โครงการจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2556: 6 ปีแห่งการสถาปนาวันชนเผ่าพื้นเมืองในไทย และ 6 ปีปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองกับการขานรับของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2556 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
หลักการและเหตุผล:
ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) พร้อมกันนั้นได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยครั้งที่ 1 ในระหว่างวันที่ 7-11 กันยายน 2550 และได้ประกาศให้ วันที่ 9 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 6 ปีแล้ว
ซึ่งในการจัดงานแต่ละครั้งที่ผ่านมานั้น ทาง คชท. ได้เลือกประเด็นที่สำคัญ และเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในแต่ละปีมาเป็นแกนเรื่องหลักของงาน เริ่มตั้งแต่ปีแรกได้มีการประกาศตัวตนของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) ในปีถัดมาได้เน้นในประเด็นทางวัฒนธรรมเชื่อมกับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ (CERD) ในปี 2552 มีจุดเน้นเรื่องการฟื้นฟูวิถีการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนบนพื้นที่สูง
หลังจากนั้นในปี 2553 ได้เน้นย้ำในเรื่องของการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ต่อมาปี 2554 เป็นการแสดงจุดยืนในเรื่องอัตลักษณ์ วัฒนธรรมและสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย และเมื่อปี 2555 เป็นการจัดงานร่วมกับสำนักกิจการชาติพันธุ์ กรมการพัฒนาสังคม และสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีประเด็นเน้นในเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ และชนเผ่าพื้นเมือง ภายใต้ร่มพระบารมี
สำหรับปี 2556 นี้ ทางแกนนำ และกองเลขานุการ คชท. ได้มีความเห็นร่วมกับภาคีองค์กรและเครือข่ายกัลยาณมิตร เพื่อจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย โดยเน้นประเด็นการติดตามความก้าวหน้า หลังจากมีการสถาปนาวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย รวมถึงร่วมวิเคราะห์ ถอดบทเรียนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และขบวนชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย นับตั้งแต่มีการประกาศรับรองปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง จากเวทีสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 ซึ่งสอดคล้องกับที่สหประชาชาติได้กำหนดจัดประชุมชนเผ่าพื้นเมืองโลกในระหว่างวันที่ 22-23 กันยายน 2557 เพื่อติดตามวิเคราะห์สรุปบทเรียนการดำเนินงานของรัฐภาคีนับตั้งแต่ได้มีการประกาศปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์ที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อชนเผ่าพื้นเมือง และชุมชนท้องถิ่นที่พึ่งพิงป่าอันเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่จะเผยแพร่ให้ข้อมูลกับพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย แกนนำชนเผ่าพื้นเมือง ที่ปรึกษา และกองเลขานุการ คชท. จึงได้กำหนดที่จะจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2556 : 6 ปีแห่งการสถาปนาวันชนเผ่าพื้นเมืองในไทย และ 6 ปีปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองกับการขานรับของประเทศไทยขึ้น ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2556 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุประสงค์การจัดงาน
- เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันชนเผ่าพื้นเมืองโลก โดยการเปิดพื้นที่พบปะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชนเผ่าพื้นเมืองด้วยกัน และกับผู้สนใจอื่น ๆ
- เพื่อร่วมวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ ปัญหา และผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินงานของรัฐ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง
- เพื่อจัดทำรายงานข้อเสนอต่อนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชนเผ่าพื้นเมือง และกลุ่มชาติพันธุ์ของรัฐ
- เพื่อรณรงค์สร้างกระแสให้สังคมไทย เกิดความตระหนักถึงความสำคัญในคุณค่าความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของชนเผ่าพื้นเมือง
- เพื่อเป็นเวทีแสดงออกถึงความสำคัญของการจัดการตนเองและแสดงจุดยืนของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยในการกำหนดวิถีชีวิตของตนเองตามที่ต้องการ
ผู้เข้าร่วมงาน
- แกนนำ/ผู้แทนเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองจาก 35 กลุ่มชาติพันธุ์ จำนวนประมาณ 150 คน
- ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกสารและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวนประมาณ 120 คน
- ผู้แทนจากสถานศึกษา เด็กและเยาวชน จำนวน ประมาณ 500 คน
- ประชาชน นักท่องเที่ยว และผู้สนใจทั่วไป จำนวนประมาณ 230 คน
ระยะเวลาดำเนินการ: ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2556
สถานที่จัดงาน:
- หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2556)
- บริเวณอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยและรอบคูเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (เฉพาะช่วงจัดกิจกรรมรณรงค์ในวันที่ 9 สิงหาคม 2556)
แผนกิจกรรมหลัก ๆ ในงาน
- การแสดงวิถีชีวิตที่สะท้อนคุณค่าทางวัฒนธรรม และปัญหาที่ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยประสบอยู่ (งานแสดงวัฒนธรรมแบบมีความหมาย เนื้อหาสาระเน้นให้การศึกษากับสาธารณะและรัฐบาล)
- แสดงละครชุมชนจากคณะเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง (บ้านมอวาคี และเยาวชนปางแดง)
- แสดง และจำหน่ายสินค้าและอาหารพื้นบ้าน
- แสดงศิลปะดนตรี กวีศิลป์ และการละเล่นพื้นบ้าน
- นิทรรศการ
- ส่วนที่ 1: นิทรรศการของแต่ละเครือข่ายประเด็น เช่น การศึกษา สุขภาพ สัญชาติ โฉนดชุมชน ฯลฯ
- ส่วนที่ 2: นิทรรศการขบวนชนเผ่าพื้นเมือง เช่น เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท) กับ สภาชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (สชชท.)
- ส่วนที่ 3: ภาพถ่ายมานุษยวิทยา โดยศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (9-25 สิงหาคม 2556)
- กิจกรรมวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาของรัฐ และประสบการณ์การแก้ไขปัญหาของชนเผ่าพื้นเมือง
- เวทีอภิปรายความเป็นมาและเนื้อหาสาระของปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง และเรียนรู้ความคืบหน้าในการดำเนินการของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีวิทยากรร่วมอภิปรายจากกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองในเวทีถาวรสหประชาชาติว่าด้วยประเด็นชนเผ่าพื้นเมือง เลขาธิการสหพันธ์เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองอินโดนีเซีย (AMAN) และผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองจากประเทศไทย
- เวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง “การวิพากษ์การดำเนินงานตามนโยบายรัฐ และการปฏิบัติตามปฏิญญาฯ ของรัฐบาลไทย” (สิทธิในที่ดิน เขตแดน และทรัพยากร นโยบายและแผนพัฒนาของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบต่อชนเผ่าพื้นเมือง สิทธิในการกำหนดตนเองโดยใช้แนวทาง FPIC และการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผลของชนเผ่าพื้นเมือง)
- เวทีแสดงจุดยืนของชนเผ่าพื้นเมืองต่อรัฐบาลไทยที่เชื่อมโยงกับหลักปฏิบัติตามปฏิญญาฯ
- กิจกรรมรณรงค์สาธารณะ
- หนังสั้น (ติดต่อ Thai PBS)/สารคดีปฏิญญา/สารคดี REDD+
- การตั้งประเด็นคำถาม-ความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเขียนลงโปสการ์ดและนำเสนอผ่านผืนผ้า
- กิจกรรมรณรงค์โดยพิธีสักการะครูบาศรีวิชัยและการเดินรณรงค์รอบคูเมืองเก่าเชียงใหม่
- การจัดรายการเวทีสาธารณะร่วมกับ Thai PBS (วันที่ 9 สิงหาคม)
- สื่อสังคมออนไลน์ เช่น ถ่ายทอดสดทาง Internet (วิทยุและทีวี) Facebook อีเมล์กลุ่ม เป็นต้น
- การจัดทำรายงานและข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐ
- จัดทำรายงานเชิงวิเคราะห์ต่อการดำเนินงานของรัฐบาล ในเรื่อง พรบ. เงินกู้กับผลกระทบต่อชนเผ่าพื้นเมือง, REDD+, ที่ดิน และทรัพยากรป่าไม้, สัญชาติ, สิทธิสุขภาพ, การศึกษา, สิทธิเด็ก และสิทธิกระบวนการยุติธรรม
- ดำเนินการยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างและกลไกการจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2556 มีดังนี้
1. คณะกรรมการที่ปรึกษา: มีบทบาทให้คำปรึกษา และชี้แนะแนวทางการจัดงานในภาพรวมให้แก่คณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการดำเนินงานชุดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการที่ปรึกษาในปีนี้ ประกอบด้วย
- อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
- ผู้อำนวยการองค์การแพลน ประเทศไทย
- ผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย (EU-Thailand)
- ผู้จัดการไดอาโกเนีย ประเทศไทย (Diakonia-Thailand)
- ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งเอเชีย-แปซิฟิก ประเทศไทย
- ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชีย คณะทำงานนานาชาติว่าด้วยกิจการชนเผ่าพื้นเมือง (IWGIA)
- เลขาธิการมูลนิธิเพื่อประสานความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองแห่งเอเชีย (AIPP)
- ผู้อำนวยการสถานี Thai PBS (สำนักงานภาคเหนือ)
- ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 3 กรมประชาสัมพันธ์
- ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่
- ประธาน คณะกรรมการ และผู้บริหารองค์กรและเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองที่ร่วมจัดงาน
- ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ
- ดร.เคน แคมป์
- นายชูพินิจ เกษมณี
- นางเตือนใจ ดีเทศน์
- นายสรายุทธ แก้วพวงทอง
- ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง
- ดร.ประเสริฐ ตระการศุภกร
- นายสามารถ ศรีจำนงค์
- นางวรรณา เทียนมี
- นายเกรียงไกร ไชยเมืองดี
- นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ
- นางสาวสุรพร สุริยมณฑล
- ดร.นฤมล อรุโณทัย
- ดร.ประเวศน์ คิดอ่าน
- นายวิลิต เตชะไพบูลย์
- นางแสวง มาละแซม
- นายเกิด พนากำเนิด
2. คณะกรรมการอำนวยการ: เป็นกลไกหลักในการอำนวยการจัดงานในภาพรวม มีบทบาทหน้าที่ตั้งแต่การเตรียมงาน การประสานความร่วมมือ คณะกรรมการดำเนินงานชุดต่างๆ การติดตามและสรุปผลการจัดงาน เป็นประธานและ/หรือคณะกรรมการดำเนินงานชุดต่างๆ รวมทั้งประชาสัมพันธ์การจัดงานและเผยแพร่ผลการจัดงาน โดยมีรายชื่อ ดังต่อไปนี้
- นายจอนิ โอ่โดเชา ประธาน
- นายถนอม คงยิ้มละมัย รองประธาน
- นายสนิท แซ่ซัว รองประธาน
- นายไกรสร ฮาดคะดี รองประธาน
- นายวุฒิ บุญเลิศ กรรมการ
- นายองค์ บรรจุน กรรมการ
- นางสาวชุติมา มอแลกู่ กรรมการ
- นางอรวรรณ หาญทะเล กรรมการ
- นายแคะเว่น ศรีสมบัติ กรรมการ
- นายหยั่ว ถนอมรุ่งเรือง กรรมการ
- นายวันชัย ฝั่งซ้าย กรรมการ
- นางสีวิกา กิตติยังกุล กรรมการ
- นายศักดิ์ดา แสนมี่ กรรมการและเลขานุการ
- นายกิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- นายวิวัฒน์ ตามี่ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
3. คณะกรรมการดำเนินงาน: คณะกรรมการดำเนินงานในการจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประจำปี 2556 นี้ ซึ่งมีจำนวน 15 คณะ ดังต่อไปนี้
- 3.1 คณะกรรมการฝ่ายอำนวยการกลาง
- 3.2 คณะกรรมการฝ่ายประสานงานเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง และองค์กรที่ร่วมจัดงาน
- 3.3 คณะกรรมการฝ่ายระดมทุน
- 3.4 คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์และสารสนเทศ
- 3.5 คณะกรรมการฝ่ายประสานสถานที่และที่พัก
- 3.6 คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและจัดสัมมนา
- 3.7 คณะกรรมการฝ่ายจัดแสดงศิลปวัฒนธรรม
- 3.8 คณะกรรมการฝ่ายจัดนิทรรศการ และของที่ระลึก
- 3.9 คณะกรรมการฝ่ายพิธีการและจัดกิจกรรมรณรงค์
- 3.10 คณะกรรมการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม
- 3.11 คณะกรรมการฝ่ายต้อนรับ ลงทะเบียน และจัดเตรียมเอกสารประกอบการจัดงาน
- 3.12 คณะกรรมการฝ่ายจัดระบบการจำหน่ายสินค้าและอาหารชนเผ่าพื้นเมือง
- 3.13 คณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัย และจัดระบบยานพาหนะ
- 3.14 คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและติดตามประเมินผล
- 3.15 คณะกรรมการฝ่ายการเงินและบัญชี
ผู้รับผิดชอบหลักการจัดงาน: เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนชนเผ่าพื้นเมืองกว่า 30 กลุ่มชาติพันธุ์จากทุกภูมิภาคของประเทศไทย
องค์กรและหน่วยงานร่วมสนับสนุนการจัดงาน
- 1) สำนักงานสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย (EU-Thailand)
- 2) องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ ประเทศไทย
- 3) สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชีย คณะทำงานนานาชาติว่าด้วยกิจการชนเผ่าพื้นเมือง (IWGIA)
- 4) องค์การ Diakonia- Thailand
- 5) มูลนิธิเพสตอลอสซี่เพื่อเด็ก (PCF)
- 6) ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- 7) มูลนิธิเพื่อการประสานความร่วมมือของชนเผ่าพื้นเมืองแห่งเอเชีย (AIPP)
- 8) หน่วยบริการและพัฒนาสังคม มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย
- 9) ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง (ศปส.)
- 10) มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (IPF)
- 11) มูลนิธิภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูง (IKAP)
- 12) มูลนิธิรักษ์เด็ก
- 13) มูลนิธิรักษ์ไทย
- 14) มูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์
- 15) มูลนิธิเพื่อการเข้าใจเด็ก (FOCUS)
- 16) มูลนิธิดุลภาทร
- 17) มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.)
- 18) โครงการบ้านรวมใจ สมาคมพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นที่สูง
- 19) โครงการพัฒนาพื้นที่สูง (UHDP)
- 20) เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (KNCE)
- 21) มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ (WISE)
- 22) ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC) ประเทศไทย
- 23) มูลนิธิกระจกเงา จังหวัดเชียงราย
- 24) มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม)
- 25) สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (IMPECT) และ
- 26) องค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ที่ร่วมสมทบทุนและสนับสนุนในช่วงจัดงาน
ศูนย์ประสานงานการจัดงาน:
ผู้ประสานงานโครงการ: นายศักดิ์ดา แสนมี่ (ผู้ประสานงานกองเลขานุการ คชท.)
ที่ติดต่อ: สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท./IMPECT)
252 ม.2 ต.สันทรายน้อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50210 โทร 0-5339-8591,
Fax.: 0-5339-8592, Email: nipt.secretariat@gmail.com, sakda.saenmi@gmail.com
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้าร่วมงานได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานและบทเรียนของภาครัฐและขบวนชนเผ่าพื้นเมืองนับจากมีการสถาปนาวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และการประกาศรับรองปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ในปี 2550
- แกนนำชนเผ่าพื้นเมืองและผู้เข้าร่วมงานได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สถานการณ์ ร่วมเสนอแนะต่อนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยต่อรัฐบาล
- ได้ร่วมจัดทำรายงานและข้อเสนอที่แสดงจุดยืนของขบวนชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย
- เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานรัฐที่ร่วมกันจัดงาน และมีเอกภาพในทิศทางการสนับสนุนการพัฒนาตนเองของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย