จากกรณีนายชาญชัย ประสงค์ศิล หรือ โจ๊ก ไผ่เขียว อายุ ๒๓ ปี ถูกกล่าวหาว่าใช้อาวุธปืนยิงรถยนต์ เป็นเหตุให้กระสุนปืนถูกเด็กชายโภคิน ดีผิว หรือ น้องโตมี่ เสียชีวิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยมีนายนพ พล ประสงค์ศิล หรือจิ๊บ ไผ่เขียว น้องชายเป็นผู้ขี่รถจักรยานยนต์ให้นายโจ๊ก ต่อมาวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ เจ้าหน้าที่ตํารวจได้เข้าจับกุมและวิสามัญฆาตกรรมนายชาญชัย ประสงค์ศิล ที่สมายด์แมนชั่น จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ล่าสุดได้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอเหตุการณ์การวิสามัญดังกล่าวทางอินเตอร์เนต (เวบไซต์ ยู ทูป)
การเข้าจับกุมโจ๊ก ไผ่เขียว ตามคลิปวิดีโอดังกล่าว จะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ตํารวจสามารถควบคุม สถานการณ์ได้แล้ว โดยนายโจ๊กถูกเจ้าหน้าที่ตํารวจใช้อาวุธปืนยิง และได้ยิงซ้ําเพื่อไม่ให้นายโจ๊กสามารถยิงตอบโต้ได้ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นไม่มีเสียงปืนยิงตอบโต้จากนายโจ๊กอีก เจ้าหน้าที่ตํารวจจึงได้เข้าไปยังจุดเกิดเหตุ และได้ยิงซ้ําอีก ๓ นัด
ทั้งนี้ ข่าวรายงานว่านายโจ๊กถูกกระสุนปืนยิงที่ศีรษะ รวม 4 นัด ส่วนบาดแผลบริเวณอื่นไม่ปรากฏรายงาน และเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ พล.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อ้างว่าคลิปดังกล่าวมีการตัดต่อ เพราะตนเองไปยังที่เกิดเหตุหลังจากนายโจ๊กเสียชีวิตแล้ว แต่กลับ ปรากฏภาพของตนก่อนเกิดเหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรม ซึ่งเป็นการปฏิเสธเฉพาะในส่วนของตนเอง ไม่ได้ ปฏิเสธในรายละเอียดว่าภาพการยิงซ้ําเป็นภาพตัดต่อหรือไม่ อย่างไร
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรดังมีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ มีข้อสังเกต ข้อเสนอและข้อเรียกร้องต่อภาคส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑) ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวดีผิว ที่ต้องสูญเสียน้องโตมี่ และขอให้มีการเยียวยาจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการดําเนินการสืบสวนสอบสวนและดําเนินคดีกับผู้กระทําผิดจนถึงที่สุดตาม กระบวนการยุติธรรม
๒) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้ที่อยู่ในความเสี่ยงแก่ร่างกายและชีวิต กฎหมายจึงได้คุ้มครองการ ปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่กรณีที่มีความจําเป็นต้องป้องกันตนเองหรือประชาชนอื่นให้พ้นจากภยันตราย แล้ว ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ต้องหาหรือจําเลย จะถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่หากการ ป้องกันตนเองของเจ้าหน้าที่เป็นไปโดยเกินสมควรแก่เหตุ เจ้าหน้าที่ก็ต้องรับผิดชอบในผลที่เกิดขึ้น จากรายงาน ข่าวพบว่าบาดแผลจากอาวุธปืนบริเวณศีรษะของนายโจ๊กรวม 4 จุด หากไม่ปรากฏบาดแผลบริเวณอื่นของ ร่างกาย แสดงว่านายโจ๊กถูกยิงที่ศีรษะ ซึ่งไม่สามารถยิงตอบโต้เจ้าหน้าที่ได้อีก แต่ภาพในคลิปวิดีโอปรากฏว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ตํารวจเข้าไปถึงตัวนายโจ๊ก ได้ยิงซ้ําอีก ๓ นัด เมื่อนายโจ๊กไม่สามารถยิงตอบโต้เจ้าหน้าที่ได้แล้ว การยิงดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทําที่เกินกว่าเหตุ ไร้มนุษยธรรม และไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเรื่อง
การป้องกันตัว
๓) การชันสูตรพลิกศพและการไต่สวนการตายควรได้รับการดําเนินการโดยเร่งด่วนและเป็นไปตาม หลักการไต่สวนการตายกรณีที่ผู้ตายเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมหรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตาม
มาตรา ๑๕๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อให้ความจริงปรากฏ โดยเบื้องต้น ต้องมีการ
สอบสวนผู้ทําให้ตายเพื่อเป็นข้อมูลในการทําสํานวนคดีวิสามัญฆาตรกรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์และนําไปสู่การ ดําเนินการตามกระบวนการยุติธรรมโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระ เพื่อตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างกันในกรณีที่ความ
กงานเจ้าหน้าที่
๔) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ๒๕๕๒ ในการมอบนโยบายของรัฐบาล ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด มีใจความว่าการใช้ความ รุนแรงเข้าปราบปรามปัญหาใดปัญหาหนึ่งอาจจะดูเหมือนได้ผลในระยะเวลาสั้นๆ แต่สุดท้ายทําให้ปัญหา ซับซ้อนและยากต่อการแก้ปัญหามากขึ้น นอกจากนี้ ยังกล่าวอีกว่าการปราบปรามยาเสพติดเป็นสิ่งที่ต้องทํา
อย่างเด็ดขาด แต่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย
ดังนั้น เครือข่ายและองค์กรมีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ขอให้เจ้าหน้าที่ดําเนินนโยบาย ปราบปรามยาเสพติดภายใต้กรอบแห่งกฎหมายและการเคารพสิทธิมนุษยชนตามแนวทางของรัฐบาล และ รัฐบาลมีความจําเป็นต้องดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพตาม แนวนโยบายที่เคยให้ไว้ ไม่ควรชื่นชมหรือให้การสนับสนุนการใช้วิธีการรุนแรงและละเมิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่
และควรมีการสอบสวนดําเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ในกรณีดังกล่าว เพื่อรักษามาตฐานในการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปด้วยความระมัดระวังต่อไป
4) สังคมและสื่อมวลชนควรร่วมกันตรวจสอบการกระทําของเจ้าหน้าที่ตํารวจ และควรหลุดพ้นจาก อคติที่ว่าผู้กระทําความผิดหรือโจรไม่ควรได้รับสิทธิตามกระบวนการยุติธรรมหรือควรถูกปราบปรามด้วยวิธีที่
รุนแรงเท่าๆ กับพฤติการณ์ของผู้กระทําความผิด โดยเฉพาะบทบาทของสื่อที่ไม่ควรนําเสนอข่าวไปในทางที่ สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงในการบังคับใช้กฎหมาย เพราะอคติดังกล่าวจะทําให้หลักประกันสิทธิ เสรีภาพโดยรวมของประชาชนทั้งสังคมมีมาตรฐานที่ต่ําลงตามไปด้วย และเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดปัญหา
การละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น หากสังคมไทยยินยอมหรือสนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรง
การฆ่าไม่อาจยุติการฆ่าและอาชญากรรมในสังคม
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม จันทร์จิรา จันทร์แก้ว ๒๒-๖๙๓๔๙๓๙