[:th]CrCF Logo[:]

บันทึกข้อเท็จจริงกรณีคุกคามนักสิทธิมนุษยชน ที่ตากใบ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

Share

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2554 เวลาประมาณ 01.30 น. มีเหตุคนร้ายแต่งกายคล้ายทหารได้ปล้นรถ 6 ล้อที่ใช้ขนผัก โดยนํารถที่ปล้นมาดังกล่าวเป็นพาหนะยิงถล่มป้อมจุดตรวจไพรวัน ริมถนนสายนราธิวาส-ตากใบ ช่วงบริเวณบ้านศาลาเชือก ม.6 ต.ศาลาใหม่ อําเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากการตรวจสอบที่เกิดเหตุพบพบว่าเจ้าหน้าที่ทุกนายปลอดภัย มีเพียงบริเวณกระสอบทรายบังเกอร์จุดตรวจมีรอยกระสุนปืนเสียหายหลายจุด

ต่อมาเมื่อเวลา 16.30 น. ได้มีเจ้าหน้าที่ตํารวจ และทหารจาก สถานีตํารวจภูธรตากใบประมาณ 20 นายพร้อมอาวุธ ได้เข้าปิดล้อมตรวจค้นบ้านนางแยนะ สาแลแม ราษฎรอําเภอตากใบ และแกนนําเรียกร้องความเป็นธรรมกรณีเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนตากใบ โดยเจ้าหน้าที่ที่เข้าตรวจค้นมิได้แสดงหมายค้นจากศาล เพียงแจ้งว่ามีผู้ให้เบาะแสว่านางแยนะ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ยิงจุดตรวจไพรวัน

ลักษณะการตรวจค้นเป็นการตรวจค้นเฉพาะบ้านนางแยนะ โดยเจ้าหน้าที่มิได้ ตรวจค้นบ้านข้างเคียงในบริเวณเดียวกัน ภายหลังการตรวจค้นเจ้าหน้าที่ไม่พบมีสิ่งของผิดกฎหมาย หรือผู้กระทําผิดหลบซ่อนแต่อย่างใด จึงให้นางแยนะลงนามในหนังสือรับรองการตรวจค้น และเจ้าหน้าที่ตํารวจผู้นําการตรวจค้นได้แจ้งแก่นางแยนะ ว่ามิให้นําเรื่องดังกล่าวแจ้งแก่นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

หมายเหตุ: นางแยนะ สาแลแม เคยได้รับรางวัลผู้หญิงปกป้องสิทธิมนุษยชน จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เคย ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมนักปกป้องสิทธิมนุษยชนร่วมกับ Frontline International for HRDs ที่กรุงดับบรินท์ ประเทศ ไอร์แลนด์ เมื่อปี 2552 และได้รับเชิญเข้าร่วมในการรําลึกวีรชน 18 พฤษภาคม ที่เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้เมื่อปี 2553

นางแยนะเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการช่วยเหลือประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม โดยทํางานร่วมกับนักสิทธิมนุษยชนหลายองค์กร เมื่อสองเดือนเศษที่ผ่านมา นางแยนะยังเป็นแกนนําในการยื่นคําร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อให้เป็นโจทก์ฟ้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการใช้กําลังสลายการชุมนุมที่ สภ.ตากใบ แทนประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 257 ภายหลังการร้องเรียนดังกล่าวนางแยนะได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารหลายคนสอบถามถึงความพยายามที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมกรณีตากใบ

นอกจากนี้นางแยนะ ยังเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่นักถ่ายทําสารคดีจากสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ในการทําสารคดีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเหตุการณ์ตากใบ

เหตุการณ์ดังกล่าวทําให้นางแยนะ สาแลแม มีความหวาดกลัว และเกรงความไม่ปลอดภัย และคิดว่าเหตุที่ถูก เจ้าหน้าที่ตรวจค้นบ้านในครั้งนี้อาจมาจากการทํางานเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน เนื่องจากที่ผ่านมาไม่เคยมีความโกรธแค้น หรือความขัดแย้งกับผู้ใดเป็นการส่วนตัว และเมื่อปี 2550 สามีของนางแยนะได้ถูกยิงเสียชีวิตภายในหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าไม่ สามารถจับกุมผู้กระทําผิดได้

อังคณา นีละไพจิตร
บันทึก

Loader Loading...
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [162.00 B]

Loader Loading...
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [106.47 KB]

[:]

RELATED ARTICLES