ข้อสังเกตด้านกฎหมายฉบับนี้ จัดทําโดยคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists, ICJ) โดยได้ประเมินความถูกต้องเหมาะสมของโครงการ “ค่ายฝึกอบรมอาชีพ” สําหรับคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) หลักนิติธรรม กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และข้อพึงปฏิบัติ ที่เป็นที่ยึดถือกันทั่วโลก
ไอซีเจ กังวลว่าการใช้ “ค่ายฝึกอบรมอาชีพ” จะก่อให้เกิดการคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และโดยปราศจากอํานาจมากยิ่งขึ้น จากประสบการณ์ของไอซีเจ ในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ ทั่วโลก ชี้ให้เห็นว่า การคุมขังบุคคลโดยปราศจากอํานาจได้สร้าง ความแปลกแยกขึ้นในชุมชนท้องถิ่น และเป็นการเพิ่มความรู้สึกที่ว่า ไม่ได้รับความยุติธรรม ซึ่งในระยะยาวแล้ว ย่อมจะมีผลทําให้ความพยายามของรัฐบาลในการลดความรุนแรง และ การสร้างความเชื่อมั่นของชุมชนท้องถิ่นต่อรัฐบาล เป็นสิ่งที่กระทําได้ยากยิ่งขึ้น วิธีการที่นอกเหนือกระบวนการยุติธรรม แทนการใช้และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ จะส่งผลให้นิติรัฐอ่อนแอลง และในที่สุดแล้วจะเป็นการบั่นทอนความสามารถของทางการไทยในการบังคับใช้ระเบียบและกฎหมาย
ไอซีเจ ขอประนามอย่างเต็มที่ต่อการใช้ความรุนแรงของผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้ ซึ่งถือ ว่าเป็นอาชญากรรมร้ายแรง โดยที่ไอซีเจ มิได้ประเมินความรุนแรงในภาคใต้ หรือปัญหาที่ ท้าทายเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของประเทศไทยต่ําไป อย่างไรก็ดี ไอซีเจ เชื่อว่า สําหรับ ผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้วางระเบิดยิงฆ่า ตัดคอ หรือก่ออาชญากรรมร้ายแรงต่างๆ นั้น สมควร ต้องถูกฟ้องร้องดําเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมสําหรับการกระทําเหล่านั้น แทนที่จะถูก นําตัวไปควบคุมชั่วคราวตามค่ายฝึกอบรมต่างๆ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ที่รัฐมี พันธกรณีต้องดําเนินการสอบสวนอย่างทันท่วงที อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกลางและเป็น อิสระ ต่อกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน และต้องนําตัวผู้กระทําความผิดเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรม