[:th]CrCF Logo[:]
[:th]พ.ร.ก. ฉุกเฉิน[:]

เวทีระดมความคิด “สิทธิมนุษยชน และความมั่นคงของรัฐในสถานการณ์ความขัดแย้ง”

Share

ใบแจ้งข่าว ภาคประชาสังคมจัดเวทีระดมความคิดเรื่อง “สิทธิมนุษยชนและความมั่นคงของรัฐในสถานการณ์ความขัดแย้ง” กับแนวทางการใช้กฎหมายความมั่นคงภายในฯ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

เนื่องด้วยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 จะครบกำหนดที่ทางรัฐบาลจะต้องพิจารณาการต่ออายุการใช้ พรก. ฉุกเฉินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกครั้ง แม้ว่าจะมีการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้รวมกับกฎอัยการศึกมาแล้วกว่า 4 ปี จำนวนการก่อเหตุไม่สงบอาจจะลดลงบ้าง แต่การก่อเหตุแต่ละครั้งได้สร้างความสูญเสียมากขึ้น ทั้งชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์และเจ้าหน้าที่รัฐ ตลอดจนทรัพย์สินของทางภาครัฐและเอกชน

ยิ่งไปกว่านั้นการบังคับใช้กฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่นั้นได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต และสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างได้ผล ดังนั้นการที่จะนำกฎหมายพิเศษคือ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาใช้เป็นเป็นเครื่องมือรัฐอีกฉบับหนึ่งนั้นจะสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้หรือไม่ ทางรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่แล้วหรือไม่อย่างไร รวมทั้งการเผยแพร่และทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่จะนำกฎหมายพิเศษฉบับนี้มาปรับใช้กับสถานการณ์ในพื้นที่ฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

ทางผู้จัดฯ เห็นความสำคัญในการจัดเวทีเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้ และเข้าใจเรื่องกฎหมาย พรบ. ความมั่นคงฯ และเพื่อระดมความคิดเห็นเรื่องการใช้กฎหมาย พรบ. ความมั่นคงฯ ในพื้นที่สามจังหวัดและ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา โดยพิจารณาถึงหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชน หลักการด้านสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงของรัฐ และศึกษาแนวทางการบังคับใช้กฎหมายของรัฐว่าจะเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการลดหรือยุติสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ฯได้จริงหรือไม่

โดยจะจัดเวทีระดมความคิดเรื่อง “สิทธิมนุษยชน และความมั่นคงของรัฐในสถานการณ์ความขัดแย้งกับแนวทางการใช้กฎหมายความมั่นคงภายในฯ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ในวันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 9.00-17.00 น. ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี จะมีกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชน และความมั่นคงของรัฐ ในสถานการณ์ความขัดแย้ง” โดย ศาสตราจารย์ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศเกาหลีเหนือ และเวทีระดมความคิดเห็นประกอบด้วยตัวแทนประชาชนในพื้นที่ ตัวแทนภาคประชาสังคม เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านกระบวนการยุติธรรม หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ นักกฎหมาย ทนายความ ผู้ปฏิบัติงานองค์กรสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

รายละเอียดโครงการและใบตอบรับการเข้าร่วมที่แนบมาด้วยนี้

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [79.00 KB]

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download [38.00 KB]