[FOR ENGLISH PLEASE SCROLL DOWN]
บทความพิเศษ แอมแนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
http://www.amnesty.org/en/news/anyone-who-says-we-live-comfortably-death-row-has-obviously-never-been-there-2013-04-19
“ในบรรดาคนที่กล่าวว่า พวกเราอยู่อย่างสุขสบายในฐานะนักโทษประหาร ไม่มีใครเลยที่เคยต้องเผชิญสภาพนั้นด้วยตัวเอง” เดมอน ทีโบดัวซ์ ใช้ชีวิตที่แขวนอยู่บนเส้นด้ายเพื่อรอการประหารเป็นเวลานานกว่าหนึ่งทศวรรษ
ชายชาวอเมริกันวัย 38 ปีคนนี้ ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาฆาตกรรมเด็กหญิงคริสตัล แชมเปญ วัย 14 ปี ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง และถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิตเมื่อปี 2540 แต่เขายืนกรานเสมอว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ และหลังจากที่ต้องใช้ชีวิตในคุกเป็นเวลา 15 ปี เขาก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระจากเรือนจำของรัฐหลุยเซียน่า ที่เมืองแองโกลา (หนึ่งในเรือนจำที่เลวร้ายที่สุดในประเทศ) นี่คือเรื่องราวของเขา
คำสารภาพ
คดีของ เดมอน ทีโบดัวซ์ นั้นมีความผิดปกติ ในสหรัฐอเมริกา ความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมนับเป็นสิ่งที่ปรากฎเด่นชัดในการใช้โทษประหาร กรณีของทีโบดัวซ์เป็นหนึ่งในนั้น ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมามีผู้ต้องโทษประหารชีวิตมากกว่า 140 คนที่ต่อมาสามารถพิสูจน์ได้ว่าพวกเขาบริสุทธิ์ และไม่ต้องรับโทษประหาร ซึ่งนั่นคือเหตุผลสำคัญที่แม้แต่ผู้ที่สนับสนุนโทษประหารชีวิตควรพิจารณาเพื่อระงับการสนับสนุนการใช้โทษดังกล่าว
เช้ามืดของวันที่ 21 กรกฎาคม 2539 ทีโบดัวซ์อยู่ภายใต้การควบคุมตัวของตำรวจ และถูกสอบปากคำเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานเกือบ 9 ชั่วโมง ในขณะนั้นเขาอายุ 19 ปี เขารับสารภาพว่าเป็นคนฆ่าลูกพี่ลูกน้องวัย 14 ปี ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้เขาได้ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าเขาไม่มีส่วนรู้เห็นในการฆาตกรรมดังกล่าว สองสามชั่วโมงต่อมา เขาบอกกับทนายความอย่างเหนื่อยอ่อนว่า เขาแกล้งสารภาพเพื่อยุติการสอบปากคำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
อย่างไรก็ตาม คำสารภาพนั้นเป็นเสมือนอาวุธร้าย ประกอบกับรายละเอียดของการฆาตกรรมที่ไม่ถูกต้อง ผลของการฟ้องร้องพบว่าเขามีความผิด และคณะลูกขุนลงมติเป็นเอกฉันท์ตัดสินโทษประหารชีวิต
หลังจากนั้น ทีโบดัวซ์กลายเป็นนักโทษประหารที่ถูกขังเดี่ยวในเรือนจำความมั่นคงสูงสุดของรัฐหลุยเซียนา ที่แองโกลาเป็นเวลานาน 15 ปี “ในคุกแองโกลา คุณอยู่ในห้องขัง 23 ชั่วโมงต่อวัน คุณไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับใครทั้งสิ้น อาหารถูกนำมาให้ถึงที่ คุณได้ใช้เวลาในสนามวันละหนึ่งชั่วโมง สามครั้งต่อสัปดาห์ หรือคุณสามารถอยู่ข้างในใช้เวลาวันละหนึ่งชั่วโมงในห้องโถง ภายในหนึ่งชั่วโมงนั้น คุณต้องอาบน้ำ ใช้โทรศัพท์ ออกกำลังกาย หรือ ทำอะไรก็ได้” ทีโบดัวซ์เล่าให้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลฟัง
“ในแดนประหาร อากาศร้อนแทบเป็นบ้า ในหน้าร้อน ร้อนจนคุณต้องใส่แค่กางเกงในตัวเดียว เหงื่อท่วมตัว กลางคืนก็นอนไม่หลับ ใครที่พูดว่าพวกเราอยู่อย่างสุขสบายในแดนประหารนั้น แสดงว่าไม่เคยรู้เลยว่าสภาพในแดนประหารนั้นเป็นอย่างไร มันเป็นสถานที่ที่ไม่สะดวกสบายอย่างที่สุด”
“ครอบครัวของผมเคยมาเยี่ยม 4 ครั้งในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา สำหรับบางครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเดินทางมาที่แองโกลา เพราะคุกนั้นตั้งอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองมาก”
จุดสิ้นสุด
ทีโบดัวช์กล่าวว่า สิ่งที่เลวร้ายที่สุดเกี่ยวกับการเป็นนักโทษประหาร คือ การรับรู้ว่ารัฐมีความตั้งใจที่จะฆ่าคุณ “โชคดีที่ผมไม่ต้องรอถึงวันประหารชีวิต ข้อเท็จจริงที่ว่า รัฐต้องการจะฆ่าคุณ เป็นสิ่งที่คุณต้องยอมรับและเผชิญหน้ากับมัน มันไม่ใช่สิ่งที่คนทุกคนจะรับมือในวิธีการที่เหมือนกัน”
วันนี้เขาเป็นอิสระ ทีโบดัวช์กล่าวว่าเขาเชื่อเสมอว่าเขาจะได้รับการปล่อยตัวออกจากแองโกลา แต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ความผิดปกติในคดีของเขาประกอบกับหลักฐานว่ามีการลงโทษผิดพลาด สำนักงานอัยการเขตตกลงที่จะทำการสืบสวนคดีนี้ใหม่ร่วมกันกับทนายความของจำเลยในปี 2550
“ผมรู้ล่วงหน้าว่าผมจะพ้นข้อกล่าวหาประมาณ 2-3 ปี ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัว อัยการเขตต้องการที่จะมั่นใจว่าไม่ได้ปล่อยตัวบุคคลที่เป็นอันตรายสู่สังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ มันไม่ง่ายที่จะปล่อยคนที่คุณได้ดำเนินคดีและพิพากษาให้ประหารชีวิต”
หลักฐานทางดีเอ็นเอ
ในระหว่างการสืบสวนคดีครั้งใหม่ อัยการเขตปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคำรับสารภาพที่ขัดแย้งกันเอง และสรุปว่าคำรับสารภาพของทีโบดัวซ์นั้นยังไม่น่าเชื่อถือ อัยการเขตประกาศว่า “หลักฐานสำคัญในคดีนี้ คือ คำรับสารภาพนั้นไม่น่าเชื่อถือ ปราศจากคำรับสารภาพดังกล่าว ก็ไม่มีหลักฐานใดที่สามารถเอาผิดเขาได้ ดังนั้น ในนามของความยุติธรรมคดีนี้จึงต้องถือเป็นโมฆะ“
ในคำสั่งศาลลงวันที่ 27 กันยายน 2555 ผู้พิพากษาสั่งให้ปล่อยทีโบดัวซ์ออกจากคุก การทดสอบทางนิติเวชพบว่าไม่มีหลักฐานทางกายภาพที่เชื่อมโยงเขากับอาชญากรรม และการทดสอบดีเอ็นเอจากตัวอย่างของเลือดที่พบบนลวดที่ใช้ในการรัดคอเหยื่อ เผยให้เห็นว่าเป็นดีเอ็นเอของชายอื่นที่ไม่ใช่ทีโบดัวซ์
โครงการผู้บริสุทธิ์ (The Innocence Project) มีบทบาทในการสืบสวนคดีใหม่ให้นักโทษมากกว่า 300 คนทั่วประเทศพ้นข้อกล่าวหาในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา (ในจำนวนนั้นมี 18 คน ที่ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิต) หลักฐานทางดีเอ็นเอกลายเป็นส่วนสำคัญในการยืนยันความบริสุทธิ์ของพวกเขา อย่างไรก็ตาม คดีจำนวนมากไม่มีหลักฐานดีเอ็นเอที่สามารถทดสอบได้ ดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่สามารถใช้พิสูจน์ได้สำหรับนักโทษจำนวนมากที่อ้างว่าตนเป็นผู้บริสุทธิ์
“แม้ว่าผมจะรู้ล่วงหน้า 2-3 ปีว่าจะได้รับการปลดปล่อย แต่มันไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถทำใจรับได้ เมื่อตอนที่ผมเดินผ่านประตูออกมา ผมรู้สึกเหมือนเป็นคนใหม่ มันเป็นประสบการณ์ที่เหลือเชื่อมาก คุณใช้เวลา 15 ปี อยู่ในห้องขัง คุณถูกขังไว้ 23 ชั่วโมงต่อวัน แล้วจู่ๆ คุณถูกปล่อยออกมา มันเป็นเรื่องที่น่ากลัวในเวลาเดียวกัน เพราะมีเหตุการณ์มากมายเกิดขึ้นในช่วงเวลา 15 ปี แต่ผมก็เดินออกมาได้อย่างสง่าผ่าเผย” ทีโบดัวซ์กล่าว
โลกใบใหม่
ตอนนี้ทีบัวโบดัวซ์กำลังสร้างชีวิติใหม่ในรัฐมินนิโซตา ทำงานพาร์ทไทม์ และอาศัยอยู่ในแฟลต เขาไม่เคยได้รับค่าชดเชยใดๆ จากรัฐ และกำลังพยายามที่จะปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ที่มีอิสรภาพในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด 15 ปี ที่เขาใช้เวลาอยู่หลังลูกกรง นอกจากนั้นเขายังได้กลับมาติดต่อกับลูกชายวัย 21 ปี
ทีบัวโบดัวซ์เล่าวว่า “เราได้ดูโทรทัศน์และอ่านหนังสือพิมพ์ในคุก ผมได้เห็นสิ่งต่างๆ ที่กำลังพัฒนาในยุคดิจิตอล แต่การที่จะต้องพยายามตามสิ่งเหล่านั้นให้ทัน แม้กระทั่งตอนนี้ มันเป็นเรื่องที่ท้าทายพอสมควร ผมต้องเรียนรู้ที่จะใช้งานสิ่งของบางอย่างที่ผมไม่รู้จัก เช่น ไอพอดหรือคอมพิวเตอร์ – ผมคงต้องโทรศัพท์ไปหาใครสักคนเพื่อถามเขา” ทีโบดัวซ์เป็นนักโทษประหารคนที่ 141 ในสหรัฐฯ ที่ถูกปล่อยตัวนับตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมาด้วยสาเหตุว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ นักโทษจำนวนมากถูกประหารชีวิต ทั้ง ๆ ที่มีข้อสงสัยมากมายในการตัดสินลงโทษพวกเขา
“คดีนี้เป็นเครื่องเตือนใจอย่างหนึ่งว่าโทษประหารชีวิตมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดที่ไม่อาจย้อนเอาชีวิตกลับคืนมาได้ เจ้าหน้าที่ทางการทั่วประเทศสหรัฐฯ ควรจะสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับเดมอน ทีโบดัวซ์ และร่วมมือกันเพื่อยุติการลงโทษที่โหดร้ายนี้” ร็อบ เฟรียร์ นักวิจัยประจำประเทศสหรัฐฯ แอมแนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
แอมแนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคัดค้านโทษประหารชีวิตในทุกกรณี ในทุกประเทศ โดยไม่มีข้อยกเว้น
************************************
AMNESTY INTERNATIONAL
FEATURE
‘Anyone who says we live comfortably on death row has obviously never been there’
http://www.amnesty.org/en/news/anyone-who-says-we-live-comfortably-death-row-has-obviously-never-been-there-2013-04-19
Damon Thibodeaux lived under the threat of execution for more than a decade.
This US national, now 38, was convicted of the murder of 14-year-old Chrystal Champagne, his step-cousin, and sentenced to death in 1997. But he always insisted on his innocence and after spending 15 years in prison he finally walked out of Louisiana State Penitentiary at Angola – one of the harshest prisons in the country – a free man. This is his story.
‘Confession’
Thibodeaux’s case is far from unusual. Error is one of the hallmarks of the capital justice system in the USA. The number of cases in which people sentenced to death have later been exonerated – more than 140 in the last four decades – should give even the death penalty’s most ardent supporters pause for thought.
In police custody in the early hours of 21 July 1996, after an interrogation lasting nearly nine hours, the then 19-year-old confessed to the murder of his 14-year-old step-cousin – despite having repeatedly denied that he had anything to do with the crime.
A few hours later, he told his lawyer that, exhausted, he had falsely confessed in order to end the interrogation.
However, armed with this “confession” – containing details of the crime that were incorrect – the prosecution obtained a conviction and a jury voted unanimously for the death sentence.
What followed for Thibodeaux were 15 years of solitary confinement on death row at Louisiana’s maximum security prison at Angola.
“In Angola you are in a cell 23 hours a day, you have no contact with anyone. All of your food is brought to you. You get one hour a day, three times a week, in the yard. Or you can stay inside and have one hour a day on the hallway. In that hour, you have to shower, make any phone calls, do your exercising or whatever,” Thibodeaux told Amnesty International.
“On death row, it’s unbearably hot in the summer, so hot you stand around in your boxers all day and you sweat, you get no sleep at night. Anyone who says we live comfortably on death row obviously has no idea what death row is like. It is the most uncomfortable place.”
“I had visits from my family four times in 15 years. For some families it’s not easy making that trip to Angola because it’s so far outside of the city.”
End of the line
Thibodeaux says the worst thing about being under a death sentence is knowing that the state intends to kill you.
“Thankfully, I didn’t have to face an execution date. The fact that the state wants to kill you is something that you have to come to terms with by yourself. It’s not something people deal with in the same manner.”
Today a free man, Thibodeaux says he always believed he was going to walk out of Angola, but did not know when. An unusual aspect of his case was that in 2007, faced with evidence of wrongful conviction, the District Attorney’s office agreed to a joint reinvestigation of the case with defence lawyers.
“I knew I was going to be exonerated probably two to three years before it happened. The District Attorney wanted to make absolutely sure he wasn’t releasing anyone dangerous into society, which is understandable. It’s not easy to release someone that you’ve prosecuted and put on death row.”
DNA evidence
As part of the reinvestigation, the District Attorney consulted an expert on disputed confessions, who concluded that Thibodeaux’s confession was unsound. The District Attorney then announced that “the primary evidence in this case, the confession, is unreliable. Without the confession, the conviction cannot stand and therefore in the interest of justice it must be vacated.”
In an order issued on 27 September 2012, a judge ordered Thibodeaux’s release from prison. Forensic testing had found no physical evidence linking him to the crime, and DNA testing of a sample of blood found on wire used to strangle the victim revealed DNA of a male other than Thibodeaux.
According to The Innocence Project, which was also involved in the reinvestigation of the case, more than 300 prisoners across the USA – including 18 who were on death row – have been exonerated in the past few decades after DNA evidence played a major part in establishing their innocence. However, in most crimes there is no DNA evidence that can be tested and so that route is not available for many convicted prisoners claiming innocence.
“Even though I knew about my release a couple of years beforehand, it is not something you can prepare for emotionally. When I crossed through the door, I felt like a new man. It was a very surreal experience. You spend 15 years in a prison cell, locked down for 23 hours a day and then you are out. It’s daunting at the same time because there’s so much that’s happened in the last 15 years. But I was able to walk out with my head high,” Thibodeaux said.
New world
Thibodeaux is now rebuilding his life in Minnesota, and has a part-time job and a flat. He has not received any compensation from the state and is trying to re-adjust to a free life in a world that has changed in the 15 years he spent behind bars. He is also reconnecting with his now 21-year-old son.
“We did have television and newspapers so I saw things developing, the digital age, but to have to go back and try to catch up with all that. Even now, it’s a bit of a challenge. I run into something I know nothing about. How to operate my iPod or my computer – I might have to call someone to ask,” he said.
Thibodeaux was the 141st prisoner released from death row in the USA since 1973 on the grounds of innocence. A number of prisoners have gone to the execution chamber despite serious questions about their guilt.
“This case is one more reminder of the risk of irrevocable error that comes with the death penalty. Officials across the USA should reflect on what happened to Damon Thibodeaux and work for the abolition of this cruel punishment,” said Rob Freer, USA Researcher at Amnesty International.
Amnesty International opposes the death penalty in all cases, in all countries, unconditionally.
—-
Amnesty International Thailand
90/24 Ladprao Soi 1, Jomphol, Chatuchak, Bangkok THAILAND 10900
Phone: +66 (0) 2 513 8754, +66 (0) 2 513 8745
Fax: +66 (0) 2 939 2534
info@amnesty.or.th
http://www.amnesty.or.th
http://www.facebook.com/amnestythailand
—-
Amnesty International is a Nobel Peace Prize-winning grassroots activist organization with more than 3 million supporters, activists and volunteers in more than 150 countries and territories campaigning for human rights worldwide. The organization investigates and exposes abuses, educates and mobilizes the public, and works to protect people wherever justice, freedom, truth and dignity are denied.