบนี้มามากแล้ว ศาลรู้ว่าจะจบอย่างไง พวกท่านไม่คิดดูน่ะ หากคิดไม่ได้ ตกลงกันไม่ได้ศาลจะใช้อำนาจพิเศษ คอยดูน่ะ”
ภาคบ่ายคู่ความ ศาลเข้าห้องพิจารณาคดีต่อ เจรจากันไปเกือบสองชั่วโมง ก็ตกลงกันไม่ได้ บรรยากาศเริ่มตรึงเครียด และศาลได้พูดขึ้นว่า “เอาเท่านี้น่ะ ศาลให้เท่านี้แหละ ตกลงตามนี้น่ะ …จบน่ะ” ชาวบ้านปากมูนเริ่มสับสน ทนายจึงขอเวลานอกมาคุยกันนอกห้อง
หลังจากนั้น ชาวบ้านปากมูนก็แถลงต่อศาลพร้อมอธิบายเหตุผลมากมายที่ไม่สามารถยอมรับข้อเสนอจากศาลได้ ชาวบ้าน และศาลได้ และเปลี่ยน (ผมอยากเรียกว่าการตอบโต้กันมากกว่า) กันพอสมควร แต่ก็ยังไม่ยุติ ศาลจึงพูดขึ้นว่า “ศาลให้เท่านี้แหละ ศาลจะเขียนตามนี้ พวกท่านสู้กันไปก็มาจบที่ตรงนี้ ที่ปากกาศาล” บรรยากาศเครียดมากขึ้น และสุดท้ายชาวบ้านปากมูน จึงพูดขึ้นว่า “ด้วยความเคารพต่อศาล พวกผมรู้สึกว่าถูกศาลไล่ต้อนให้ยอมรับ ให้ยอมรับกับข้อเสนอที่ไม่เป็นธรรม พวกผมขอปฏิเสธข้อเสนอนี้
ท่านครับบรรยากาศมันตรึงเครียดเกินไปหากเกิดการตัดสินใจใด ใด เกิดขึ้นในเวลานี้ ข้อสรุปนั้นก็เกิดขึ้นในสภาพของการตัดสินใจไม่รอบด้าน ไม่ครอบคลุมและพวกผมซึ่งเป็นโจทก์เสียเปรียบมากในข้อเสนอนี้ ผมขอเสนอให้ศาลกำหนดวันนัดสืบพยานด้วยครับ ขอความกรุณาศาลได้โปรดนัดสืบพยานเถอะครับ” จากนั้นศาลจึงได้นัดวันสืบพยานและจบการพิจารณาคดี
นี่คือ บางช่วง บางตอน ของการพิจารณาดี ซึ่งผมมีข้อสงสัย ดังนี้
ประการที่หนึ่ง การที่ชาวบ้านยื่นฟ้องศาลนั้นเป็นการสร้างภาระให้ศาลใช่ใหม ?
ประการที่สอง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่คู่ความจะยกมาต่อสู้กันในศาล ไม่มีผลแห่งคดี เพราะสุดท้ายคำตอบอยู่ที่ปลายปากกาใช่ใหม ?
ประการที่สาม ศาลมีอำนาจพิเศษ จะทำอะไรก็ได้ ใช่ใหม ?
ผมเขาใจว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในศาลจังหวัดศรีสะเกษนั้น เป็นความพยามของศาลที่จะยุติคดีให้เสร็จอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากมองในด้านนี้ก็น่าชื่นชม แต่กลับกันการยุติคดีโดยที่คู่ความไม่ได้ใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วนนั้น มันเกิดความเป็นธรรมหรือเปล่า ที่สำคัญมากกว่านั้นบรรยากาศในศาลจังหวัดศรีสะเกษเมื่อวานนี้ (๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖) มันได้ทำความเชื่อมั่นของชาวบ้านที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมสั่นคลอนลงเป็นอย่างมาก
พวกเราคุยกันว่า พวกเราไม่ได้ว่างมากที่จะต้องมาขึ้นโรง ขึ้นศาล แต่มันมีความขัดแย้งกันเกิดขึ้นเราจึงต้องใช้กระบวนการยุติธรรม ในการอำนวยความเป็นธรรมแก่พวกเรา ซึ่งชัดเจนว่าผลลัพธ์แห่งคดี มีค่าน้อยกว่าการจบคดีที่จะถูกนำมาเป็นผลงานของศาล ผลงานของผู้พิพากษา
ผมคิดไปมากกว่านั้นว่า หากเมื่อวานนี้ชาวบ้านปากมูนไม่มีประสบการณ์การต่อสู้ ไม่มีทนายความที่เข้าใจชาวบ้าน ชาวบ้านจะถูกศาลที่ใช้กระบวนการสมานฉันท์ (ที่ไม่จริง) มากดทับ ข่มเหง ให้ยอมจำนนในสิ่งที่ไม่กล้าปฏิเสธอำนาจที่ยิ่งใหญ่ได้ สิ่งที่พวกเราคุยกันมาก (พวกมีหลักฐานที่มั่นใจได้ครับ นั่นเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจเปิดเผยได้) ก็คือหากเป็นชาวบ้านทั่วไป เป็นตาสี เป็นยายสา คงจบเห่กันไปแล้ว
ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ พฤติกรรม หรือคุณลักษณะของศาลเขาเป็นกันแบบนี้หมดหรือ หรือเป็นแค่บางคน แล้วคนที่เป็นแบบนี้มีมากไหม แล้วมีใครเคยตกเป็นเหยื่อบ้างแล้ว การไปศาลทุกคนก็ไปด้วยหวังว่าที่นั่นจะทำหน้าที่ในการอำนวยความเป็นธรรมให้ได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้พวกเราสงสัยในความเข้าใจ ในความเชื่อของตัวเองว่าใช่ใหม ?
ผมมองว่าการเร่งเร้า เพื่อให้คดีจบ นั่นเป็นผลงานที่สำคัญของผู้รับผิดชอบคดี แต่กังขาว่าบุคคลกรของสังคมที่ใส่หมวกกระบวนการยุติธรรม (ความเข้าใจของผู้เขียน : ทุกคน ทุกสาขาอาชีพ ล้วนเป็นหุ่นส่วนกันของสังคม ต่างฝ่ายต่างอาชีพ ล้วนทำหน้าที่เกื้อหนุนกันและกันในสังคม) ได้ทำหน้าที่อำนวยความเป็นธรรมอย่างที่ควรจะเป็นหรือเปล่า หรือทำไปเพียงเพื่อรับใช้ และตอบสนองผลประโยชน์แห่งตน นั่นหมายถึงความพยายามที่จะจบคดีเพื่อเป็นผลงาน เท่านั้น ส่วนความยุติธรรมที่เป็นธรรมเป็นอากาศธาตุ เป็นอุดมคติเท่านั้น
การดำเนินคดี การจบคดี (ที่ไม่ใช้การยุติคดี) ดำเนินไปเพื่อทำยอด สะสมแต้ม สำหรับเป็นบันไดแห่งผลงาน ในการอวยยศเท่านั้น…….