Please see English version below
ใบแจ้งข่าว
สำหรับเผยเเพร่ทันที วันที่ 30 สิงหาคม 2555
ชาลี ดีอยู่ แรงงานข้ามชาติชาวพม่า ได้รับเงินชดเชยจากบริษัท CP หลังศาลแรงงานพิพากษาตามการไกล่เกลี่ยของคู่ความ ในคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายกรณี ชาลี ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานก่อสร้างในอาคารโรงงาน CP จนบาดเจ็บสาหัสลำใส้ใหญ่แตก กระดูกหัก และกรณีชาลีเป็นที่รู้จักต่อสาธารณะในระหว่างรักษาตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เมื่อชาลีถูกควบคุมตัวเพื่อรอส่งกลับและถูกล่ามโซ่ไว้กับเตียงผู้ป่วย ซึ่งต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัว
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
1. คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความ โทร 086 – 7856665 (ไทย)
2. ปรียาภรณ์ ขันกำเหนิด มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) โทร 086 – 3408390 (ไทย/อังกฤษ)
วันที่ 27 สิงหาคม 2555 นายชาลี ดีอยู่ แรงงานข้ามชาติชาวพม่า ได้รับเงินชดเชยจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จากบริษัทบริษัทซีพีค้าปลีกและการตลาดจำกัด (CP) กรณีที่นายชาลี ยื่นฟ้องนายธารา ริตแตง นายจ้าง, ห้างหุ้นส่วนจำกัด NSV Supply ผู้รับเหมาก่อสร้าง, และบริษัทซีพีค้าปลีกและการตลาดจำกัด เพื่อเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุขณะทำงานก่อสร้าง รื้อถอนและดัดแปลงต่อเติมอาคารโรงงาน CP เป็นเหตุให้นายชาลี ดีอยู่ได้รับบาดเจ็บสาหัส ลำใส้ใหญ่แตก กระดูกสะโพกและขาหักนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลกว่าสามเดือน ปัจจุบันสภาพร่างกายยังอ่อนแอและไม่สามารถกทำงานได้ตามเดิม
เหตุเกิดมื่อวันที่ 9 มกราคม 2554 นายชาลี ถูกผนังปูนหล่นทับ ระหว่างทำงานก่อสร้างให้ผู้รับเหมาซึ่งทำการรื้อถอน ดัดแปลง และต่อเติมห้องทำงานวิศวกรภายในอาคารโรงงานบริษัท CP ในอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานวินิจฉัยว่าการดำเนินการก่อสร้างไม่เป็นไปตามกำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยตามมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 นายชาลีถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลปทุมธานี ต่อมาตำรวจได้เข้าควบคุมตัวนายชาลีด้วยข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมายและเกือบถูกส่งกลับประเทศพม่าทั้งที่ยังป่วยหนัก เมื่อ มสพ. เข้าให้ความช่วยเหลือ นายชาลีจึงถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลตำรวจที่ซึ่งนายชาลีถูกล่ามโซ่ไว้กับเตียงในสถานะผู้ป่วยต้องกัก ต่อมาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554ศาลอาญากรุงเทพฯใต้ได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัวนายนาชาลีเและให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองชดเชยค่าเสียหายจากการควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีหลักฐานว่าชาลีได้ขึ้นทะเบียนแรงงานไว้แล้ว
ปัจจุบันเเม้นายชาลีจะอาการดีขึ้นแล้วหลังจากต้องเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการตลอดมาเป็นเวลากว่า 1 ปี แต่ยังคงต้องดามเหล็กเพื่อรักษากระดูกสะโพกและขาที่หัก โดยที่ชาลียังไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติตามเดิมและมีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถกลับไปทำงานใช้แรงงานหนักได้อีก และเนื่องจากเป็นแรงงานข้ามชาติที่ยังมิได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งตามระเบียบสำนักงานประกันสังคมกำหนดให้ไม่สามารถได้รับเงินจากกองทุนเงินทดแทนได้ แรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้จึงถูกปฏิเสธสิทธิที่จะได้รับการดูแลเยียวยาการบาดเจ็บจากการทำงานจากกองทุนเงินทดเเทน แม้สำนักงานประกันสังคมจะเข้ามาดูแลเป็นตัวกลางในการมีคำส่งให้ผู้รับเหมาก่อสร้างเข้ามาดูแลค่ารักษาพยาบาลสำหรับนายชาลี หรือนายจ้างในกรณีอื่น ๆ ที่คล้ายกัน แต่ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคในการบังคับให้นายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งหรือมีความล่าช้า ส่งผลให้ลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติไม่สามารถได้รับการเยียวยาได้อย่างทันท่วงทีและเต็มเม็ดเต็มหน่วยตามสิทธิที่ตนควรได้รับ
มสพ. ได้ให้ความช่วยเหลือในการต่อทะเบียนแรงงานให้กับนายชาลีเพื่อให้ยังสามารถอยู่ในประเทศไทยได้ในระหว่างดำเนินการเรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย และด้วยความช่วยเหลือจาก มสพ. ชาลี จึงได้ยืนฟ้องต่อศาลแรงงานขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนระเบียบของสำนักงานประกันสังคม โดยเห็นว่าเป็นระเบียบที่เลือกปฏิบัติและขัดต่อรัฐธรรมนูญและพันธกรณีของประเทศไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึี่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ก็ได้มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไทยทบทวนระเบียบดังกล่าวนี้ โดยคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล และอีกคดีซึ่งฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้าง ผู้รับเหมาก่อสร้าง และบริษัท CP โดยศาลได้มีคำพิพากษาตามการไกล่เลี่ยตกลงระหว่างคู่ความให้บริษัท CP ชดเชยค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และนายธารา ริตแตง นายจ้างซึ่งเข้ามาในคดีในวันสุดท้ายตกลงจ่ายค่าเสียหาย ๑๐,๐๐๐ บาท ส่วนผู้รับเหมาก่อสร้างไม่เข้ามาในคดี โดยหลังจากนายชาลีได้รับเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม จึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนาในประเทศพม่าตามความประสงค์ของนายชาลีและครอบครัว
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
Press Release
For immediate release on 30th August 2012
Charlie Tiyu, a migrant worker from Myanmar received compensation from CP Retail and Marketing Co,Ltd., according mediation agreement before court in the lawsuit against CP and employer after his sustaining work-related injuries including ruptured intestines and broken left hipbones. The case of Charlie was known to the public last year as during when he was hospitalized, he was chained to his bed before the court order his release in February 2011.
For more information and to arrange interviews, please contact
1. Klumklao Songsomboon, attorney, phone +66 086 7856665 (Thai)
2. Preeyaporn Khankumnerd, Human Rights and Development Foundation (HRDF): +66 086 3408390 (Thai or English)
On 27 August 2012, Charlie has received 100,000 baht from CP as according to court decision following the mediation agreement before Central Labour Court for the case between Charlie Tiyu (Mr.), a migrant worker from Myanmar who filed complaint against Mr. Thara Rittaeng; employer, NSV Supply Co, Ltd.; contractor and CP Retail and Marketing Co, Ltd. (CP) ; the owner of the construction site and hirer, after Charlie’s sustaining serious injuries during the construction of CP factory buiding. According to the decision on complaint filed to Department of Labour Protection and Welfare, the construction procedure constitutes a breach of safety guidelines as provided for by the 2008 Occupational Health and Safety Management System Standard.
The incidence of the case took place on 9 January 2011 when a concrete wall collapsed and fell on Charlie while he was renovating the engineers’room in the office of the CP factory at Lum Kaew, Pathumthani Province. Charlie was brought to a hospital in Pathumthani Province during which time, police came to the hospital and held him in custody for charge of an illegal entry and he was almost deported immediately to Burma while he was still suffering the serious injuries. HRDF decided to intervene and Charlie was then transferred to the Police General Hospital where he was chained to his bed as a detainee. Later on 15 February 2011, the South Bangkok Criminal Court ordered his release and the Immigration Bureau to compensate him for the unlawful detention as the evidence founded that he has aready been legally registered.
Though after his recovery but due to his previous fractured hipbones and legs which take long time to heal, he is still unable to work and though he will eventually recover, he may not be able to do any hard work. The case of Charlie is similar to migrant workers who have not passed nationality verification process and according to Social Security Office’s (SSO) regulation that prevent this group of workers from access to Workmen Compensation Fund (WMCF) thus are denied access to occupational health claim from the WMCF. Though the SSO intervened and instructed the contractor in Charlie case or employer in other cases to cover the incurred medical expenses, the execution of such instruction have been delayed like other cases. Migrant workers thus have no access to prompt remedies and fail to receive their deserved rights.
HRDF provide assistace to Charlie on his extension of registration for him to be able to continue his stay in Thailand while processing complaint for compensation. With the help of HRDF, Charlie decided to file lawsuit to Labour Court demanding revocation of discriminatoty SSO’s regulation which prevent migrant’s access to WMCF given reason that it constitutes breach of the Constitution and Thailand’s obligation under international law in which International Labour Organisation (ILO) has also recommend Thailand to review the same regulation. This case is still pending court decision. As for another case which Charlie filed tort lawsiut for compensation, according to mediation agreement, the court order CP to pay 100,000 bath and Mr.Thara appeared before court on last day and agree to pay 10,000 baht. After received compensation on 27th August 2012, Charlie has safely return to his hometown in Myanmar according to his wish as well has his family’s.
Human Rights and Development Foundation