แถลงการณ์ ปปช. และดีเอสไอ ล้มเหลว ล่าช้า ปกป้องเจ้าหน้าที่ฯ กรณีคดีซ้อมผู้ต้องหา ซึ่งนำไปสู่การอุ้มหายทนายสมชาย คดี 7 ปี ไม่มีความคืบหน้า ประชาชนไร้ที่พึ่ง คนผิดลอยนวล
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 จากที่โฆษกสานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ปปช.) ได้แถลงถึงกรณีผลการพิจารณาชี้มูลความผิดเกี่ยวกับข้อกล่าวหา พล.ต.อ. ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยากับพวก รวม 19 คน กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบร่วมกันกลั่นแกล้งผู้ต้องหาคดีปล้นอาวุธปืนของกองพัน ทหารพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547
และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่ลุกลามกว้างขวางทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์จํานวนมากต้องบาดเจ็บและล้มตายจนปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตกว่า 4000 คน ซึ่งเป็นปฐมบทความขัดแย้ง
ผู้ต้องหาคดีปล้นปืนทั้งหมด 32 คนศาลตัดสินยกฟ้องไปทั้งหมดแล้ว โดยก่อนที่ทนายสมชาย นีละไพจิตร จะหายตัวไป ทนายสมชายได้ร้องเรียนว่าผู้ต้องหาผู้เป็นลูกความ 5 คนถูกซ้อมทรมาน และต่อมาทนายสมชายก็ได้ ถูกทําให้หายไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547 ริมถนนฝั่งตรงข้ามสถานีตํารวจหัวหมาก กรุงเทพมหานคร
ซึ่งในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องในคดีความผิดต่อเสรีภาพและปล้นทรัพย์ ทนายสมชายฯ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2549 และศาลอุทธรณ์มีกำหนดนัดฟังค่าพิพากษาเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553
แด่ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนการอ่านค่าพิพากษาออกไปด้วยว่า พ.ต.ต. เงิน หนึ่งในผู้ต้องหาได้หายตัวไป ปริศนา และทางญาติได้ดาเนินการขอให้ศาลรอการไต่สวนบุคคลสูญหาย ซึ่งสร้างความกังวลว่าเสมือนเป็นการ ปกปิดและพยายามใช้เทคนิคทางกฎหมายเพื่อให้อ่านค่าพิพากษาคดีอุทธรณ์ล่าช้าไปโดยไม่มีความ จําเป็นและส่อพิรุธเนื่องจากผู้ต้องหาทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่ตํารวจที่บางส่วนยังปฏิบัติหน้าที่ราชการ และมี เจ้าหน้าที่ตํารวจที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาดังกล่าวยังคงปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่
การยื่นค่าร้องต่อ ปปช. พล.ต.อ. ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยากับพวก รวม 19 คน กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิ ชอบนั้นเป็นสานวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทางกรมสอบสวน คดีพิเศษได้ สำนวนพร้อมหลักฐาน อีกทั้งได้มีการคุ้มครองพยานที่เป็นเหยื่อถูกซ้อมทรมานจํานวน 3 คน จนกระทั่งนายอับดุลเลาะห์ อาบูการี ได้หายตัวไปเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 ข้อพิจารณาของ ปปช. ที่ให้เหตุผล ว่ารายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลหรือผลการตรวจร่างกายของแพทย์หลายรายเป็นเพียงภาพถ่ายไม่สามารถ
พิสูจน์ได้ว่าเกิดขณะที่มีการควบคุมตัว แต่ใช้เวลาในการสืบสวนสอบสวนด้วยอ่านาจหน้าที่ของกรมสอบสวนคดี พิเศษกว่า 6 ปี และ ปปช. ใช้เวลาในการตรวจสอบเพื่อชี้มูลเป็นเวลากว่า 3 ปี ผลการพิจารณาเป็นแต่เพียงว่าการ ซ้อมทรมานไม่มีหลักฐาน การปฏิบัติหน้าที่ของ ปปช. และกรมสอบสวนคดีพิเศษดังกล่าวจึงเป็นไปโดยล่าช้าเกินสมควร และยังไม่สามารถอ่านวยความยุติธรรม และเป็นที่พึ่งของประชาชนในฐานะที่เป็นองค์กรอิสระที่ถูกจัดตั้งขึ้น
เพื่อแก้ไขช่องโหว่ของการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบของเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานตํารวจที่มีแนวโน้มว่าจะไปอ่านาจเกินขอบเขตโดยปราศจากการตรวจสอบและถ่วงดุล ท่าให้น่าสงสัยว่าทั้งสองหน่วยงาน คือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ปฏิบัติ หน้าที่โดยสุจริต เที่ยงธรรม และเป็นที่พึ่งของประชาชนได้หรือไม่
จึงขอเสนอให้รัฐบาลโดยการนําของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะตั้งกรรมการตรวจสอบว่าการปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปโดยสุจริต ถูกแทรกแซงโดยผู้มีอิทธิพลหรือไม่? แล้วเปิดเผยผลการตรวจสอบของ ปชช. ต่อญาติของผู้เสียหาย และสาธารณะชน เพื่อน่าความจริงให้ปรากฏต่อ เหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากการประพฤติไม่ชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ทั้งนี้ ให้ค่านึงว่าข้อพิรุธในเรื่องความล้มเหลว ความล่าช้าขององค์กรอิสระ ในการตรวจสอบการทุจริต และประพฤติมิชอบนั้น อาจเกิดจากการแทรกแซงจากข้าราชการ และผู้มีอิทธิพลนั้นอาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลในบทบาทในการสร้างความเป็นธรรมใน สังคมไทยที่มีความขัดแย้ง อีกทั้งคดีสําคัญดังกล่าวยังส่งผลกระทบภาพพจน์ของประเทศไทยต่อประชาคมโลก ซึ่งเป็นความล้มเหลวหากใชเป็นผลงานของรัฐบาลนี้ไม่
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
– พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ Tel. 02-6934939