[:th]CrCF Logo[:]

การเยียวยาในภาคทฤษฎี และปฏิบัติ โดย Lisa Magarrell หัวหน้าฝ่ายเยียวยา ICTJ

Share

การเยียวยาในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ[1]  โดย Lisa Magarrell หัวหน้าฝ่ายเยียวยา ศูนย์ความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านระหว่างประเทศ  (International Center for Transitional Justice – ICTJ)

I. ธรรมชาติและวัตถุประสงค์ของการเยียวยา

. สิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ

หลักการและแนวปฏิบัติพื้นฐานว่าด้วยสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือและการเยียวยาเมื่อเกิดการละเมิดร้ายแรงต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ (UN Basic Principles and Guidelines on the Right to a Remedy and Reparation for Gross Violations of International Human Rights Law and Serious Violations of International Humanitarian Law assert) ยืนยันสิทธิของผู้เสียหายจากการละเมิดที่จะได้รับการเยียวยาโดยทันที อย่างพอเพียง และเป็นผล[2]

โดยในกรณีที่เหมาะสมและในบางรูปแบบอาจรวมถึงการชดใช้ ค่าชดเชยต่อความเสียหาย และการฟื้นฟูร่างกาย จิตใจ และสถานภาพ มาตรการที่ทำให้ผู้เสียหายพึงพอใจอย่างเช่น การเปิดเผยความจริง การนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และการยุติการละเมิดที่เกิดขึ้น ยังเป็นขั้นตอนที่มีผลในเชิงการเยียวยา ในทำนองเดียวกัน ขั้นตอนในการป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดซ้ำก็ควรดำเนินไปพร้อมกับการเยียวยา เพราะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้เสียหายว่าการเยียวยาไม่ใช่คำสัญญาที่ว่างเปล่าหรือมาตรการบรรเทาปัญหาชั่วคราว

ภายหลังการละเมิดอย่างเป็นระบบหรือกว้างขวางหรือความขัดแย้งโดยทั่วไป การจัดให้มีการเยียวยาอย่างจริงจังมักเป็นภารกิจที่ท้าทาย อาจเป็นเพราะจำนวนผู้เสียหายมีอยู่มากมาย หรืออันตรายที่เกิดขึ้นมีผลร้ายแรงและไม่สามารถแก้ไขกลับคืนได้ อาจส่งผลกระทบทั้งระดับบุคคลและกลุ่ม และอาจมีผลในระยะยาวต่อผู้เสียหายแต่ละคนและสังคมโดยรวม การละเมิดกฎบัตรสิทธิมนุษยชนหรือมนุษยธรรมอาจกลายเป็นเรื่องปรกติมากกว่าเป็นข้อยกเว้น ส่วนหน่วยงานคุ้มครองสิทธิเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นศาล หรือระบบยุติธรรมท้องถิ่นของชุมชน อาจต้องเผชิญกับคดีความมากมาย หรือไม่ระบบดังกล่าวก็ถูกทำลายไปในระหว่างความขัดแย้ง หรือไม่ระบบดังกล่าวก็ถูกแทรกแซงและครอบงำด้วยอำนาจการเมืองที่ฉ้อฉล[3] ในบริบทเช่นนั้น มาตรการเชิงนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหายอาจเป็นวิธีการดีสุดที่นำไปสู่การเยียวยา แทนที่จะปล่อยให้เกิดการเยียวยาเป็นรายกรณีตามกลไกของศาล

ในปัจจุบัน กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดอย่างชัดเจนถึงหน้าที่ในการเยียวยา แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หน้าที่ที่กำหนดยังขาดรายละเอียดที่ชัดเจน และทำให้เกิดคำถามขึ้นว่าจะมีวิธีการปฏิบัติตามพันธกรณีดังกล่าวได้อย่างไรในสภาพที่เกิดความเสียหายร้ายแรงขึ้นมาแล้ว


[1] เขียนโดย Lisa Magarrell หัวหน้าฝ่ายเยียวยา ศูนย์ความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านระหว่างประเทศ (International Center for Transitional Justice – ICTJ) และด้วยความอนุเคราะห์ด้านข้อมูลจาก Ruben Carranza และ Cristian Correa, Senior Associates และ Virginie Ladisch, Program Associate โปรดดู http://www.ictj.org

[2] รับรองและประกาศโดยมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 60/147 16 ธันวาคม 2548  http://www.ohchr.org/english/law/remedy.htm เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2550

[3] โปรดดูข้อมูลโดยทั่วไปที่ Pablo de Greiff, “Justice and Reparations,” in Pablo de Greiff, ed., The Handbook of Reparations (Oxford: Oxford University Press: 2006)

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [1.06 MB]

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [206.47 KB]

RELATED ARTICLES