[:th]CrCF Logo[:]
สมุดบันทึก CrCF

CrCF Note book on CERD recommendation on Thailand (สมุดบันทึก CrCF)

Share

สรุปย่อข้อเสนอแนะ ICERD ข้อเสนอแนะต่อประเทศไทย จากคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ องค์การสหประชาชาติ
สมัยประชุมที่ 81 6 – 31 สิงหาคม 2555

1. การเข้าถึงสัญชาติ

คณะกรรมการ ICERD เสนอให้ประเทศไทยแก้ไขอุปสรรคต่อการได้รับสัญชาติของบุคคลผู้มีคุณสมบัติ คณะกรรมการเสนอแนะให้ประเทศไทยส่งเสริมการจดทะเบียนการเกิด รวมทั้งการอนุญาตให้มีการแจ้งเกิดภายหลัง และให้มีการแจ้งเกิดผ่านระบบสาธารณสุข คณะกรรมการยังกระตุ้นให้ประเทศไทยให้รับเป็นรัฐสมาชิกของอนุสัญญาเกี่ยวกับสถานะของบุคคลไร้สัญชาติ พ.ศ. 2497 (1954 Convention Relating to the Status of Stateless Persons) และอนุสัญญาว่าด้วยการลดสภาวะการไร้สัญชาติ พ.ศ. 2504 (1961 Convention on the Reduction of Statelessness) คณะกรรมการแนะนำให้ประเทศไทยคุ้มครองสิทธิทางพลเรือนและการเมืองของพลเมืองของตนทุกคน โดยไม่คำนึงว่าบุคคลเหล่านั้นได้รับสัญชาติด้วยวิธีการใด คณะกรรมการกังวลต่อข้อจำกัดที่มีต่อสิทธิของผู้ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการลงสมัครรับเลือกตั้ง

ข้อเสนอแนะต่อประเทศไทย จากคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ องค์การสหประชาชาติ สมัยประชุมที่ 81 วันที่ 6- 31 สิงหาคม 2555 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

2. การจำแนกสถานะด้วยตนเอง

คณะกรรมการเสนอแนะประเทศไทยให้ทบทวนนโยบายการจำแนกบุคคลประเภทต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยให้สอดคล้องกับการกำหนดอัตลักษณ์ของตนเอง ( Self-identification) และให้แก้ไขคำศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนเหล่านั้นและให้ชื่อเรียกลุ่มเป็นไปตามที่กลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ ต้องการ นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาถึงความสนับสนุนของประเทศไทยที่มีต่อการรับรองปฏิญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (United Nation Declaration on the Rights of Indigenous Peoples – UNDRIP) คณะกรรมการเสนอให้ประเทศไทยยืนยันสิทธิของชนพื้นเมืองในกฎหมายของตน เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิญญาฉบับนี้ และให้พิจารณาให้ประเทศไทยเป็นประเทศไทยต่ออนุสัญญาองค์การแรงงานโลกฉบับที่ 169 ว่าด้วยชนพื้นเมืองและชนเผ่า (ILO Convention No 169 on Indigenous and Tribal Peoples)

3. กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า

คณะกรรมการ UN ICERD กังวลว่า กฎหมายอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่หลายฉบับส่งผลกระทบเชิงเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในป่า คณะกรรมการยังกังวลว่า ไม่มีการขอความยินยอมหรือขอความสมัครใจก่อนการตัดสินใจในการจัดการป่าอนุรักษ์เหล่านี้ ทั้งที่การตัดสินใจเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า

แม้ว่าจะมีคำวินิจฉัยที่ 33/2554 ของศาลรัฐธรรมนูญในเดือนพฤศจิกายน 2554 คณะกรรมการกระตุ้นประเทศไทยให้ทบทวนกฎหมายป่าไม้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกันให้มีการเคารพต่อวิถีชีวิต การดำรงชีพและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งสิทธิของพวกเขาที่จะได้แสดงความยินยอมโดยสมัครใจและล่วงหน้าก่อนจะมีการตัดสินใจใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง พร้อม ๆ กับส่งผลให้มีการปกป้องสิ่งแวดล้อม

4. กลุ่มชาติพันธุ์ที่เสียเปรียบ

คณะกรรมการ UN ICERD ห่วงกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเข้าถึงสวัสดิการด้านสังคมและบริการสาธารณะของกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม ซึ่งมีสาเหตุมาจากข้อจำกัดทางภาษาและการมีบริการที่จำกัดในพื้นที่ซึ่งประชากรกลุ่มนั้นอาศัยอยู่ คณะกรรมการเรียกร้องให้ประเทศไทยพยายามต่อไปเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่ม รวมทั้งการปฏิบัติตามมาตรการพิเศษเพื่อเร่งรัดให้เกิดความเท่าเทียมของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการเสนอแนะให้รัฐภาคีรวบรวมข้อมูลการได้รับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย

5. ความเสี่ยงต่อการสูญหายของภาษาถิ่น

คณะกรรมการ UN ICERD มีความกังวลว่า ภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์บางภาษาในประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะหายไป นอกจากนั้น คณะกรรมการก็ยังคงกังวลว่าลูกหลานกลุ่มชาติพันธุ์มีโอกาสจำกัดที่จะได้เล่าเรียนในภาษาของตนหรือไม่
คณะกรรมการเรียกร้องให้ประเทศไทยพยายามมากขึ้นเพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์ภาษาถิ่น และจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมการสอนภาษาถิ่นในโรงเรียน

6. ภาพเหมารวมและอคติในทางลบ

คณะกรรมการ ICERDแสดงข้อกังวลต่อภาพเหมารวมและอคติในทางลบที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ และมีการเผยแพร่ผ่านทางสื่อมวลชนต่าง ๆ คณะกรรมการเสนอแนะให้ประเทศไทยดำเนินมาตรการเพื่อขจัดภาพเหมารวมในทางลบเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ และให้สร้างจิตสำนึกในบรรดาผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อสารมวลชนให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนที่จะไม่เผยแพร่ภาพเหมารวมและอคติ และให้หลีกเลี่ยงการเสนอข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ ในลักษณะที่สร้างตราบาปให้กับกลุ่มทั้งกลุ่ม

7. สถานการณ์ของผู้หญิงเชื้อสายมลายู

คณะกรรมการ ICERDกังวลต่อรายงานที่ว่าผู้หญิงเชื้อสายมลายูกำลังเผชิญการเลือกปฏิบัติซ้ำซ้อน ทั้งในพื้นที่การเมืองและชีวิตทางสังคม คำนึงถึงความเหลื่อมล้ำของชาติพันธุ์และศาสนาในบางสถานการณ์ คณะกรรมการ ICERDกระตุ้นให้ประเทศไทยดำเนินมาตรการที่จำเป็น รวมทั้งมาตรการด้านกฎหมาย เพื่อประกันให้มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและไม่ให้ปฏิบัติอย่างเลือกปฎิบัติต่อผู้หญิงเชื้อสายมลายู

8. การบังคับใช้กฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนใต้

แม้ว่าประเทศไทยจะนำมาตรการต่าง ๆ มาใช้ อย่างเช่น การเผยแพร่คู่มือสิทธิมนุษยชนและการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบางพื้นที่ คณะกรรมการ ICERDยังกังวลอย่างยิ่งต่อการเลือกปฏิบัติอันเป็นผลมาจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนใต้ รวมทั้งรายงานว่ามีการตรวจลักษณะทางชาติพันธุ์และจับกุมบุคคลโดยอาศัยการจำแนกประวัติตามเชื้อชาติ (racial profiling) รวมทั้งรายงานว่ามีการซ้อมทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ซึ่งเกิดขึ้นกับคนไทยเชื้อสายมลายู คณะกรรมการ ICERDกังวลต่อไปถึงความเสี่ยงของการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงอันเป็นผลมาจากการบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้ รวมทั้งการขาดกลไกกำกับดูแลในการปฏิบัติ

คณะกรรมการ ICERD กระตุ้นประเทศไทยให้ใช้มาตรการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อขจัดการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและการจับกุมโดยอาศัยการคัดกรองจากลักษณะทางชาติพันธุ์ ในระหว่างการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนใต้ คณะกรรมการ ICERDยังเสนอแนะต่อไปว่า นอกจากการเยียวยาชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทยยังจะต้อง:

(ก) ประเมินความจำเป็นของกฎหมายพิเศษและกำหนดให้มีกลไกอิสระที่กำกับดูแลการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง
(ข) ทบทวนกฎหมายพิเศษโดยมีเจตจำนงเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกฎบัตรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการซ้อมทรมาน และ
(ค) ให้สอบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ และให้นำตัวผู้รับผิดชอบมาลงโทษ

คณะกรรมการ ICERDขอให้ประเทศไทยแจ้งในรายงานตามวาระฉบับต่อไปเกี่ยวกับผลกระทบของยุทธศาสตร์ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) นำมาใช้ รวมทั้งแผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2552 – 2555 ที่ครอบคลุมการหาแนวทางออกสำหรับความขัดแย้งในพื้นที่

9. การเอารัดเอาเปรียบต่อคนเข้าเมือง

แม้จะรับฟังถึงมาตรการที่ประเทศไทยนำมาใช้เพื่อควบคุมการเอารัดเอาเปรียบและการละเมิดต่อแรงงานข้ามชาติและการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานสำหรับคนงานทุกคน โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพการเข้าเมือง แต่คณะกรรมการก็ยังกังวลต่อรายงานที่มีการละเมิดและการเอารัดเอาเปรียบต่อแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะผู้มีสถานภาพการเข้าเมืองผิดกฎหมาย

คณะกรรมการ UN ICERD เสนอแนะให้ประเทศไทยสำรวจความต้องการได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษของแรงงานข้ามชาติ นอกเหนือจากการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และให้แก้ไขระบบการออกและการยกเลิกใบอนุญาตทำงาน ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่แรงงานข้ามชาติจะถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบและละเมิด คณะกรรมการยังเสนอแนะให้ประเทศไทยประเมินประสิทธิภาพของกลไกเพื่อรับข้อร้องเรียนเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิแรงงาน และการเข้าถึงกลไกเหล่านี้ของบรรดาแรงงานข้ามชาติ

10. การเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงเข้าเมือง

แม้จะรับฟังคำอธิบายของประเทศไทยที่ระบุว่า ระเบียบที่กำหนดให้ผู้หญิงเข้าเมืองที่ตั้งครรภ์ต้องกลับไปคลอดบุตรในประเทศของตนเอง ยังอยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างเท่านั้น และจะต้องมีการพิจารณาต่อไป คณะกรรมการยังคงกังวลว่ามาตรการในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงเข้าเมือง คณะกรรมการเสนอแนะให้ประเทศไทยยกเลิกข้อเสนอที่จะส่งกลับผู้หญิงเข้าเมืองที่ตั้งครรภ์เพื่อไปคลอดบุตรในประเทศของตนเอง และประกันว่าระเบียบและกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองจะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของพวกเขา คณะกรรมการยังร้องขอให้ประเทศไทยแจ้งข้อมูลในรายงานตามฉบับต่อไปในเรื่องการเข้าถึงการดูแลสุขภาพของบรรดาผู้หญิงเข้าเมืองทั้งที่มีเอกสารและไม่มีเอกสาร

11. การค้ามนุษย์

คณะกรรมการ UN ICERD รับฟังข้อมูลที่ตัวแทนของประเทศไทยชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการที่นำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ แต่ไม่มีการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้มาตรการเหล่านี้ คณะกรรมการร้องขอให้ประเทไทยประเทศไทยแจ้งข้อมูลในรายงานตามวาระฉบับต่อไปว่ามาตรการเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบอย่างไรในแง่ของการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ มีส่วนในการแก้ไขสาเหตุที่รากเหง้าของการค้ามนุษย์อย่างไร และมีการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์อย่างไร

12. ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยและผู้ลี้ภัย

แม้ว่าประเทศไทยได้ให้ที่พักพิงต่อผู้ลี้ภัยจำนวนมากจากประเทศเพื่อนบ้าน คณะกรรมการกังวลต่อการออกระเบียบต่าง ๆ ของประเทศไทย เช่นกรณีที่คณะกรรมการระดับจังหวัดออกระเบียบการคัดกรองบุคคล รวมทั้งระเบียบที่อยู่ในพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองและการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัย นอกจากนั้น เมื่อรับฟังข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนในที่ประชุม ซึ่งระบุว่ามีการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่เข้ามายังประเทศไทย คณะกรรมการแสดงข้อกังวลต่อรายงานว่ามีการผลักดันกลุ่มคนเหล่านี้บางส่วนให้กลับไปสู่ทะเล คณะกรรมการ UN ICERD เสนอแนะให้ประเทศไทยรับรองกฎหมายและแนวปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ คณะกรรมการยังกระตุ้นให้ประเทศไทยดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบต่อผู้แสวงหาที่ลี้ภัยชาวโรฮิงญา และให้บุคคลเหล่านี้สามารถเข้าถึงสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และได้รับการขึ้นทะเบียนตามกลไกของคณะกรรมการระดับจังหวัด นอกจากนั้น คณะกรรมการกระตุ้นให้ประเทศไทยปฏิบัติตามเจตจำนงตามกลไก UPR ที่จะทบทวนจุดยืนประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2497 และพิธีสาร พ.ศ.2510

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [6.40 MB]

RELATED ARTICLES