[:th]CrCF Logo[:]
กระบวนการสันติภาพปัตตานี 30 มิย. 2556

เก็บตกเวที ฝันที่เป็นจริง: กระบวนการสันติภาพปัตตานี 30 มิย. 2556 ม.สงขลานรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Share

เก็บตกเวที ฝันที่เป็นจริง: กระบวนการสันติภาพปัตตานี วันที่ 30 มิย. 2556 มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

อ. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์์ จะกล่าวถึง 4 ประเด็นนี้

  • ฆ่าตัวตาย
  • ความฝัน
  • ความเป็นจริง
  • เอียงเข้าหา

คำถามที่ว่า

  • การฆ่าตัวตาย ทำไมศาสนาอย่างคริสต์และอิสลามจึงห้ามการฆ่าตัวตาย อย่างสำคัญ
  • ระเบิดพลีชีพ ผิดหลักการฯ เพราะผู้ใช้ความรุนแรงนั้นฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวตายจึงผิด
  • พระคริสต์ไม่ประกอบพิธีทางสาสนาให้คนฆ่าตัวตาย โอกาสไถ่บาปเป็นศูนย์

เหตุผลคือการฆ่าตัวตายเป็นอาการของการหมดหวัง ไม่ใช่ว่าไม่เอาชีวิตตัวเอง เท่ากับว่าไม่ยึดถึอพระเจ้าแล้ว การฆ่าตัวตายจึงเป็นบาป

การไม่เชื่อกระบวนการสันติภาพ ในทางหนึ่ง ก็คือการทอดทิ้งความหวัง
กระบวนการสันติภาพเป็นชุมทรัพย์แห่งความหวังกับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่

ความฝันน่าสนใจสำหรับการเมือง อุปลักษณ์ government ในภาษาลาติน แปลว่าหางเสือ
เรือต้องมีความมุ่งหมาย มีความฝันไปที่ต่่าง ๆ หวังว่าจะเจออะไร
ความฝันจึงเป็นตัวนำ (ไกด์) ความเป้นจริง

peace dialogue ผลลัพท์ คือความไว้วางใจ
peace negotiation แตกต่างกัน ผลลัพท์คือ peace agreement

268 กลุ่มก่อการแบ่งแยกดินแดนทั่วโลก
ซึ่งต่อมา43 % แปรกายมาเป็นกลุ่มต่อสู้ทางการเมืองปกติ เช่นในเนปาล ก็เริ่มจากการเข้ามาเจรจาสันติภาพ มีกลุ่มที่มีส่วนร่วมตั้งแต่ 1000 คนขึ้นไป ทำงานทางการเมืองปกติ
แต่มีคำถามว่าระบอบการเมืองสนับสนุนการเข้าสู่การเมืองของกลุ่มเหล่านี้หรือไม่

ระยะเวลาของความขัดแย้ง เป็น organic` มีวงจรชีวิต
เช่น ปาเลสไตน์ 90 ไซปรัส แคชเมียร์ 63 ปี คืออายุของความขัดแย้งก็ยาวมากมาก แล้วยิ่งถ้าเกี่ยวกับพื้นที่ศักดิ์สิทธฺิ์ และอัตลักษณ์ เป็นเหตุผลที่ยาก ความขัดแย้งในภาคใต้ยาวแค่ไหน ย้อนไปถึงไหน ร. 1 ร. 5` ตั้งแต่ปี 2547 ไม่ได้ จึงมีความยาก

ความขัดแย้งส่วนใหญ่นำมาสู่การเจรจาและสนทนา มีอุปสรรคมากมาย มีตัวแปร 40 ตัวทำให้การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ

  1. มีความแตกแยกในฝ่ายที่เจรจา
  2. มีข้อเรียกร้องที่แตกต่างกันมาก ช่องว่างความเห็นที่แตกต่าง
  3. ความไม่ไว้วางใจต่อคนกลาง ทัศนะของไทยต่อมาเลเซีย
  4. ข้อเรียกร้องที่ว่าให้ยุติความรุนแรงทั้งหมด เป้นอุปสรรคในการเจรจา
  5. การเอียงเข้าหา ทุกวันที่คนมุสลิมละหมาดคือ การสลาม เอียงไปด้านขวา และด้านซ้าย

อายัดที่ 61 และถ้าพวกเขาเอียงเข้าหาสันติภาพสูเจ้าก็ต้องทำเช่นเดียวกัน
บทบาทของการเป็นมุสลิม ส่องบอกเราว่า เราควรมีปฏิกริยากับมันอย่างไร
หลังหรือระหว่างการเจราหรือการสนทนา ความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นทั้งนั้น
แต่ต้องฝันต่อ

อ.สุรัตน์ กล่าวในมุม Global Transformation กำลังทำวิจัยเรื่องอาหรับสปริง รัฐอยากจะยืนกรานเรื่องมิติความมั่นคงที่เหมือนเดิม แต่ประชาชนอาจเริ่ม่ีมิติที่เปลี่ยนแปลงไป ในสมัยสงครามเย็นเราเชื่อว่ารัฐเป้นทุกสิ่งทุกอย่าง เราประชาชนต้องเสียสละเพื่อให้รัฐอยู่ได้ ในการแบ่งขั้วชัดเจนในช่วงสงครามเย็น หลังสงครามเย็น ก็เร่ิมมีคนพูดว่า รัฐไม่ควรเป้นตัวตั้ง ถ้าปชช ไม่มีกิน เราพูดกันใหม่เรื่องความมั่นคงของมนุษย ไม่ใช่ความมั่นคงของรัฐ ขัดแย้งกันหรือไม่ หรือต้องไปด้วยกัน

การปกป้องรัฐ ทำให้ปัจเจกชนต้องสูญเสีย เช่น สิ่งแวดล้อม การพัฒนา ทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีความขัดแย้งมาเป็นเวลานาน ในรอบ 20-30 ปี ก็มีองค์ประกอบใหม่ ๆ ในความขัดแย้งใหม่ ๆ เหล่านี้ เราพยายามจะเข้าใจรัฐไทยว่า เราถูกกดดันทางอิทธิพลทางการเมืองของจีน และอิทธิพลของสหรัฐยังอยู่ รัฐไทยอยู่ฝั่งสหรัฐ แต่รัฐบาลอาจไม่ใช่ รัฐไทยไม่มีเอกภาพที่ชัดเจนในวิถีคิดของตน จะเอาอะไรแบบไหน สมช. เสนออะไรมาก็มีความขัดแย้งกับหน่วยงานต่าง ๆ

disunity ก็มีกันทั้งสองในคู่เจรจาสันติภาพ การด่า ว่ากล่าวรัฐไทยว่าไม่ดีอย่างไร อยากจะชวนให้มองในแง่ดี มองให้แฟร์ ผมมาจากอินเดีย บรรพบุรุษซิกซ์ และทางแม่เป็นฮินดู ก็ไม่มีใครห้าม เราก็ได้รับการอุปถัมภ์ รัฐไทยมีความยืดหยุ่นในหลาย ๆ เรื่อง คนไทยเชื้อสายอินเดียทั้งหมด 200,000 กว่าคน กระจัดกระจาย

ลองไปถามว่าคนเอเชียอาคเนย์ มีสถิติว่าอยู่ในประเทศไทยมีความสุขมาก ประสบความสำเร็จทางธุรกิจเยอะมาก ในแง่หนึ่ง เดินไปในธนาคารพาณิชย์ เห็นได้ว่าการเลือกปฏิบัติ แบบทุนนิยมมากกว่าการเลือกปฏิบัติในด้านอื่น ๆ มีข้อดีอยู่ตรงนี้

“กระบวนการสันติภาพอย่างไปมองหรือหวังกับฝ่ายรัฐกับฝ่ายที่ไม่ใช่รัฐ เราเองทำอะไรบ้างมีส่วนร่วมน้อยไปหรือไม่ กระบวนการสันติภาพใช้เวลา และมีปัจจัยที่ทำให้สำเร็จและไม่สำเร็จ แม้จะมีทฤษฎีต่างๆ มากมาย เราก็ยังต้องศึกษาให้ลึกซึ่้งถึงปัจจัยเฉพาะที่จะพาเราไปข้างหน้าให้ได้” อ.สุรัตน์ โหราชัยกุล รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อัตลักษณ์ของฉันอยู่ที่ไหนและ ระบบการเมืองปัจจุบันตอบคำถามเรื่องอัตลักษณ์ของพื้นที่ได้หรือไม่

อ.อับดุลรอนิง สือแต กล่าวในเวทีว่า กระบวนการสันติภาพกำลังไปสู่ภาคส่วนต่างๆ มากขึ้น ในพื้นที่ ทุกคนในประเทศและสื่อต่าง ประเทศให้ความสนใจ โอกาสนี้ สำคัญ ให้รัฐไทยเรียนรู้ไปด้วยกัน และก้าวพ้นไปด้วยกัน การใช้กำลังทหาร ตำรวจ แก้ไขปัญหาไม่ได้แน่นอน เราสรุปกันได้แล้วว่าถ้าใช้กำลังความรุนแรงแก้ไม่ได้แน่นอน

“เราเห็นว่ากระบวนการสันติภาพเป็นห้องเรียนสันติภาพที่สำคัญของประเทศไทย
การเปิดการเจรจาเป็นโอกาสที่สำคัญ เราได้เห็นตัวตนของเขาว่าอย่างเป็นอะไรอยากเห็นอะไร
เราต้องตั้งใจฟังต่อ คนไทยทั้งประเทศต้องฟัง และเมื่อมีความเห็นแตกต่างทาง BRN ก็ต้องฟัง
โอกาสนี้ไม่ควรจะปล่อยให้เสียไป แล้วย้อนกลับไปในจุดที่ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร
สิ่งที่เราต้องการได้แลกเปลี่ยน ได้รับรู้ ร่วมกันทั้งสังคม
ไม่ใช่เรื่องของแค่สองฝ่าย ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกับประชาชนในพื้นที่มีความรู้ไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน อยากให้รัฐไทยได้ใช้เวลานี้ในการสื่อสาร แต่ต้องไม่เป็นการโต้เถียงกัน
รัฐไทยเองได้ทำไปบ้างแล้วในข้อเสนอของ BRN ที่ออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ
การโต้ตอบกันในการสัมภาษณ์ ทำให้เกิดความกลัว ความไม่ไว้วางใจต่อกัน”

ในความจริงคนในพื้นที่ส่วนใหญ๋ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ BRN แต่เราเป็นผู้ได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น ความเป็นความตาย ทั้งที่เป็นมุสลิม ไทยพุทธ เจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ด้วย
ความรู้สึกเรื่องการพูดคุย เราคิดว่าเป็นความหวังของคนในพืนที่และไม่ถูกล้มโดยคนที่ไม่เห็นด้วย
เราควรอยู่ในที่สว่าง ไม่ต้องการให้พับไป หรือถูกทำลายไป เราต้องใช้เวทีที่เปิดกว้างในการแสดงทัศนะของหลายๆ ฝ่าย

คิดว่าเป็นโอกาสเดียว อย่าให้การพูดคุยนี้ล้มไป เราต้องส่งเสียงและประคับประคองให้เป็นไป
เราก็ไม่รู้ว่าต้องใช้เวลาเท่าไร เราไม่อยากให้เห็นการเข่นฆ่ากันต่อไป เป็นภาระหน้าที่ของประชาคม
ประเทศนี้คือของพวกเราทุกคน เราต้องแสดงเรียกร้อง สิทธิที่จะกำหนดอนาคตของพวกเราสร้างประเทศนี้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในประชาชนไทย เรามีสิทธิในฐานะเป็นประชากรของรัฐไทยด้วยกัน สันติภาพอยู่ในมือของพวกเราทุกคน เราต้องสร้าง ปล่อยเป็นไปตามธรรมชาติคงไม่ได้

อ. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เพิ่มเติมว่า ผมพูดอย่างเดียวกับเพื่อนๆ กับพูดในที่สาธารณะไม่ได้ เหมือนกับทุกคน เรื่องการถอนทหาร จากการศึกษาของเรา ฯ เจ้าของร้านค้าปลึกรู้สึกอย่างไร เมื่อทหารมาอยู่ใกล้ๆ เขาเห็นใจและชอบ แต่ไม่สบายใจ ร้านค้าบางร้านก็ปิดร้านไปเมื่อทหารมาจอดรถ ทหารเป็นเป้า หลังการพูดคุยสันติภาพฯ ภายใน 3 เดือนอัตราส่วนผู้บาดเจ็บล้มตาย เป็นพลเรือนลดลง ตำรวจทหารเป็นเป้าหมายมากขึ้น ทหารตำรวจควรต้องปลอดภัยด้วย เรื่องนี้ก็ต้องคุยกันต่อไป เราต้องจัดวางให้ถูกที่ถูกทาง

RELATED ARTICLES