บันทึกการประชุม (เช้า วันที่ 21 Feb 2013)
OHCHR Regional Office for SEA
Follow-up to UPR : SEA
21 Feb-22 Feb 2013
บันทึกย่อ
Mr. Jong-Gil Woo สรุป กระบวนการยูพีอาร์ จุดประสงค์ของกระบวนการ UPR คือเราต้องการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ พยายามประสานความร่วมมือของหน่วยงานทั้งหมดด้านสิทธิมนุษยชนเข้าด้วยกัน ในประเทศต่าง ๆ ทุกประเทศต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาระบบ upr ประเด็นพูดคุยเป็นประเด็นสิทธมนุษยชน ในทุกๆ ด้าน ไม่ต้องการให้เป็นการเมือง และไม่ต้องการให้มีการลำเอียงหรือมีอคติต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง สามารถทำงานได้ในกับทุกกลไกด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น
การจัดทำรายงาน มีรายงานรัฐ 20 หน้า รายงานของหน่วยงานในยูเอ็น 10 หน้า และรายงานที่รวบรวมจากองค์กรต่างๆ เอกชน แล้วทาง OHCHR จะรวบรวมทั้งหมดเป็น 10 หน้ากระดาษ เราใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศทั้งหมด ทั้งที่มีภาระผูกพันทางกฎหมายและในส่วนที่ไม่มีภาระผูกพันทางกฎหมาย
193 ประเทศเข้าสู่กระบวนการ upr แล้ว จัดประชุมทุกปี แต่มีประชุมเพียง 3 ครั้งต่อปี ดังนั้นประเทศต่าง ๆ จะต้องเข้าสู่กระบวนการ upr ทุก 4 ปี ตอนนี้ มีประเทศต่างๆ เข้าร่วม ทุกประเทศ 100% การยอมรับข้อเสนอแนะกลายเป็นจารีตไปว่าประเทศต่าง ๆก็รับนำไปปฏิบัติ ภาคประชาสังคมก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในทุกขั้นตอน
มีการเน้นประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนแและส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในหมู่ประชาชน
ตอนนี้กำลังเข้าสู่ รอบที่สอง 2012-2016 ตอนนี้มีปัญหาว่าประเทศอิสราเอลไม่ยอมเข้าร่วมในรอบที่สองนี้ ทั้ง ๆที่รอบแรกทุกประเทศยินดีที่จะเข้าร่วมการพิจารณารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยยนในระบบ UPR
รอบที่สองเน้นเรื่องการนำไปใช้ และการพัฒนาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศของตน คนที่จะนำข้อเสนอแนะไปใช้เป็นหลักคือรัฐ และภาคส่วนต่าง ๆ
Second Cycle รอบสองนี้เริ่ม may 2012 ข้อสังเกต ในรอบแรก คณะกรรมการสิทธิฯ ของแต่ละประเทศไม่สามารถส่งรายงานได้ ส่งไปแล้ว OHCHR แล้วสรุปรวมกับของ CSOs
ในรอบที่สอง รายงานของ คณะกรรมการสิทธิของแต่ละประเทศ NHRI จะสามารถส่งเข้ามาให้ OHCHR รวบรวม แต่ถ้าได้ เกรด A รอบสองนี้จะสามารถส่งรายงานโดยตรงได้เลย
การรายงาน การนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปใช้ทั้งที่รับรองไว้ แล้ววก็ทำให้ชัดโดยการเขียนหรือรายงานท่าทีของข้อเสนอแนะต่างๆ
ความท้าทาย
ข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีมากมาย มีมากกว่า 200 ข้อ โดยเฉลี่ยมี 50-60 ข้อ ดังนั้นจึงต้องทำการจัดลำดับความสำคัญ ข้อเสนอแนะก้ค่อนข้างกว้าง ไม่สามารถระบุแผนงานได้อย่างชัดเจน รัฐบางรัฐ ไม่ค่อยชัดเจนในข้อเสนอบางข้อ ปฎิเสธหรือรับรอง ไม่ชัดเจน เราจะทำอย่างไรกับข้อเสนอที่รัฐไม่รับ สถานการณ์สิทธิในเรื่องนั้น หรือในห้วข้อที่ไม่รับรองต่าง ๆ นั้น น่าห่วงกังวลใช่หรือไม่ แม้ว่าจะปฎิเสธ แต่การทำงานก็ต้องเน้นใช่หรือไม่ แสดงว่าเป็นปัญหาจริง ๆ ทรัพยากรในการนำข้อเสนอแนะไปใช้ บางกลุ่มภาคประชาสังคมหลังการเข้าร่วมการประชุม UPR ถูกคุกคาม Reprisal
โอกาส
เป็นที่ยอมรับ และ ข้อมูลของ UPR ช่วยเป็นข้อมูลที่สำคัญของกลไกอื่นๆ ในยูเอ็น เช่นผู้แทนพิเศษด้านต่าง ๆ รวมทั้งระบบ Treaty bodies และกลไกในระดับประเทศของยูเอ็น ข้อเสนอของ URP รัฐสามารถใช้ในการพูดคุยกับองค์กรภาคประชาสังคม ข้อเสนอก็สามารถนำมาใช้ในการจัดทำโครงการได้อย่างชัดเจน มีข้อมุลสนับสนุน UPR ทำให้มองเห็นภาพรวมและทำให้ภาคประชาสังคม ทำงานร่วมกัน และแลกเปลี่ยนประเด็นร่วมกัน รวมทั้งการพูดคุยกับเจ้าหน้าทีรัฐในหลาย ๆระดับ หลายๆ ประเด็นโดยนำข้อเสนอแนะ UPR นำการพูดคุย ทาง UNOHCHR ก็มีความต้องการจะสนับสนุนรัฐต่าง ๆถ้าจะต้องการ technical support เรามีโอกาสที่จะทำงานร่วมกันภายใต้ UPR Trust Fund
การติดตามผล
มีกลไกในการส่งเสริมด้วยกองทุน UPR ต้องสนับสนุนประเทศต่างๆ แต่ต้องผ่านการประสานงานกับรัฐบาลด้วย เป็นการทำงานร่วมกัน เพื่อสนับสนุนงานทางด้านเทคนิค เช่น Voluntery Fund for Financial and Technical Assistance ภายใต้การบริหารของ OHCHR เริ้มตั้งแต่ปี 2007 กองทุนจะสนับสนุนรัฐต่างๆ ในด้านอะไรบ้าง? impact and change from the ground การแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ การปฎิบัติ ทำงานร่วมกับรัฐและหน่วยงานรัฐ ทำงานภายใต้การบริหารของ UNOHCHR อาจเป็นการทำงาน Bilateral and Multilateral
ตัวอย่าง
ในประเทศไลบีเรีย นำไปพูดคุยในประเทศอย่างกว่างขวางกับองค์กรภาคประชาสังคม HRS-UNMIL ในบาเรนห์ก็เช่นกัน สำนักงาน OHCHR ก็ทำงานกับรัฐและ CSOs ในออสเตรีย NGOs ไม่เคยพบกับตัวแทนรัฐมาก่อนเลย ก็ได้พบและคุยกันผ่านระบบ UPR UPR ก็เป็นส่วนสำคัญในการจัดทำแผบสิทธิมนุษยชนของประเทศนั้น ๆ UPR ทำให้เกิด database ที่สามารถใช้ได้ในหลายๆ รูปแบบ ตามประเด็น จัดทำ HR index database ข้อเสนอแนะ UPR เกิดการเผยแพร่เป็นภาษาท้องถิ่นในประเทศนั้น ๆ รัฐบาลบางประเทศมี mid term Progress รัฐบาลบางประเทศเชิญผู้แทนพิเศษด้านต่าง ๆ ไปเยี่ยมประเทศ รัฐบาลบางประเทศก็เร่ิมที่จะตอบจดหมายของ UN ในประเด็นต่างๆ ที่มีการสอบถามเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศนั้นๆ รัฐบาลบางประเทศก็เริ่มมาทำงานร่วมกับ UN country team มากขึ้น คณะกรรมการสิทธิฯ และ CSOs บางประเทศก็มีการแลกเปลี่ยนวิเคราะห์ข้อมูลต่อกันมากขึ้น เช่น ปท เคนยา และอินเดีย
Q & A
ข้อเสนอแนะไม่ค่อยมีคุณภาพ คำที่ใช้ หรือข้อเสนอแนะที่ไม่ละเอียดพอสำหรับการทำงานต่อไป การแปลเอกสารเป็นจุดเริ่มที่สำคัญ
ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย มีข้อเสนอของ UPR สำหรับประเทศไทย 172 ประเทศไทยรับ 134 National UPR committee เตรียมจัดทำรายงาน May 2012 ทำงานปรับปรุงวาระ ให้ไม่ใช่เป็นการเขียนแต่เป็นการนำข้อเสนอไปใช้ ทำแผนออกมาเป็นฉบับเดียวเพื่อนำไปสู่การใช้งานกับหน่วยงานของรัฐในส่วนต่าง ๆ เราได้ทำตามข้อเสนอที่รับรองแล้ว และมีผู้แทนพิเศษฯ เข้ามาเยี่ยมประเทศไทยแล้ว และกำลังจะมา
2013-2015 ก็จะทำงานกันเพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านสำหรับ Second round ทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น และผู้ปฎิบััติเข้าใจข้อเสนอของ UPR ที่รัฐบาลรับแล้วมีความสำคัญและมีความหมายอย่างไร เราทำงานเพื่อเผยแพร่ข้อมูล แปลเอกสาร และเผยแพร่เป็นภาษาไทย หลังประชุมทำประชุม 5 ครั้งทั่วประเทศ ข้อแนะนำของ UPR บางข้อบางประเด็นที่ไม่ค่อยชัดเจน เช่นให้ลดช่องว่างทางสังคม แต่เราจะทำอย่างไร จะจัดให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปปฏิบัติอย่างไร เป็นต้น ตัวอย่างประเทศฟิลิปปินส์ ทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนในการทำงานเป็น coalision เราจะเชิญทุกฝ่าย ทุกส่วน เพราะเรามีกลุ่มภาคประชาสังคมที่ใหญ่และหลากหลาย เรามีการพูดคุยกันว่าข้อเสนอของ UPR มีอะไรบ้าง และทำงานกันเพื่อหาจุดร่วมในการทำงานไปข้างหน้า และรวบรวมจุดเกาะเกี่ยวกับระบบ UN Treaty bodies ไม่ว่าจะเป็น CERD, CAT, ICCPR
เราเรียกร้องให้รัฐบาลระบุว่าจะส่งรายงานฉบับไหนเมื่อไรเพื่อจะได้นำไปสู่การประสานงานกับ CSOs
2010 election ประธานาธิบดี ที่ลงสมัครและอาจจะได้รับเลือก เขาก็มาพูดรับรองว่าจะทำงานเรื่องสิทธิมนุษยชน เราจัดให้มี coffee club เราทำงานตามข้อเสนอทั้งหลายเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีเอกภาพ
เราเห็นว่า UPR เป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้รัฐบาลใหม่ทำงาน และเปิดโอกาสให้เราไปแสดงทัศนะคติของคณะกรรมการสิทธิฯของเราเห็นอย่างไรและอยากให้รัฐทำอะไร
ตอนนี้เราก็มีการประชุมร่วมกันเพื่อจัดทำ หนังสือ Road in search of a Map on HR Rights path เป็นสิ่งที่เราเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการตามข้อเสนอของพวกเรา
ตัวอย่างกิจกรรม สถานทูตต่าง ๆ ก็เข้ามารับฟังการนำเสนอของเราเพื่อให้รัฐบาลฟิลิปปินส์สนับนุน ข้อเสนอแนะของ UPR Mock UPR ไม่ได้ให้ NGOs เข้าร่วมด้วยแต่คิดว่าครั้งหน้า dialogue with CSOs set up Webcast ในการถ่ายทอดการประชุมในคณะกรรมการสิทธิของเรา เราก็ล๊อบบี้ด้วย พูดคุยกับหน่วยงานต่าง ๆ
เดือนตุลาคม 2012 เราทบทวนข้อเสนอทุกข้อ ระบุว่าแต่ละข้อ มี SWOT อย่างไร เน้นประเด็นสำคัญ เพื่อให้เกิดการปรับปรุง สำหรับ next cycle
แปลเอกสาร และทำเป็น sign language ระบุ CSOs ที่สนับสนุนข้อเสนอข้อใด ระบุ หน่วยงานรัฐที่อาจจะต่อต้านข้อเสนอของ UPR ในประเด็นต่างๆ
เราพยายามที่จะคุยกับหน่วยงานรัฐ และองค์กรอิสระต่าง ๆอยู่ตลอดเวลา เดือนมีนาคม 2513 มีการประชุม Team building ทบทวนแผนงานของเรา กลุ่มแกนของเรายินดีที่จะเขียน รายงาน Mid term -ไปร่วมแลกเปลี่ยนกับคณะกรรมการสิทธิของหลายๆ ประเทศ เช่น เกาหลี ไทย และ OHCHRและเวที Asia Pacific NHRI มี webcast ของตนเองหลังจากพบว่า webcast ของ UPR เป็นเครื่องมือที่ดี
UN nick booth (Access to justice) Policy Advisor how would you like to do better? cross agencies ในระบบยูเอ็น
Input from
อ.วิทิต มันตราภรณ์ ไปทำงานลักษณะนี้ที่เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ทีมที่ไปเจนีวา ทำงานต่อกันอย่างไร หลายอย่างไม่ต้องใช้งบมากมาย เราอาจทำงานเช่นการนำสื่อที่ผลิตแล้วไปใช้ต่อ ไปเผยแพร่ต่อทางช่องทางอื่นๆ Personnel approach มีกลุ่มเล็กๆ ที่ไปเจนีวาด้วยกัน ควรกลับมาทำงานต่อ ทำกลุ่มทำงาน Coffee club เจ้าหน้าที่บางส่วนอาจไม่อยากมา แต่ก็ต้องพยายามเช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตม. ถ้ารัฐไม่เผยแพร่ข้อมูลที่รัฐบาลไม่รับรอง UPR ก็ต้องเผยแพร่มากขึ้นอีก ว่าทำไมไม่รับรอง และก็น่าจะตั้งกลุ่มทำงานตรวจสอบหัวข้อเหล่านั้น จริงจัง