[:th]CrCF Logo[:]

หนังสือข่าว ด้านการเข้าถึงความยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนใต้ ฉบับที่ 5

Share

หนังสือข่าวด้านการเข้าถึงความยุติธรรมและสิทธมนุษยชนจังหวัดชายแดนใต้ (Access to Justice and Human Rights Newsletters, Southern Thailand) ประจำเดือนกันยายน- ตุลาคม พ.ศ. 2554 บรรณาธิการ นายอนุกูล อาแวปูเตะ และนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

บทความนำ: ข้าแต่ศาลที่เคารพ… ผมขอคัดค้าน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เปิดจดหมายของผู้ถูกควบคุมตัวตามหมาย ฉฉ. และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้จัดให้มีการแถลงข่าว กรณีนายนิเซะ นิฮะ

ความคืบหน้าสถานการณ์คคีสิทธิมนุษยชน

  • คดีคุ้มครองผู้บริโภค: ศาลจังหวัดยะลาสั่งให้สหกรณ์ครูยะลารับนายมะยาเต็ง มะระนอ กลับเป็นสมาชิกจ่ายเงินตามสิทธิฯ คดีแรกที่ผู้ถูกบังคับให้สูญหายได้รับสิทธิคุ้มครอง
  • คดีศาลปกครอง: ศาลปกครองสงขลามีคำสั่งให้กองทั​พบกจ่า​ยค่าเสียหายในมูลละเมิดต่อนักศึ​กษายะลาสองคนที่ถูกซ้อมทรมานระหว่างการถูกควบคุมตัวเกินอำนาจฯ
  • ศาลจังหวัดนราธิวาส ไม่รับฎีกา ญาติอิหม่ามยะผาติดตามต่อพิจารณาคดีศาลจังหวัดทหารบกปัตตานี

กิจกรรมและความเคลื่อนไหว

  • มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม และมูลนิธิผสานวัฒนธรรมร่วมกันออกแถลงการณ์ประนามการฆ่าสังหารครูไทยพุทธจำนวน 4 คนในเวลาสองเดือน
  • เวทีเพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่ภาคประชาชนในพื้นที่ร่วมคิดทบทวนถึงการบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ
  • CrCF & MAC ยื่นจดหมายเปิดผนึก ขอให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พิจารณาการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินจังหวัดชายแดนใต้ครั้งหน้า ทบทวนที่มาของกฎหมาย แก้มาตราที่ละเมิดสิทธิฯ ยกเลิกมาตราที่ขัดรัฐธรรมนูญ
  • ครบรอบ 25 ตุลาคม 7 ปีเหตุการณ์ตากใบ ประณามผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส เรียกร้องร่วมกันยุติวงจรความรุนแรง ร่วมแรงรัฐ และภาคประชาสังคม สร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินให้ประชาชน
  • ตัวแทนมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ร่วมประชุมในเวทีทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย (UPR) ต่อสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้
  • มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และองค์กรภาคประชาสังคม แนะนำองค์กรให้กับกองกำลังทหารพรานที่ 45 ที่ อ.นาทวี จังหวัดสงขลาในวันที่ 25 ตุลาคม 2554

โครงการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมแก่ประชาชน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทย

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ดำเนินโครงการส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมซึ่งระยะเวลาดำเนินโครงการเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ที่มุ่งจะให้ความเหลือด้านกฎหมายโดยไม่คิดค่าบริการแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

โครงการมีเป้าประสงค์เพื่อยกระดับและปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งการเสริมสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ และกองทุนสหภาพยุโรป ภายใต้โครงการพัฒนาภาคประชาสังคม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา

กิจกรรม ในโครงการฯประกอบไปด้วย: การให้บริการด้านกฎหมายโดยไม่คิดค่าบริการแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการทำคดีในเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Litigation) การประชุมคดีระหว่างทนายความ และผู้ชำนาญการด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน

การอบรมเพิ่มทักษะให้แก่ทนายความ ผู้ช่วยทนายความ และนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ การจัดสัมมนาโดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นหน่วยงานในพื้นที่ หน่วยงานด้านความมั่นคง ผู้มีอำนาจตัดสินใจและเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม งานวิจัยและการทำกรณีศึกษาเกี่ยวกับความต้องการการใช้บริการให้ความช่วยเหลือด้านคดีโดยไม่คิดค่าบริการ ส่งเสริมให้พนักงานอัยการและศาลมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการจัดทำข้อเสนอให้กับหน่วยงานของรัฐ

การดำเนินการโครงการในครั้งนี้ มีความคาดหวังว่า

  1. หน่วยงานในพื้นที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการใช้กฎหมายในการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายโดยไม่คิดค่าบริการแก่กลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคม
  2. เพิ่มศักยภาพชุมชนเพื่อช่วยให้หน่วยงานในพื้นที่และหน่วยงานด้านความมั่นคงสามารถยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมายในระดับประเทศและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล
  3. หน่วยงานในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจมีความรู้และความสามารถในการกำหนดนโยบายมากขึ้น ช่วยให้เกิดการปฏิรูประบบยุติธรรมอย่างยั่งยืน
Loader Loading...
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [162.00 B]