[:th]CrCF Logo[:]

ความเห็น ICJ ต่อ มาตรา 21 แห่ง พรบ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พศ. 2551

Share

มาตรา 21 ของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (“พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ”) กำหนดให้ศาลสามารถสั่งให้บุคคลเข้ารับการฝึกอบรมอยู่ภายใต้การดูแลของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (“กอ.รมน.”) ได้เป็นเวลานานถึง 6 เดือน เมื่อปรากฏเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. คณะรัฐมนตรีมีมติตามมาตรา 15 ของพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ให้อำนาจกอ.รมน.ดำเนินการภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด และ
2. เมื่อปรากฏว่าบุคคลใดต้องหาว่าได้กระทำความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และ
3. แต่
— 3.1 ผู้นั้นกลับใจเข้ามอบตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ
— 3.2 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่าบุคคลนั้นได้กระทำไปเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และ
4. การเปิดโอกาสให้บุคคลนั้นกลับตัวจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ
5. พนักงานสอบสวนส่งสำนวนรายงานการสอบสวนและความเห็นไปให้ผู้อำนวยการ กอ.รมน และ
6. ผู้อำนวยการกอ.รมน.เห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานสอบสวน หากว่าตรงกับเงื่อนไขข้างต้นครบถ้วน

ขั้นตอนที่ตามมาคือ
7. ผู้อำนวยการกอ.รมน.ส่งบันทึกสำนวนพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการ  และ
8. พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลสั่งให้ส่งตัวผู้ต้องหาให้ผู้อำนวยการ กอ.รมน. เพื่อเข้ารับการอบรม และ
9. หากผู้ต้องหายินยอมเข้ารับการอบรมและปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ และศาลเห็นสมควร ศาลจะสั่งให้ส่งผู้ต้องหานั้นให้ผู้อำนวยการ กอ.รมน. เพื่อเข้ารับการอบรมเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน รวมทั้งปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่ศาลกำหนด เมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้เข้ารับการอบรม รวมทั้งปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่ศาลกำหนดเสร็จสิ้น ผลคือ
10. สิทธินำคดีอาญามาฟ้องผู้ต้องหาเป็นอันระงับไป

คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลเห็นด้วยกับการกำหนดให้องค์การตุลาการเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบตามมาตรา 21 ของพ.ร.บ. ความมั่นคงฯ และเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการปรับปรุงที่สำคัญจากร่างพระราชบัญญัติฉบับแรก อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากลยังเห็นว่ามาตรา 21 ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานที่เคร่งครัดของการควบคุมตัวอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีและมีพันธกรณีตามสนธิสัญญาดังกล่าว

อ่านฉบับเต็มได้ที่

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [120.50 KB]

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2554 ได้กำหนดฐานความผิดที่มีอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคง และเงื่อนไขอื่น อันอาจดำเนินการตามมาตรา 21 แห่งพ.ร.บ.ความมั่นคงได้ โดยมีผลบังคับใช้ในเขตพื้นที่อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ปรากฏรายละเอียดตามแนบ

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [43.46 KB]