ยกฟ้อง “สุกรี อาดํา” กับ เสียงจากปากเหยื่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ 12 ธันวาคม 2554 13:58 น.
ในชายแดนใต้ ความสนใจของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะนักเคลื่อนไหวคงไม่พ้นในเรื่องคดีความมั่นคงกับการเคลื่อนไหว ที่ปัตตานี คัดค้านการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ ทั้งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) และพระราชบัญญัติการรักษาความ มั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
การตัดสินคดีความมั่นคง ล่าสุด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2554 ที่ศาลจังหวัดปัตตานี เมื่อศาลพิพากษาให้ นายสุกรี อาดํา กับ นายอาหามัดซากี กียะ พ้นผิดโดยการ ยกฟ้อง ในคดีฆ่าตัดคอ นายจวน ทองประคํา ชาวบ้านไทยพุทธ ตําบลนาประดู่ อําเภอ โคกโพธ์ จังหวัดปัตตานี เหตุเกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2550 ส่วน นายมูหามะ แวกะจิ จําเลยที่ 2 ศาลสั่งจําคุกตลอดชีวิต เนื่องจากมีพยานหลักฐานยืนยัน
นายสุกรี อาดํา เป็นคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ โดยตรง เขาถูกซ้อมทรมานทําร้ายร่างกายระหว่างถูกควบคุมตัวเช่นเดียวกับ เพื่อนผู้ร่วมชะตากรรมอีกหลายคน แต่บางคนไม่โชคดีเหมือนเขา เพราะเหลือ เพียงร่างไร้ชีวิตที่ได้กลับบ้าน
วันที่ 30 ตุลาคม 2554 ที่ห้องห้องประชุมอาคารวิทยนานาชาติ วิทยาลัยอิสลาม ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี เครือข่ายประชาสังคม คัดค้าน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จัดเวทีสาธารณะ วาระประชาชน : ยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มีคนเข้า ร่วมเป็นพัน ในวงเสวนาหัวข้อ “เสียงสะท้อนจากเหยื่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน” สุกรี อาดัม พร้อม กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน อย่า นายนิเซ๊ะ นิฮะ และ นายสักรี สาและ ร่วม ถ่านทอดประสบการณ์ มีเนื้อหาจากปากคําต่อคําดังนี้
สุกรี อาดํา กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณอัลลอฮ (พระเจ้าที่ชาวมุสลิมนับถือ ศรัทธา) ที่ให้ผมมีความอิสระ แม้ความอิสระของผมยังไม่ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
“ผมถูกควบคุมตัวเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 เป็นปีที่มีคนถูกควบคุมตัวจํานวนมาก ปีนั้นเป็นปีที่ผมเรียนจบจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี หลังจากนั้น ผมไปเรียนภาษาอังกฤษที่ประเทศมาเลเซีย แล้วเอาประกาศนียบัตรไปสมัครสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเอกสอนชนสอนศาสนาอิสลามแห่งหนึ่งในอําเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ
วันที่ถูกจับเป็นวันที่ผมกลับมาจากการทําค่ายภาษาอังกฤษที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา ผมขับรถจากยะลาไปปัตตานี จากนั้นผมเดินทางกลับตามเส้นทางในอําเภอ ยะรัง จังหวัดปัตตานี ช่วงเวลาหลังละหมาดฆักริบ (ละหมาดช่วงค่ํา) พอถึงใกล้บ้านที่ ตําบลนาประดู่ เจอจุดตรวจ เจ้าหน้าที่ขอดูใบขับขี่
พอดีว่าใบ พ.ร.บ.ประกันภัยรถยนต์หมดอายุ เจ้าหน้าที่จึงให้นํารถเข้าไป จอดในโรงพักนาประดู่ อําเภอโคกโพธิ์ แล้วเจ้าหน้าที่ก็เอารูปถ่ายตัวผมเองให้ผมดู พร้อมแจ้งหมายควบคุมตัวตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็บอกผมว่า คุณถูกจับแล้วนะ เพราะมีคนซัดทอดคุณในคดีฆ่าตัดคอ
แล้วเจ้าหน้าที่นําตัวผมไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร อําเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ช่วงนั้นเวลาประมาณ 20.00 น.แล้ว จากนั้นเจ้าหน้าที่ถ่ายรูปผมก่อน แล้วนําตัวผมเข้ายัง ห้องที่มีขนาดประมาณ 2 คูณ 2 เมตร ห้องนี้เป็นห้องที่สร้างขึ้นเพื่อที่จะซ้อมโดยเฉพาะ
มีชาย 2 คน มาบีบคอผม ทําให้ผมหายใจไม่ออก จนผมสลบไปที่เท้าของเจ้าหน้าที่ พอผมรู้สึกตัวเจ้าหน้าที่น่ากระดาษหนึ่งแผ่น ให้ผมเซ็นชื่อ ด้วยความกลัวผมก็
เซ็นชื่อลงไป ผมเห็นมีข้อความ 2 บรรทัด ผมขออ่านก่อน แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้ผมอ่านจากนั้นเจ้าหน้าที่พาไปยังอีกห้องหนึ่งที่กว้าง 4 คูณ 4 เมตร ในห้องนี้มีเจ้าหน้าที่ ประมาณ 10 คน มาล้อมผม เหมือนกับนักมวยจะมาซ้อมเตะกระสอบทราบ โดยมี เจ้าหน้าที่ 2 คนใน 10 คนนั้น ทําหน้าที่ปลอบใจให้ผมยอมรับสารภาพ ตอนนั้นเจ้าหน้าที่ ถามมา ผมตอบไปก็โดนตี โดนเตะต่อยทั้งตัว คืนนั้นเจ้าหน้าที่ซ้อมผมประมาณ 2-3 ชั่วโมง ตอนนี้ก็ยังมีรอยแผลที่โดนซ้อมในคืนนั้นอยู่
นอกจากนั้น มีเจ้าหน้าที่ที่เอาเก้าอี้มาพาดทีหลังผม คืนนั้นตัวผมบอบช้ามาก มี เลือดไหลออกมา เจ้าหน้าที่ให้ผมถอดเสื้อผ้าทั้งหมด ให้ผมเปลือยกายแล้วกางเกงของ ผมมาครอบหัว เรื่องที่เล่ามาเป็นความจริง ผมขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ
แล้วเจ้าหน้าที่ก็ดีดอวัยวะเพศของผม ถึงช่วงเที่ยงคืนตรง เจ้าหน้าที่ให้ผม หมอบลงบนพื้นแล้วขึ้นนั่งทับบนหลัง หยิกก้นผมไปด้วย เจ้าหน้าที่รู้ว่าผมเป็นครู และผมเคยเป็นนักศึกษา แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่เว้น
วันต่อมาเจ้าหน้าที่นําตัวผมเข้าไปในเต็นท์กลางแจ้ง ในเต็นท์อากาศร้อนมาก ผมเหงื่อออกทั้งตัว และเลือดยังไหลออกจากบริเวณแผ่นหลังผมมากขึ้น เพราะเสื้อที่ผมใส่ เปียกเหงื่อ จากนั้นเจ้าหน้าที่เผาเปลือกมะพร้าวทิ้งไว้ในเต็นท์ที่ผมอยู่ ทําให้มีควันจํานวน มาก แล้วเอาน้ำให้ผมดื่มและพูดกับผมว่า ตอนนี้สภาพมึงเหมือนหมา แล้วเอาน้ำสาดมาที่ตัวผมด้วย จากนั้นได้นําตัวผมไปอีกห้องหนึ่งเพื่อที่จะถ่ายรูป ในระหว่างที่เดินอยู่เจ้าหน้าที่ให้ผมกระโดดตบ พร้อมกับเตะที่หลังผมท่ามกลางคนจํานวนมาก
ถ่ายรูปเสร็จเจ้าหน้าที่ก็นําตัวผมไปอีกห้องหนึ่ง จากนั้นเอาถุงพลาสติกสีดํามา ครอบหัวผม พอผมเริ่มหายใจไม่ออก เอาถุงพลาสติกออก เจ้าหน้าที่บอกผมว่า มีคนคน ซัดถอดมาว่า ผมให้ความร่วมมือ มีหน้าที่ดูต้นทาง ผมถูกซ้อมอยู่ประมาณ 3 วัน เพื่อให้ ผมยอมรับสารภาพ
หลังจาก 3 วัน ผมถูกย้ายไปอยู่อีกห้องหนึ่ง เป็นห้องมืด มีประตูเหล็กใหญ่ ในห้อง เปิดไฟตลอดเวลา ผมไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าเป็นเวลาใด ในห้องมียุงมาก เจ้าหน้าที่จะ ซักถามกลางคืน ตั้งแต่เวลา 21.00-00.00 น.ทุกๆ คืนประมาณ 1-2 สัปดาห์ เมื่อผมได้ยิน เสียงเปิดประตู ผมก็รู้กลัวมาก ไม่รู้ว่าจะตอบคําถามเจ้าหน้าที่ว่าอย่างไรอีก
เจ้าหน้าที่ทําทุกวิธีเพื่อให้ผมยอมรับ เมื่อไม่สามารถทําด้วยวิธีรุนแรงก็จะใช้วิธีการ ปลอบใจ บอกผมว่า หากผมยอมรับเจ้าหน้าที่ก็จะปล่อยผมไป ผมไม่รู้เรื่อง แล้วผมจะ ยอมรับได้อย่างไร จากนั้นเจ้าหน้าที่เอาบุคคลที่มีค่าตัว 500,000 บาท มาอยู่กับผม ให้ คนค่าตัว 500,000 บาทที่ว่านั้นมาหลอกให้ผมยอมรับสารภาพ
ผมอยู่ที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร เจ้าหน้าที่ได้ขอหมายขอขยายเวลาควบคุมตัว 3 ครั้ง พอครั้งที่ 4 พ่อแม่ผมและศูนย์ทนายความมุสลิมยื่นคําร้องต่อศาล เพื่อคัดค้านการควบคุมตัวผมและเป็นการควบคุมตัวโดยมิชอบโดยกฎหมาย โดยใช้หลักฐานรูปถ่ายของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เข้าไปเยี่ยมผมขณะถูกควบคุมตัวในสัปดาห์ที่สอง ซึ่งกรรมาการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ ถ่ายรูปแผ่นหลังและหัวผม ซึ่งมีรอยแผลจากการถูกซ้อมประกอบคําร้อง
ศูนย์ทนายความมุสลิม แจ้งต่อศาลว่า ผมถูกควบคุมตัวโดยมิชอบด้วย กฎหมาย ในวันที่ไปศาลมีเจ้าหน้าที่ทหารไปด้วย เจ้าหน้าที่บอกว่าจะไม่ขอหมายต่ออายุควบคุมต่อไปอีกแล้ว โดยไม่ได้มีการไต่สวนว่าผมถูกซ้อม ทรมานระหว่างถูกควบคุมตัว ส่วนตํารวจก็แจ้งข้อหาร่วมกันฆ่าคนตาย หลังจากนั้นผมก็ถูกด่าเนินคดี
ในช่วงสืบพยาน เจ้าหน้าที่ไม่มีพยานหลังฐานมายืนยันแม้แต่น้อย มีเพียงแค่คนซัด ถอด คนที่ซัดถอดผมเป็นคนที่ถูกจับก่อนหน้าผม และถูกซ้อมทรมานเหมือนกัน ตาของ เขามีรอย ด้านหลังเขาโดนเผาด้วยไฟแช็ก
ในวันที่เกิดเหตุการณ์ ผมมีหลักฐานว่าผมสอนอยู่ที่โรงเรียน เพราะมีลายเซ็นการ สอนทุกคาบและทุกชั้นที่ผมเข้าสอน ผมได้ออกจากคุกระหว่างการฝากขังด้วยการประกัน ตัวออกมา ผมโดน 2 คดี คือ คดีฆ่าตัดคอและคดีอั้งยี่ ซ่องโจร
ด้วย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน นี้แหละที่แม้ไม่มีพยานหลักฐานก็สามารถนําไปสู่การฟ้องร้อง ดําเนินคดีได้ ผมประกันทั้ง 2 คดี ด้วยเงินประมาณ 1,600,000 บาท”
ด้าน สักรี สาและ ถูกคุมตัวพร้อม “อิหม่ามยะผา กาเซ็ง” ที่เสียชีวิตระหว่างถูก ควบคุมตัวของทหาร เล่าว่า ถ้าไม่เจอเองจะไม่รู้ ผมจะเล่าตั้งแต่ต้น เจ้าหน้าที่เข้าควบคุม ในวันพุทธ 19 มีนาคม 2551 ความเจ็บปวดนี้ยังอยู่ในหัว ไม่ลืม ลองคิดดูว่า ถ้ามีคนมาทําร้ายพี่เรา น้องเรา พ่อเราต่อหน้า จะรู้สึกอย่างไร เรื่องนี้เกิดขึ้นกับลูกโต๊ะอิหม่าม 2 คน รวมทั้งผม และเพื่อนบ้านอีก 2 คน รวม 6 คนที่ถูกควบคุมตัวพร้อมกันในตอนเช้ามืด
“วันนั้นผมนอนที่บ้านอิหม่ามยะผา ได้ยืนเสียงอาซานที่มัสยิดอื่น แต่ที่ หมู่บ้าน บ้านของอิหม่ามอยู่ใกล้มัสยิด ตื่นมาจะละหมาด เห็นเต็มไปหมดแล้ว ล้อมบ้านอยู่ ไม่ต่ํา 300 คน ทั้งทหาร ตํารวจ พอออกจากบ้าน ก็ถูกปืนมาจ่อ แล้วสั่งให้หมอบบนถนน
ถึงตอนเช้าประมาณ 7 โมง เจ้าหน้าที่บอกว่า เชิญตัวไปโรงพักรือเสาะ จังหวัด นราธิวาส อยู่ที่นั่นประมาณ 2 ชั่วโมง ถึงประมาณ 10 โมงเช้า เจ้าหน้าที่ก็พาไปที่ตัวเมือง นราธิวาส เพื่อแถลงข่าว โดยที่เราไม่รู้เรื่องเลยว่า มันไม่ยุติธรรมเลย
เจ้าหน้าที่เตรียมสถานที่หนึ่ง มีท่อพีวีซี ในนั้นมีตะปูเรือใบ เพื่อนคนหนึ่งบอกว่านี่ ไม่ใช่ของผม เจ้าหน้าที่บอกว่าไม่เป็นไร แล้วให้ถ่ายรูปกับท่อนั้น แล้วข่าวก็ออกว่าเป็น คนร้ายลอบวางระเบิด ออกโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ โดยพวกเรายังไม่รู้ว่าตกเป็น ผู้ต้องหาแล้ว
อยู่ที่นั่นประมาณครึ่งชั่วโมง ถ่ายรูปเสร็จ ได้ยินเจ้าหน้าที่พูดว่า จับคนร้ายได้พร้อม หลักฐานพร้อม จากนั้นก็กลับ ได้ยินเสียงอาซานละหมาดตอนเที่ยง เจ้าหน้าที่ก็พาไปที่ หน่วยเฉพาะกิจ (ฉก.) 39 เข้าไปใน ฉก.แล้วขังอยู่ในรถขนผู้ต้องขังของตํารวจ เป็นกรง เหล็กอยู่ในนั้น 7 คน เพราะในรถมีอยู่แล้วคนหนึ่ง ชื่อซุลกุรนัย เขาโดนหนักมาแล้วทั้ง คืน ถูกทุบ ถูกตี หัวแตก เลือดออก ที่แขนถูกกรีดกับมีดเห็นเนื้อแดงๆ ที่หัว เลือดออก สักพักผู้คุมใน ฉก.ขึ้นมา เห็นกับตาตัวเองคือ เขาตีซุลกุรนัย และเอา หัวโขกกับกรงเหล็ก
คืนแรกยังไม่มีอะไร ได้นอนหลับ นอนบนม้านั่งคนละตัว รุ่งขึ้นไม่มีอะไร มีญาติมา เยี่ยมแต่ดูได้ไกลๆ ไม่ให้คุย หลังจากละหมาดตอนค่ําเสร็จ เขาเรียกอิหม่ามไป ประมาณ ทุ่มครึ่งได้ยินเสียงตุ๊บตั๊บๆ หลายครั้ง ได้ยินเหมือนทุบสังกะสี มีทั้งนั้น แล้วก็ได้ยินเสียง “อัลเลาะห์ๆ โอ๊ะๆ” ถึง 4 ทุ่มครึ่ง นั่นรอบแรก แล้วเจ้าหน้าที่มาส่งขึ้นรถ ดูแล้วอาการหนัก แต่ในรถมืด ไม่มีไฟ ร้อนก็ร้อน
จากนั้นประมาณ 5 นาที ก็เอาตัวไปอีก ทหารที่เอาไปพูดว่า มึงฆ่าเพื่อนกู เตะไปด้วย เอาไปประมาณหนึ่งชั่วโมง ได้ยินเสียงทุบตีตลอด แล้วส่งกลับมาประมาณเที่ยงคืนครึ่ง ถึงกับคลานขึ้นรถ ห่างจากนั้นอีก 5 นาทีสั่งให้ไปอีก ตอนนั้นไม่ไหวแล้ว ถึงกับคลาน เสื้อผ้า ไม่มีแล้ว เปลือย คนสั่งให้ไปดูเหมือนจะเมา พูดเหมือนเดิม มึงฆ่าเพื่อนกู แล้วก็เตะไปด้วย
ผมเห็นก็ขอว่า พอแล้ว อิหม่ามไม่ไหวแล้ว แต่เขาหันมาเตะผมหลายครั้ง แต่ก็สั่ง ให้ไปอยู่ดี อิหม่ามจะลุกก็ต้องช่วยกันยกแล้ว ไม่ทันได้ลงจากรถไป ก็ถูกถีบตกรถ จากนั้น ก็ดึงขาลากไป ได้ยินเสียงทุบตลอด ถึงประมาณตีสองกว่าๆ ก็ส่งตัวกลับมา แต่ยังมีอีกคน หนึ่งที่ถูกเอาตัวไปด้วย ยังไม่ส่งกลับมา ซึ่งเขาเล่าให้ฟังว่า ถูกกระทําต่างๆ นานา เช่น ถูกมัดขาแล้วห้อยหัวแล้วก็เตะ จากนั้นถูกเอาถุงครอบ ทําให้ หายใจไม่ออก พอทําท่าจะสลบก็เอาออก ให้นั่งบนเก้าอี้แล้วถีบ
ส่วน อิหม่ามยะผา ตอนเช้า ช่วงที่ตะวันกําลังจะขึ้น อิหม่ามขอให้ช่วย นวดหน่อย บอกว่าเจ็บไปหมดแล้ว พอประมาณ 6 โมงครึ่ง มาดูอีกทีเห็น ตาเหลือกและไม่รู้สึกตัว จึงให้ลูกคนหนึ่งให้มารองตึก ช่วงนั้นเห็นพระสงฆ์ เดินผ่านมาจึงเรียกพระขอให้ช่วยเปิดประตูพาไปโรงพยาบาล แต่ก็ไม่สนใจ และไม่มีใครสนใจด้วยในตอนนั้น แล้วก็เรียกผู้คุมให้มาดูด้วย เขาก็มาเปิด ประตูมาจับดูแล้วก็ปิดประตู ไม่สนใจ จากนั้นอิหม่ามก็เสียชีวิต(ในรถขนผู้ต้องขัง)
เรื่องนี้ถ้าไม่เจอกับตัวเองไม่รู้ว่า ความเจ็บปวดเป็นอย่างไร ถ้าไม่เจ็บก็ไม่รู้ ตอนที่ อิหม่ามถูกทุบตี ลูก 2 คนได้แต่สะอื้น เพราะทําอะไรไม่ได้ ได้แต่ขอดูอาจากพระเจ้าทั้งคืน
อยากจะบอกว่า นี่คือ “ผลจาก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ยังไม่ชัดเจนอะไรเลย ก็โดนแล้ว ทรมานจนถึงตาย”
ขณะเดียวกัน นายนิเซ๊ะ นิฮะ อดีตนักกิจกรรมในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2535 กล่าวว่า ท่ามกลางความมืดมน จิตใจของเราคิดถึงการปกครองบนกฎหมายที่กดขี่ ประชาชน แต่ด้วยความรับผิดชอบของเรา ทําให้เราได้มาเจอหน้ากันวันนี้ ผมได้ฟังจาก วิทยากร 4 ท่านพูดนี้แล้ว ปัญหาของผมน้อยกว่ามาก
“วันนี้ไม่ใช่เวลาที่จะเล่าเรื่องให้ผู้ฟังเกิดความสงสารต่อผม แต่เป็นเวลาที่จะให้ พวกเราช่วยกันคิดว่า เราจะอยู่อย่างนี้ต่อไปหรือ ตราบใดที่เรามีความรับผิดชอบต่ออัลลอฮฺ ตราบนั้นเราเป็นดังเสมือนคอลีฟะห์ (ผู้แทนหรือผู้สืบทอด) ที่จะให้มีการปกครองที่ยุติธรรมบนโลกใบนี้ แต่วันนี้เรายอมที่จะให้ความไม่ยุติธรรมมากดขี่เรา
วันนี้เราไม่สามารถป้องกันตัวเราเองได้ ที่สําคัญสําหรับวันนี้ เราต้องสร้างกระแส เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการ ที่ผมกล้าที่เขียนข้อความคัดค้าน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จาก ที่ควบคุมตัวบนกระดาษแผ่นนั้น เพราะไม่สามารถที่จะทนได้ยินเสียงคนในห้องข้างๆ ละหมาดซุฮรี(หลังเที่ยง) อ่านซูเราะห์ (บท) อัลฟาติหะห์ดังมาก อีกห้องหนึ่งก็กําลังร้อง ให้ขณะขอดูอาอฺ (ขอพร) จากอัลลออฮฺ
ผมจึงคิดหาวิธีที่จะช่วยเหลือบุคคลนั้น ผมสงสารที่เขาต้องอ่านเสียงที่ดัง ผมยอมที่จะให้อื่นบอกว่าเราเป็นคนบ้า เพื่อที่จะไม่ยอมให้ความอยุติธรรมปรากฏ
บนพื้นแผ่นดินนี้ของเรา
ปกติเราดูอาต่ออัลลอฮฺในเวลาละหมาดอยู่แล้ว คือ การอ่านอายะห์ (โองการ) หนึ่ง ในซูเราะห์อัลฟาติหะห์ ที่มีความหมายว่า “ขอให้พระองค์ทรงแนะนําเส้นทางที่เที่ยงตรง”
อะไรคือเส้นทางที่เที่ยงตรง ก็คือสิ่งที่บรรดาผู้ศรัทธา ศาสดา และสหาย ได้ทําเป็น ตัวอย่าง คือการยอมที่จะรักษาอามานะห์ (ความรับผิดชอบ) ต่ออัลลอฮฺ เสมือนคอลีฟะห์ ที่ปกครองด้วยความยุติธรรมบนหน้าแผ่นดิน
อะไรคือสิ่งที่บุคคลเหล่านั้นได้กระทํา สิ่งแรกคือความเสียสละ สิ่งนี้คนมุสลิมมลายูต้องวิพากษ์ตัวเองว่า เรามีความเสียสละหรือเปล่า โดยปกติเราให้คนอื่นเสียสละให้เรา
เราขอความช่วยเหลือต่างๆ นานาไม่ว่าจะเป็นศูนย์ทนายความมุสลิม มูลนิธิผสาน วัฒนธรรม เป็นต้น
เรายื่นมือช่วยเหลือคนอื่นมีหรือเปล่า วันนี้มีคนอื่นยื่นมือมาช่วยเหลือพี่น้องของเรา วันนี้เป็นเวลาที่เราต้องยื่นมือช่วยเหลือพี่น้องของเรา ไม่ใช่ยื่นมือให้คนอื่นมาช่วยเหลือเรา
ผมขอสนับสนุน พล.ต.ต.จ่ารูญ เด่นอุดม (ประธานมูลนิธิ วัฒนธรรมอิสลามภาคใต้) วันนี้เราเสียสละเพื่อให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียวของประชาชนของเรา นี่เป็นปัญหาใหญ่ เราไม่มีความเสียสละเพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวของประชาชนของเรา
ในหมู่บ้านเดียวกัน ชาวบ้านถูกควบคุมตัว แต่บ้านข้างๆ ไม่กล้าไปเยี่ยม ผมเคย เป็นเพื่อนกับคนติดยาเสพติด บนพื้นฐานความเป็นเพื่อนพวกเขาไม่เคยลืมความเป็นเพื่อน ผมเคยอยู่กับพวกคอมมิวนิสต์ บนพื้นฐานที่เป็นสหายพวกเขาก็จะไม่ลืมความเป็นสหาย แต่เราเป็นคนมุสลิมที่นําคําว่าความเป็นพี่น้องติดตัวมา เรามีความเอาใจใส่ต่อพี่น้องของเรามากน้อยแค่ไหน
สิ่งนี้สําคัญมาก วันนี้ไม่ใช่เวลาที่เราจะมาบอกโชคชะตาของเราให้คนอื่นฟังพร้อมกับร้องไห้ แต่เป็นเวลาที่เราต้องลุกขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิของเรา สิ่งนี้ต้องการความ เสียสละ เสียสละตัวของเรา เวลาและทรัพย์ของเรา แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่พอ หากเราจะขอ ความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ ความอดทนเป็นสิ่งสําคัญสําหรับวันนี้ แต่สิ่งสําคัญมากที่สุด คือต้องมีบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ
ผมจะไม่ยอมให้ความไม่เป็นจริงเกิดขึ้นบนพื้นดินนี้และกับตัวผมเอง เพราะ หากเจ้าหน้าที่ขอขยายเวลาควบคุมผมต่อไป ผมยอมที่อดอาหารจนตาย ณ วันนี้ พวกเราเองขาดความกล้าหาญ แต่เรายอมรับตัวเองว่าเป็นคนที่มีความศรัทธา และยําเกรงต่ออัลลอฮฺ และเรายอมให้ความเลวมาปกครองบนพื้นแผ่นดินของเรา เรายอมให้เพื่อนๆ ของเราร้องไห้อยู่ในห้องข้างๆ
หลังจากนี้ ผมมีเป้าหมายในใจผม ผมจะชักชวน 4 คนที่อยู่บนเวทีแห่งนี้ เป็น บุคคลแถวหน้าในการต่อสู้กับความอยุติธรรม อายมากที่ให้คนอื่นต้องมาสงสารเรา อาย มากที่ให้คนอื่นวาดภาพเราเหมือนแพะ คนมุสลิมมลายูต้องเป็นเสือ
วันนี้ความคิดของผมน้อยนิดเท่านั้น เจ้าหน้าที่ดูข้อมูลผมเขาก็แปลกใจ ตรงที่ว่า ผมขึ้นไปเรียนที่กรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้เข้าไปเรียน ไปขับเคลื่อนประชาชนในภาค
อีสานไม่รู้กี่ที่ ผมบอกเจ้าหน้าที่ตรงๆ ว่าคนมุสลิมไม่ใช่ปกป้องความอยุติธรรมแก่มุสลิม ด้วยกันอย่างเดียว คนที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม มุสลิมก็ต้องปกป้องเหมือกัน เพราะ มุสลิมเป็นคอลีฟะห์ ต้องดูแลประชาชาติไม่เลือกว่าชนชาติอะไรและศาสนาอะไร ผมบอก อย่างนี้แก่เจ้าหน้าที่ เพราะที่มาทีไปของผมมันแปลกมาก
เจ้าหน้าที่ไปที่บ้านผมตอนตีห้า วันที่ 16 กันยายน 2554 ที่บ้านเลขที่ 32/5 หมู่ที่ 3 ตําบลตะลุโบะ อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ผมตื่นไปเข้าห้องน้ำ หลังจากทําภารกิจ เสร็จแล้วมองไปข้างนอก เห็นทหารมาปิดล้อมบ้านหมดแล้ว จากนั้นผมก็เปิดประตูห้องน้ำแล้วให้สลามแก่เจ้าหน้าที่แล้วก็ถามว่า มีอะไรกับผมหรือเปล่า แต่เจ้าหน้าที่ไม่ตอบ ผมก็ ถามต่อว่าคุณมีธุระกับผมหรือเปล่า จากนั้นมีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเรียกให้ผมไปหา ผมก็ขอ ละหมาดก่อน เจ้าหน้าที่อนุญาต
เมื่อผมละหมาดเสร็จก็เปลี่ยนเสื้อผ้า เจ้าหน้าที่ก็จะเข้าตรวจค้นในบ้านของผม แต่ ผมบอกว่าเดี๋ยวก่อน หากคนขึ้นมาหลายๆ คน ผมไม่สามารถจะควบคุมได้ เจ้าหน้าที่จึงส่ง ตัวแทนขึ้นไปตรวจค้น ผมก็ถามเจ้าหน้าที่ว่าจับผมเรื่องอะไร ผมขอดูหมายได้หรือไม่ เจ้าหน้าที่ก็เอาหนังสือให้ดูบอกว่าใช้อํานาจกฎอัยการศึก แต่เกี่ยวกับคดีอะไรนั้นเจ้าหน้าที่ไม่บอก
จากนั้นเจ้าหน้าที่นําผมไปที่ ฉก.(หน่วยเฉพาะกิจ) แต่ทหารที่ ฉก.ปฏิเสธว่าไม่รู้ เรื่องใดๆ ทหารในหน่วย ฉก.ที่หมู่บ้านผมเป็นโคราช ผมบอกกับ ฉก.ว่า ผมเคยไปอยู่ โคราชเป็นปีๆ ผมมีพ่อเลี้ยงที่โคราช มีตําแหน่งสูงกว่าคุณเสียอีก คนโคราชที่ผมไป ช่วยเหลือนั้น อาจเป็นคุณยายของคุณก็ได้ ทหารที่ ฉก.ก็บอกว่า เขาไม่รู้เรื่องไม่รับรู้เรื่อง ที่เขาจับตัวผมมาเพราะเป็นหน่วยของแม่ทัพ
หลังจากเขียนประวัติที่ ฉก. แล้วเจ้าหน้าที่ก็พาไปที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร เข้าไปที่ ศูนย์เสริมสร้างสมานฉันท์ สิ่งแรกที่เจ้าหน้าที่ซักถามผม เรื่องคดีฆ่าคน บอกว่าผมเป็นคน ยิงคนในเขตเมืองปัตตานี ผมบอกว่าถ้าอย่างนั้นคุณเอาพยานหลักฐานมาว่าอะไรบ้าง เจ้าหน้าที่บอกว่ามีคนซัดทอด ถ้าอย่างนั้นคุณเอาคนซัดทอดมาเจอผม
เจ้าหน้าที่ก็บอกอีกว่า ผมเป็นคนวางแผนเจ้าหน้าที่ก็บอกอีกว่า ผมเป็นคนวางแผนวางระเบิดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ผมตกใจมาก แต่สุดท้ายเจ้าหน้าที่บอกว่าน่าจะเป็นผู้ปฎิบัติการในจังหวัดปัตตานี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
น่าจะเป็นผู้ประสานงานโดยไม่มีข้อมูลอย่างนี้ ผมจะไม่คําตอบใดๆ ทั้งสิ้น หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่บอกว่าทางค่ายอิงคยุทธบริหารบอกว่าคุณไม่มีอะไร เราจะส่งคุณ กลับบ้าน ขณะที่จะส่งผมกลับบ้าน ก็มีทหารชุดคุ้มครองจากปากาฮารัง และทหารจาก อําเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี มาควบคุมตัวผมไปที่ศูนย์พิทักษ์สันติ ในศูนย์ปฏิบัติการตํารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่ศูนย์พิทักษ์สันติ เจ้าหน้าที่ก็ซักถามผมเหมือนเดิม ผมบอกเจ้าหน้าที่ว่า หากยัง ซักถามเหมือนเดิม ก็ให้ไปเอาคําตอบที่ผมให้กับทหาร ปรากฏว่าทหารไม่ให้ข้อมูลกับ ตํารวจ จากนั้นเจ้าหน้าที่นําภาพต่างๆ มาให้ผมดู แล้วก็ถามผมว่าคุณเคยติดต่อกับคนที่อยู่ ในรูปภาพหรือเปล่า ผมบอกคําเดียวว่าหากผมจะถูกทรมานบนแผ่นดินนี้ หรือในคุกแห่งนี้ ที่มีกฎหมายที่ฟิตนะห์(ใส่ร้ายป้ายสี) ผมยอม แต่คุณไม่สามารถที่จะขังจิตวิญญาณผมได้ ผมยืนยันอย่างนั้น คุณจะเอาตัวผมไปขังได้ แต่คุณไม่สามารถขังจิตวิญญาณของผมได้
ที่ศูนย์พิทักษ์สันติก็มีเจ้าหน้าที่ที่ดีๆ เราต้องยกย่องเขาเหมือนกัน เจ้าหน้าที่บอก ว่าหนูไม่รู้จะซักพี่อะไรดี ผมสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งจะยืนขอขยายเวลาควบคุมตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน แต่เจ้าหน้าที่ที่ซักถามบอกว่าไม่รู้ว่าจะซักถามอย่างไรดี มันเป็นเรื่องแปลก
เราต้องคิดเสมอว่า ผู้ที่จะปกป้องความจริงต้องมีความเสียสละอย่างสูง ต้องมูญาหาดะห์ (ปฏิบัติในสิ่งเรียนรู้)
วันที่ดีอย่างวันนี้เป็นวันแรกที่เราจะต้องร่วมมือกันเพื่อ ประชาชนของเรา เพื่อปกป้องความชั่วร้ายต่างๆ บนแผ่นดินนี้ การ ร่วมเป็นหนึ่งเดียวของเรานั้น ไม่ใช่จะไปกดขี่คนอื่น แต่เพื่อปกป้อง สิทธิต่างๆของเรา แต่ต้องร่วมมือกัน
หากวันนี้เรากลับบ้านไปโดยที่เราไม่ได้หาอะไร แสดงว่า เรา ยอมที่จะให้สิ่งที่ชั่วร้ายปรากฏบนแผ่นดินของเรา แสดงว่าเรายอมให้
มีกฎหมายที่กดขี่พี่น้องของเรา หลังจากนี้ผมจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับอัลลอฮฺ
ด้าน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา เปิดเผยว่า ผมเคยโดยหมาย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ถ้าพี่น้องเคยได้ยินเรื่อง 7 มือระเบิดฆ่าจ่าเพียง ผมคือหนึ่งในนั้น ผมจะเล่าก่อนที่ ผมจะออกมาเสียสละตัวเองอย่างนี้ว่า ตอนผมเรียนมัธยม เคยดูเรื่องเหตุการณ์ที่บ้านกูจิง ลือปะ ชาวบ้านโดนหมาย พอผมเรียนปี 1 ผมทํากิจกรรมด้วย ผมขึ้นไปกรุงเทพบ่อยมาก เคยออกข่าวกับรัฐมนตรีช่วยกระทรวงหนึ่ง
“วันหนึ่งผมอยู่ที่ร้านอาหารในจังหวัดยะลา ผมจําได้ว่าผมไม่เคย ไปอําเภอบังนังสตา เพื่อความแน่ใจ ผมก็ถามพ่อผมว่าตอนผมเป็นเด็กๆ ผมเคยไปหรือ เปล่าที่อําเภอบันนังสตา พ่อผมบอกว่าพ่อเองก็ไม่เคยไป
เจ้าหน้าที่บอกว่าคุณมีหมายจับอยู่ที่อําเภอ.. “สงขลา มีเจ้าหน้าที่มาเชิญผมไปซักถามเจ้าหน้าที่พาผมไปที่ยะลา แล้วเอารูปภาพต่างๆ ให้ผมดู ถามว่ารู้จักคนในรูปหรือ เปล่า ผมก็ถามเจ้าหน้าที่ว่าตกลงผมโดนข้อหาอะไร เจ้าหน้าที่ตอบว่าฆ่าจ่าเพียร ผมก็ถาม ต่อว่าจ่าเพียรตายวันไหน เจ้าหน้าที่ตอบว่า 10 มีนาคม 2553 ผมนึกได้ว่า วันที่ 10 – 12 มีนาคม 2553 ผมอบรมเรื่องโรงเรียนสันติภาพของศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวัดสงขลา แต่เจ้าหน้าที่ออกข่าวไปแล้วว่ามีชื่อผม เกี่ยวข้องกับคดีฆ่าจ่าเพียร
ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่เคยไปที่อําเภอบันนังสตา และผมเป็น นักศึกษาที่เรียนด้านรัฐศาสตร์ พอโดนอย่างนี้ ผมรู้สึกว่าอยากจะต่อต้านรัฐด้วย ทันที การที่รัฐยังบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ อาจส่งผลให้รัฐสร้างผู้บริสุทธิ์ให้กลายเป็นผู้ต่อต้านรัฐอย่างถาวร”
รายงานโดย โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSJ)
https://mgronline.com/south/detail/9540000157827