[:th]CrCF Logo[:]

อัยการยื่นฟ้อง 10 นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนเหตุปีนรัฐสภา ต่อต้านการออกกฎหมายสมัย สนช. ที่มาจากรัฐประหาร

Share

 

เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550

ใบแจ้งข่าว อัยการยื่นฟ้อง 10 นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนเหตุปีนรัฐสภา ต่อต้านการออกกฎหมายสมัย สนช. ที่มาจากรัฐประหาร ศาลพิจารณาคดีนัดแรกอัยการอ้างมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นพยานปากแรก

ขอเรียนเชิญสื่อมวลชน และผู้สนใจติดตามการสืบพยานครั้งแรก คดีพนักงานอัยการฟ้อง นายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน เป็นจำเลยกรณีปีนเข้าไปนั่งชุมนุมบริเวณหน้าห้องประชุมภายในอาคารรัฐสภา เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 09.00 น. นี้ ณ ห้องพิจารณาคดี 801 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอาญานัดสืบพยานโจทก์ (ฝ่ายพนักงานอัยการ) และจำเลยรวม 48 นัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 21กุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นไป

โดยพนักงานอัยการโจทก์ นำพยานที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มาจากการรัฐประหารปี 2549 จำนวน 4 ปาก เข้าเบิกความต่อศาลเป็นกลุ่มแรก ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 นี้ ได้แก่ (1) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. (2) นางสาวพจนีย์ ธนาวรานิช (3) นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ (4) นางเตือนใจ ดีเทศน์

ในวันสืบพยานครั้งแรกนี้จำเลยทั้งสิบจะยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตให้มีการพิจารณาคดี และสืบพยานลับหลังจำเลยเนื่องจากเป็นการสืบพยานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ประกอบกับจำเลยทั้งสิบต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา และบางคนภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจึงไม่สามารถเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีได้ทุกนัดประกอบกับจำเลยทั้งสิบมีทนายความอยู่แล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยไม่ชักช้า ในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสิบ

กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน และผู้ร่วมสังเกตการณ์คดีทั้งภายใน และจากต่างประเทศจะเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดี เพราะเล็งเห็นความสำคัญของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามมาตรา 63 ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550ได้คุ้มครองไว้ อีกทั้งยังเป็นการใช้สิทธิพลเมืองในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองข้อ 21 อีกด้วย คดี ดังกล่าวพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องนายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คนเป็นจำเลยต่อศาลอาญาในข้อหาบุกรุกรัฐสภา ยุยงให้ประชาชนล้มล้างกฎหมาย (กบฏ) และชุมนุมมั่วสุมเกิน 10 คนโดยเป็นแกนนำ (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 มาตรา 116(3) มาตรา 215 วรรคสามตามลำดับ) ศาลรับฟ้อง เป็นคดีหมายเลขดำที่อ.4383/2553 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553

จากสถานการณ์บ้านเมืองภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและรัฐสภา พิจารณาร่างกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม และละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนอย่างรีบเร่ง และขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะกฎหมายที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเช่น พระราชบัญญัติความมั่นคง พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ฯลฯ

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2550 เครือข่ายภาคประชาชนจึงได้ร่วมตัวกันใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธเพื่อคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่ และเรียกร้องการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตยบริเวณหน้ารัฐสภาต่อมามีประชาชนจำนวนมากร่วมกันปีนเข้าไปภายในรัฐสภา เพื่อขอให้สภานิติบัญญัติรับฟังข้อเรียกร้องของประชาชน เนื่องจากประตูรัฐสภาถูกปิดโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าไปในรัฐสภาได้ ประกอบกับไม่มีสมาชิกสภานิติบัญญัติหรือเจ้าหน้าที่รัฐสภาคนใดออกมารับฟังข้อเรียกร้องของประชาชน นำมาสู่การถูกฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลในคดีนี้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นายนคร ชมพูชาติ ทนายความ 081-8473086 คุณจันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายความ 083-9072032

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [162.00 B]

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab