ราชกิจจานุเบกษา หน้า ๑ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๓ ง, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
ประกาศ เรื่อง กําหนดลักษณะความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๓
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อาศัยอํานาจตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกาศให้เขตพื้นที่อําเภอจะนะ อําเภอนาทวี อําเภอเทพา และอําเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ตามประกาศ เรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยให้กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร เป็นผู้รับผิดชอบดําเนินการตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๓ นั้น
โดยที่พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ มีบทบัญญัติ เกี่ยวกับการแก้ไขเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยในมาตรา ๒๓ บัญญัติให้ ในเขตพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีได้มีประกาศตามมาตรา ๑๕ คณะรัฐมนตรีมีอํานาจประกาศเพื่อกําหนดการกระทําที่เป็นความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่ผู้กระทําความผิด ตามความผิดดังกล่าวจะเข้ารับการอบรมตามคําสั่งของศาล แทนการดําเนินกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาปกติ ทั้งนี้ เพื่อให้โอกาสแก่ผู้กระทําความผิดนั้นกลับตัวเพื่อประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๑ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 4 มกราคม ๒๕๕๔ จึงมีมติดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้การกระทําความผิดที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรภายในเขต พื้นที่อําเภอจะนะ อําเภอนาทวี อําเภอเทพา และอําเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ดังต่อไปนี้ เป็นความผิดที่ต้องดําาเนินการตามมาตรา ๒๑
(๑) ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
(ก) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘
(ข) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๙ มาตรา ๑๒๐ มาตรา ๑๒๗ มาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙
(ค) ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๕/๑ ถึงมาตรา ๑๓๕/๔
(ง) ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๖ ถึงมาตรา ๑๔๖
(จ) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๐๙ ถึงมาตรา ๒๑๖
(ฉ) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑๗ ถึงมาตรา ๒๓๙
(ช) ความผิดต่อชีวิต ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๘๘ ถึงมาตรา ๒๙๔
(ซ) ความผิดต่อร่างกาย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๕ ถึงมาตรา ๓๐๐
(ฌ) ความผิดต่อเสรีภาพ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๐๙ ถึงมาตรา ๓๒๓
(ญ) ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ถึง มาตรา ๓๓๖ ทวิ
(ฎ) ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๓๓๗ ถึงมาตรา ๓๔๐ ตรี
(ฏ) ความผิดฐานรับของโจร ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๕๗
(ฐ) ความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๕๘ ถึงมาตรา ๓๖๑
(ฑ) ความผิดฐานบุกรุก ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๖๒ ถึงมาตรา ๓๖๖
(๒) ความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๗
(๓) ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
(๔) ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
(๕) ความผิดตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒ เมื่อผู้ต้องหาว่าได้กระทําความผิดตามความผิดตามข้อ ๓ กลับใจเข้ามอบตัว ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ดําเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่าผู้ต้องหา ได้กระทําไปเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ให้ใช้มาตรา ๒๑ กับผู้ต้องหานั้นได้เฉพาะเมื่อปรากฏว่า
(๑) การกระทําความผิดนั้นกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(๒) การกระทําความผิดนั้นเกิดภายในเขตพื้นที่อําเภอจะนะ อําเภอนาทวี อําเภอเทพา และอําเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ตามประกาศ เรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อ ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๓
(๓) การเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาว่าได้กระทําความผิดกลับตัวจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี