[:th]CrCF Logo[:]

ความบาดเจ็บที่พบได้จากเด็กในภาวะสงครามในประเทศไทย โดย AFP

Share

Trauma haunts Thailand’s children of war
ความบาดเจ็บที่พบได้จากเด็กในภาวะสงครามในประเทศไทย

โดย ไอดอน โจนส์

ปัตตานี, ประเทศไทย ธันวาคม 3, 2012 (AFP) – รอยแผลทางจิตใจและความกลัวเมื่อต้องออกจากบ้านในจังหวัดชายแดนใต้,อะหมัดเป็นหนึ่งในเด็กจำนวนหลายพันคนที่กำพร้าจากภาวะสงครามที่ถูกลืมจากพื้นที่ที่สงบทั่วโลก

หลายๆ ปีที่ต้องใช้ชีวิตยู่กับภยันอันตรายจากการระเบิด ยิง และภาวะเคอร์ฟิว, คนหนุ่มหลาย ๆ คนในพื้นที่ที่ไม่สงบในภาคใต้แสดงให้เห็นถึงความเครียดและอาการบาดเจ็บทางจิตใจในระดับที่สูง

เมื่อฉันออกจากบ้านฉันจะยู่ใกล้ ๆ บ้าน ฉันไม่เคยไปไกล ๆ เลย อะหมัดอายุ 12 ปีกล่าวขณะที่กำลังกัดปกเสื้อฟุตบอลที่เขาสวมอยู่ด้วยความอาย

พี่สาวของอะหมัด ซุนนะอายุ 15 ปีเล่าว่า พ่อของพวกเขาถูกฆ่าโดยผู้ชายที่ไม่รู้จักเมื่อหกปีที่แล้วและนั้นเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตในวัยเด็กของเธอและทิ้งเธอไว้กับญาติ ๆ โดยปราศจากครอบครัวหลังจากที่แม่ของพวกเขาเสียชีวิตจากุบัติเหตุ ปัจจุบันพวกเขาอาศัยอยู่กับน้า ๆ (ชื่อของพวกเขา AFP เพื่อปกป้องรูปพรรณของพวกเขา)

ฉันรู้สึกไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะกับคนแปลกหน้าเธอกล่าว ฉันสงสัยทุกคนเมื่อพวกเขามองฉัน โดยเฉพาะทหาร

โกรธ และสนใจแต่ตนเอง และ กลัว เป็นอาการปกติของโรคซึมเศร้าหรืออาการบาดเจ็บทางจิตใจอย่างร้ายแรง (PTSD) เป็นคำบอกเล่าจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตใจของศูนย์สุขภาพจิต เพชรดาว โต๊ะมีนา อธิบายถึงท่าทางของเด็ก ๆ ที่ถูกหลอมภายใต้ความขัดแย้งที่ผ่านมา 8 ปี

ความกลัวเป็นอันดับหนึ่งของอาการ เด็กเล็ก ๆ บางคนเห็นเหตุการณ์ที่พ่อแม่ถูกยิงตรงหน้า ร้านของพ่อแม่ถูกเผา ครอบครัวถูกทุบตีหรือทรมาน เธออธิบายที่คลินิกในจังหวัดปัตตานีที่เป็นศูนย์กลางความไม่สงบ

พวกเขาได้ยินข่าวลือเรื่องความรุนแรง พวกเขาเห็นเฮลิคอปเตอร์บินเหนือหัวและพร้อมด้วยปลายปืนที่ชี้ลงมาที่พวกเขา มันยากที่จะอยู่อย่างตกเป็นเป้าทุกวัน

มากกว่า 5,300 คนที่ตายในพื้นที่นี้ตั้งแต่ปี 2547 จากระเบิด ฆ่า รวมไปถึงฆ่าตัดคอและถูกยิงโดยกลุ่มก่อความไม่สงบและรวมไปถึงเมื่อทหารจู่โจมเป้าหมายที่เป็นผู้ต้องสงสัยเกือบ 60 คนที่เสียชีวิตมีเด็กอายุ 15 ปีหรือต่ำกว่ารวมอยู่ด้วย ในขณะที่มากกว่า 100 ได้รับบาดเจ็บ จากรายงานของผู้รายงานสถานการณ์ ความไม่สงบในสถานการณ์ภาคใต้ ที่ถูกลูกหลง

ในเดือนตุลาคม 31 เด็กชายวัย 11 ปีเล่าเรื่องของเขาเมื่อเขาถูกยิงในเหตุการณ์การลอบทำร้ายพ่อของเขา ในการทำร้ายนั้นทำให้พี่ชายของเขาเสียชีวิตขณะมีอายุ 9 ขวบในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดข้นในอำเภอหนึ่งของจังหวัดยะลา หนึ่งในจังหวัดที่ใช้กฎหมายพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่ปี 2548

นั่นเป็นความเศร้าที่ยังคงหลงเหลืออยู่และปรากฏบนใบหน้าของเด็กทุก ๆ วันในจังหวัดชายแดนใต้ที่ ๆ หารต่อสู้เพื่อค้นหาสิ่งที่ยิ่งใหญ่คือเอกราช เป้าหมายของพลเรือน และ กงกำลังความมั่นคงก็เหมือนกัน

จำนวนของเด็กกำพร้าในพื้นที่นี้จากเหตุการณ์มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากการศึกษาของ NGO ในพื้นที่ที่ชื่อ ศูนย์เยาวชนปัตตานีสังเกตุการณ์และป้องกัน ได้นำเสนอตัวเลขที่มากกว่า 5,000 คน

กลุ่มอื่น ๆ ที่ทำงานด้านสวัสดิการเด็กประมาณการที่ 2หรือมากกว่า3 เท่า

ในขณะที่มีงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบทางจิตใจจากความขัดแย้งมีจำนวนน้อย ตัวเลขในเชิงสถิติที่สามารถใช้ในการตระหนักรู้นั้นผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าพวกเขาได้มาไม่สมบูรณ์ เกือบจะ 22 เปอร์เซ็นต์ของเด็กอายุ 11 –18 ปีมีอาการ PTSD ที่เชื่อได้ว่ามากกว่าตัวเลขที่รัฐมี 2 เท่าเนื่องมาจากตั้งแต่ปี 2010 จากการศึกษาเด็ก 3000 คนในสามจังหวัดชายแดนใต้มี 40เปอร์เซ็นต์ทีเดียวที่ปรากฏอาการอารมณ์หรือพฤติกรรมมีปัญหารวมไปถึงอาการวิตกกังวล สูญเสียความเชื่อมั่น ไม่มีอนาคต กลัวและก้าวร้าว

เด็กบางคนโตมากับความรุนแรงเป็นคำกล่าวของพันพิมล วิภูลากร จากสถาบันราชานุกูล หน่วยงานด้านสุขภาพของรัฐบาลที่ทำการสำรวจ เด็กในโรงเรียนประถมบอกเราว่าพวกเขาต้องการพัฒนาชีวิตของพวกเขาในเรื่องของอาวุธมากที่สุด ไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาที่เป็นคำตอบของเด็กในโรงเรียน

แม้แต่โรงเรียนไม่สามารถปลอดภัยได้แล้ว เมื่อทหารลงความเห็นว่ารัฐบาลควรระบุว่าโรงเรียนคือเป้าหมายหนึ่งที่ต้องปกป้องครูมากกว่า 150 คนถูกฆ่าโดยผู้ก่อความไม่สงบและ100 กว่าโรงเรียนเคยถูกวางเพลิงในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา

สถานการณ์มีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อ 321 โรงเรียนในปัตตานีปิดการเรียนการสอนชั่วคราวตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน จากการถูกโจมตีที่รุนแรง

สถานการณ์ความขัดแย้งทำลายการพัฒนาของเด็ก เป็นคำกล่าวของแอนดรู มอริส จากกองทุนเด็กของสหประชาชาติ และความยืดเยื้อของความขัดแย้งจะนำมาซ่งผลกระทบที่ใหญ่หลวงในอนาคต

ความเครียดของเด็กในพื้นที่สงครามจะแสดงผลในเวลาต่อมา ด้วยการที่วัยรุ่นจะมีอัตราการใช้ยาเสพติดและเหล้าสูงรายงานจากผู้เชี่ยวชาญ เมื่อมองในมุมบวกนักจิตวิทยามีจำนวนที่เพิ่มขึ้นแปดปีที่ผ่านมาเมื่อเหตุการณ์ความไม่สงบเริ่มขึ้นมีนักจิตวิทยา 1 คนแต่ปัจจุบันมีจำนวน 40 คน แต่ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น นั้นก็ทำให้เกิดความกลัวว่าความโกรธและความรู้สึกที่สูญเสียสำหรับคนรุ่นใหม่จะนำมาซึ่งการเข้าร่วมกลุ่มก่อความไม่สงบและเป็นไปได้ว่านั่นคือสิ่งที่รัฐบาลหรือทหารไม่สามารถหลบเลี่ยงได้

“ทั้งสองกลุ่มต้องการพวกเขา และถ้าเด็กเหล่านี้ยังคงเติบโตอยู่ในความขัดแย้ง และถูกข่มขู่คุกคามไปอีก 10 หรือ 20 ปีที่นี้ก็จะไม่มีความสงบอีกเลย” หมอเพชรดาวกล่าว

RELATED ARTICLES