วันนี้ 10 สิงหาคม 2554 ศาลอาญา ได้อ่านคําพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.2161/2552 กรณี พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายซูดีคือมันมาเละ ข้อหา แจ้งความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ และต่อคณะกรรมการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือปปช. โดยศาลพิจารณา
พยานหลักฐานโจทก์ที่ได้นําสืบเรื่องสถานที่เกิดเหตุมีพยานหลักฐานเป็นบัตรโดยสารการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อื่น มิใช่สถานที่เกิดเหตุ ประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ปปช.ว่าจําเลยมาให้ถ้อยคําแก่ ปปช. จริง และจากการตรวจสอบของ ปปช. พบว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอแสดงว่ามีการซ้อมทรมานตามที่มีการร้องเรียน แม้จําเลยจะได้นําพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษมาเบิกความว่า จําเลยไม่ได้พูดถึงโจทก์ในคําให้การ
แต่เมื่อมีการชี้ภาพบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทําร้ายจําเลย จําเลยก็มิได้นําภาพที่จะต้องพิสูจน์ว่ามิได้ชี้ภาพโจทก์มาเสนอต่อศาล พยานจําเลยจึงไม่มีน้ําหนักมาหักล้างพยานของโจทก์ จึงพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 ประกอบ 174 วรรค 2 และ 187 (2) ลงโทษจําคุก 2 ปี
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อํานวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรมเห็นว่า การร้องเรียนให้มีการตรวจสอบการกระทํา ความผิดกรณีการซ้อมทรมานตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and Other Cruel Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT) ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคีของอนุสัญญามาตั้งแต่ปี 2550 ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 62 ผู้ร้องเรียนโดยสุจริตควรได้รับการคุ้มครอง
ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้เสียหายที่ได้ร้องเรียนโดยสุจริตมีความกล้าเผชิญในการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อนําผู้กระทําผิดโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐมาลงโทษอันเป็นการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมผู้กระทําผิดลอยนวล แต่หากรัฐไม่สามารถคุ้มครองเหยื่อของการซ้อมทรมานได้ การบังคับใช้อนุสัญญาฯ และ รัฐธรรมนูญ ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง และทําให้การซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพยังคงดํารงอยู่ในสังคมไทย
ดังกรณีของนาย ซูเรือมันมาเละ ซึ่งได้ร้องเรียนกรณีการตกเป็นเหยื่อของการซ้อมทรมาน ภายหลังจากที่ถูกควบคุมตัวเนื่องจากต้องสงสัยว่า เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนที่ค่ายกองพันทหารพัฒนาที่ 4 จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี 2547 และต่อมานายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความของนายซูดีคือมัน ซึ่งได้ออกมาเรียกร้องถึงความเป็นธรรมแก่ลูกความของตนได้ถูกบังคับให้สูญหายในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ในปีเดียวกัน ปัจจุบันนายซูดีคือมันยังอยู่ในการคุ้มครองพยานของกรมสอบสวนคดีพิเศษในฐานะพยานในคดีที่ตนถูกซ้อมทรมาน
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม:
– นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อํานวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม โทร.086-7093000
– นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ 081-4394938 นายปรีดา นาคผิว ทนายความ โทร. 02-6934939 ต่อ 301